สานพลังเคลื่อน '5 ดีวิถีคนตราด' ภาคีร่วมหารือแผนนโยบายสาธารณะ พัฒนาคุณภาพชีวิต ที่อยู่อาศัย-ที่ทำกิน ก่อนเวที 'สมัชชาสุขภาพ' 28 ก.ย.นี้
11 กันยายน 2566
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

เครือข่ายภาคีจังหวัดตราด ร่วมสานพลังขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ "5 ดีวิถีคนตราด" บนพื้นฐานการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต ที่อยู่อาศัย-ที่ดินทำกิน ก่อนเตรียมจัดเวที "สมัชชาสุขภาพจังหวัดตราด"  28 ..นี้


เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดตราด ขบวนองค์กรชุมชนฅนตราด ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตราด, สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) พร้อมด้วยหน่วยงานภาคีที่สนับสนุนการใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ ใน .ตราด ร่วมจัดประชุมสานพลังขับเคลื่อนแผนนโยบายสาธารณะ "5 ดีวิถีคนตราด" เมื่อวันที่ 6-7 .. 2566


สำหรับ "5 ดีวิถีคนตราด" หน่วยงานภาคีได้ร่วมกันดำเนินการมาเป็นเวลากว่า 2 ปี โดยใช้เครื่องมือธรรมนูญสุขภาพ กับประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน ของพื้นที่สภาองค์กรชุมชน 16 ตำบล พร้อมดำเนินการตามกรอบธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 .. 2565 เป็นร่มด้านกระบวนการนโยบายสาธารณะ และมีส่วนร่วมของภาคีทุกภาคส่วน ในการสร้างกลไก เครื่องมือ และพื้นที่กลางระดับตำบล


ทั้งนี้ คำว่า "5 ดีวิถีคนตราด" ถูกยกขึ้นมาเป็นนโยบายสำคัญโดย นายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ที่มองว่านโยบายต้องเกิดจากการพัฒนาแบบองค์รวมที่ให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วม และเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญเพื่อให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลการดูแลซึ่งกันและกัน ในลักษณะของการร่วมทุกข์และสุขร่วมกัน อันเป็นจุดเริ่มต้นของการช่วยเหลือและพึ่งตนเองตามกำลังความสามารถของชุมชน สร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการตนเองอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย




ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีกติกาที่เป็นเจตจำนงและพันธะร่วมของชุมชน สังคม และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง สามารถนำพาตนเองตามวิถีชีวิต หรือเรียกว่า "ธรรมนูญสุขภาพ 5 ดีวิถีฅนตราด" อันประกอบด้วย 1. สุขภาพดี หมายถึง มีข้อมูลด้านสุขภาพชุมชน มีกลุ่ม-องค์กรดำเนินการด้านอาหารปลอดภัย  จำนวนครัวเรือนที่ผลิตอาหารกินเองได้เพิ่มขึ้นกลุ่มผู้ออกกำลังกายในชุมชนเพิ่มขึ้น


2. ที่อยู่อาศัยดี หมายถึง ข้อมูลผู้เดือดร้อนที่ชัดเจนให้มีการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ในแนวทางการ แก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิต ด้านที่อยู่อาศัย และการผสานความร่วมมือกับท้องที่/ท้องถิ่นเชื่อมโยงแผนพัฒนาที่อยู่ อาศัยแบบมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน 3. เศรษฐกิจดี หมายถึง ครัวเรือนสามารถมีรายได้และค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับ สถานการณ์ในปัจจุบัน มีการรวมกลุ่มด้านอาชีพเพิ่ม


4. สิ่งแวดล้อมดี  หมายถึง ชุมชนมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น มีกลุ่ม-องค์กรในการจัดการขยะ มีการ เชื่อมโยงแผนพัฒนากับหน่วยงาน 5. สังคมดี หมายถึง ระเบียบ กติกา ธรรมนูญชุมชนมีระบบการดูแลเกื้อกูลกัน มีวงปรึกษาหารือ กันอย่างต่อเนื่องความสุขที่เกิดขึ้นในชุมชนเพิ่มขึ้น


ทั้งหมดนี้ สอดรับสัมพันธ์กับเนื้อหาแผนหลักของขบวนองค์กรชุมชนฅนตราด และสมัชชาสุขภาพจังหวัดตราด โดยมีการกำหนดเป้าหมายสร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ชุมชน และมีประเด็นในการพัฒนาเชิงพื้นที่ ดังนี้ 1. การพัฒนาผู้นำเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง 2. การพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี 3. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4. การสร้างความมั่นคงทางอาหารสมุนไพรพื้นถิ่น 5. การพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจฐานราก ฅนตราดอยู่ดีมีสุข และ 6. การแก้ไขปัญหาที่ดินที่ทำกินที่อยู่อาศัย


ภายใต้การขับเคลื่อนงานพื้นที่ ผลักดันแผนพัฒนาภาคประชาชนสู่ความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีทุกระดับ ทั้งหมดล้วนมีความเชื่อมโยงและร่วมมือกันขององค์กร และเครือข่ายภาคประชาชน ชุมชน เพื่อดำเนินการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในพื้นที่จังหวัดตราดทั้งสิ้น ซึ่งในวันที่ 28 .. 2566 จะมีการจัดงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดตราด “5 ดีวิถีตราด ภายใต้การพัฒนาคุณภาพ คุณธรรมร่วมกับ 11 หน่วยงานความร่วมมือ