5 ประเภทอาหารซ่อน 'โซเดียม' แม้ไม่มีรสเค็ม แต่ยังเสี่ยงโรคไต

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.


แม้โซเดียมที่ร่างกายได้รับส่วนใหญ่มาจากเกลือ แต่ยังมี 5 ประเภทอาหาร ที่มีปริมาณโซเดียมแฝงอยู่ โดยกรมอนามัย แนะนำให้อ่านฉลากโภชนาการบนภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์นั้นๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนซื้อทุกครั้ง

1) เครื่องปรุงรสทั้งที่มีรสเค็มและไม่มีรสเค็ม 
เช่น น้ำปลา ซีอิ๊วขาว กะปิ ซอสหอยนางรม น้ำปลาร้า ซุปก้อน ผงชูรส เครื่องปรุงรส เป็นต้น

2) อาหารแปรรูป ทั้งอาหารสำเร็จรูป/กึ่งสำเร็จรูป
เช่น อาหารกระป๋องทุกชนิด อาหารหมักดอง อาหารเค็ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบ เนื้อเค็ม ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ผักผลไม้ดอง มักมีโซเดียมสูงจากเกลือ และโซเดียมแฝงจากวัตถุเจือปนอาหาร

3) ขนมที่มีการเติมผงฟู
เช่น เค้ก คุกกี้ แพนเค้ก ขนมปัง แป้งสำเร็จรูป เป็นต้น เนื่องจากผงฟูมีโซเดียมแฝงเป็นองค์ประกอบ

4) เครื่องดื่มเกลือแร่และน้ำผลไม้
มักมีการเติมสารประกอบของโซเดียมลงไปด้วย สำหรับนักกีฬาหรือผู้ที่สูญเสียเหงื่อมาก ส่วนน้ำผลไม้ก็มักจะมีการเติมเกลือปรุงรสชาติ และโซเดียมแฝงจากวัตถุเจือปนอาหาร โดยเฉพาะสารกันบูด

5) อาหารธรรมชาติทุกชนิด
มีโซเดียมเป็นองค์ประกอบ โดยเนื้อสัตว์ นม ไข่ จะมีปริมาณโซเดียมสูงกว่าผักผลไม้ ธัญพืช และถั่วเมล็ดแห้ง ที่ยังไม่แปรรูป

*อย่างไรก็ตาม อาหารธรรมชาติถือว่ามีปริมาณโซเดียมน้อยกว่าอาหารที่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งทั้งหมด และมีสารอาหารที่ร่างกายต้องการได้รับอีกด้วย

- มาตรฐานร่างกายคนเราควรบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน หรือเทียบเท่าเกลือ 1 ช้อนชา หรือ 5 กรัม
- ผลจากการกินเค็มมากเกินไปเป็นระยะเวลานาน จะก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไตเรื้อรัง
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ควรปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก เน้นการกินอาหารรสธรรมชาติ เพื่อไม่ให้ติดรสเค็ม เพราะหากติดเป็นนิสัยมาจนโตจะทำให้แก้ไขยาก

 11 มีนาคม 2565