"จ.ขอนแก่น" จับมือภาคีเครือข่าย จัดถกรับมือและจัดการปัญหาฝุ่นพิษ

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.


"จ.ขอนแก่น" จับมือภาคีเครือข่าย จัดถกรับมือและจัดการปัญหาฝุ่นพิษ


เป็นการนำเสนอแนวทางและรูปแบบการเฝ้าระวังและป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ร่วมกับผู้แทนจากพื้นที่กรณีศึกษา ผู้มีส่วนได้เสียและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด อีกทั้ง เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานในรูปแบบนิทรรศการ/สื่อมีเดียต่อสาธารณะและเกิดเครือข่าย การขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ 


   เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 11 กันยายน 2566 ที่ ห้องนภาลัย โรงแรมราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น  นายสุเทพ มณีโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานเปิดการประชุมการนำเสนอแนวทางและรูปแบบการรับมือและการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในจังหวัดขอนแก่น เพื่อนำเสนอแนวทางและรูปแบบการรับมือและการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ภายใต้การดำเนินงานโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการนี้มี ศ.ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง หัวหน้ากลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ,ดร.สมพันธ์ เตชะอธิก  หัวหน้าชุดโครงการการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ,ผู้แทนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ,วิทยากร ,ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่น มีส่วนร่วมทั้งส่วนท้องถิ่น อบต. ,อปท. โรงเรียนสถานศึกษา ชุมชน ตลอดทั้งองค์กร ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดขอนแก่น ที่ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนงานเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ร่วมประชุมจำนวน 120 คน 


นายสุเทพ มณีโชติ 

  นายสุเทพ มณีโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่หลายประเทศในโลกกำลังได้รับผลกระทบ เพราะเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและการเจ็บป่วยของประชากร รัฐต้องเสียทั้งงบประมาณด้านการรักษา และยังเกิดการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวประเทศไทยได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและได้มีการดำเนินนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง ในปีพ.ศ. 2566 นายวราวุธ ศิลปอาชา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่ หมอกควัน และฝุ่นละออง คือ หลักการ 3 พื้นที่ 7 มาตรการ เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเขตฟื้นที่เมือง พื้นที่ป่า และพื้นที่เกษตรกรรม


 ศ.ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง

 ด้าน ศ.ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง หัวหน้ากลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ในนามคณะผู้จัดงานการประชุมการนำเสนอแนวทางและรูปแบบการรับมือและการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในจังหวัดขอนแก่น ในครั้งนี้เป็นที่ประจักษ์กันแล้วว่า สถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในประเทศไทยนั้น มีความรุนแรง ส่งผลให้ประชากรมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากคุณภาพอากาศที่หายใจเข้าไปปะปนด้วยฝุ่นละอองพิษ PM2.5 ซึ่งมีขนาดที่เล็กมาก สามารถถูกสูดเข้าสึกถึงทางเดินหายใจและปอด บางอนุภาคยังอาจเข้าสู่กระแสเลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดการเจ็บป่วย ตามมามากมาย เช่น อาการภูมิแพ้ ทำให้เกิดการติดเชื้อเป็นไข้หวัด ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ได้ง่ายและอาการุนแรงมากขึ้นหลายเท่า


นอกจากนี้ยังมีอันตรายต่อระบบหลอดเลือด และมีผลต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เต้นผิดจังหวะ และอาจรุนแรงจนส่งผลให้หัวใจวายเฉียบพลันเป็นต้น ความเสี่ยงเหล่านี้ กลุ่มเปราะบาง ผู้สูงวัย หญิงมีครรภ์ เต็กเล็กและผู้มีอาการเจ็บป่วย ที่มีภูมิคุ้มกันน้อยจะเพิ่มความเสี่ยงและมีอาการรุนแรงมากขึ้น


    ส่วน ดร.สมพันธ์ เตชะอธิก  หัวหน้าชุดโครงการการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวต้อนรับว่าในนามของหัวหน้าชุดโครงการการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่น ตะวันออกเฉียงเหนือ ปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ซึ่งเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพประชากร จากภัยเงียบที่ปนเปื้อนมากับอากาศ ทุกลมหายใจเข้า-ออก เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 


   ดร.สมพันธ์ กล่าวอีกว่าสำหรับโครงการการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นชุดโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ดำเนินการขับเคลื่อนงานใน 4 จังหวัดในภาคอีสาน ได้แก่ อุบลราชธานี นครราชสีมา อุดรธานี และจังหวัดขอนแก่นของเรา ซึ่งมีจุดมุ่งหมายคือ การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ในประเด็นการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ที่ผ่านมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะฟื้นที่/ประเด็น ในจังหวัดต่างๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สู่การปฏิบัติในพื้นที่/จังหวัด ให้แก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองได้ ซึ่งการนำเสนอแนวทางและรูปแบบการรับมือและการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในจังหวัดขอนแก่น 


   ดร.สมพันธ์ กล่าวด้วยว่าในวันนี้เป็นการดำเนินงานในระยะที่ 1 และหลังจากนี้จะมีการดำเนินการในระยะที่ 2 ต่อไป จนถึงปี 2567 เพื่อให้เท่าทันกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ซึ่งจะเกิดขึ้นช่วงปลายเดือนตุลาคม ถึงต้น เดือนเมษายน เป็นประจำในทุกปี หวังว่าการประชุมในครั้งนี้ นอกจากการนำเสนอแนวทาง หรือรูปแบบการรับมือและการจัดการปัญหาฝุ่นPM2.5 จำนวน 5 แนวทาง ของพื้นที่ต้นแบบแล้ว ก็ยังเป็นกลไกกลางที่สำคัญ ในการเชื่อมประสานทุกท่าน ทุกภาคส่วน ในการร่วมมือกันขับเคลื่อนงานการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในจังหวัดขอนแก่นของเรา ต่อไป เพื่อเป้าหมาย จ.ขอนแก่น เมืองอากาศสะอาดอย่างยั่งยืน


   ดร.สมพันธ์ กล่าวต่อไปว่าจังหวัดขอนแก่น มีนโยบายขับเคลื่อนในเรื่องของการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศและการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) มาตั้งแต่ปี 2559 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดให้การสนับสนุน และถือเป็นนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและคุณภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากการปนเปื้อนฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ซึ่งที่ผ่านมาทางจังหวัดได้พยายามขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา ร่วมกับหน่วยงานหลายฝ่าย เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด,สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 10, ศูนย์อนามัยที่ 7, สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, โรงพยาบาล, เทศบาล, อปท. ,อบต., สถาบันการศึกษา เป็นต้น


และได้มีการจัดเวทีสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นขอนแก่นอากาศสะอาดอย่างยั่งยืน มีเครือข่ายขอนแก่นเมืองอากาศสะอาด มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) 


   ดร.สมพันธ์ กล่าวอีกว่าซึ่งหนึ่งในข้อเสนอในเวทีรับฟังความคิดเห็นสมัชชาสุขภาพ นโยบายสาธารณะประเด็นขอนแก่นอากาศสะอาดอย่างยั่งยืน ข้อที่ 6 คือ ขอให้จังหวัดขอนแก่น สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 10 และหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมสนับสนุนพื้นที่ต้นแบบ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5 ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นในการแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศ"จากนโยบายดังกล่าวกลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WeSD) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในจังหวัดขอนแก่น 


     ดร.สมพันธ์ กล่าวทิ้งท้ายว่าซึ่งจากการดำเนินงานโครงการฯ ในระยะที่ 1 (มิถุนายน 2565 - สิงหาคม 2566) พื้นที่ต้นแบบทั้ง 5 พื้นที่ได้ขับเคลื่อนงานเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จนสิ้นสุดโครงการลง และได้ผลผลิตเป็นแนวทางหรือรูปแบบนวัตกรรม 5 รูปแบบ ตามบริบทและสถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ต้นแบบที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นเพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานดังกล่าวต่อสาธารณะและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับทั้งองค์ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5)


และตลอดทั้งประชาชน เกิดความตระหนักรับรู้ถึงผลกระทบของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ต่อสุขภาพ และเกิดการหาแนวทางความร่วมมือในการดำเนินงาน การป้องกันและแก้ไขฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ประจำปี 2566 - 2567 ของทุกภาคส่วนในจังหวัดขอนแก่น ทางโครงการฯจึงได้จัดกิจกรรมการนำเสนอผลการดำเนินงานในพื้นที่สาธารณะในครั้งนี้ขึ้น

นางสาวสุภัสสรา โยทาวงษ์

    ท้ายสุด นางสาวสุภัสสรา โยทาวงษ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนน้ำพองศึกษา กล่าวว่าหวังว่าการที่มาอบรมในวันนี้ จะได้ความรู้กลับไป บอกพี่ๆเพื่อนๆน้องๆ และในโรงเรียน และคนในครอบครัวไม่มากก็น้อย ก็อยากไปฝากทุกคน ว่าให้ความสำคัญกับเรื่องของฝุ่นPM 2.5 เป็นอย่างมากเพราะว่า ทุกวันนี้ฝุ่นก็ได้มากระทบปัญหาสุขภาพ ทุกคนในประเทศ และยังส่งผลต่อสุขภาพคนในครอบครัวของตนด้วย.




ผลงาน...นายหมวดตรีชูไทย วงศ์บุญมี/นายธาระวี ไกรราชดี /คณะทำงานสื่อสุขภาวะ เพื่อประชาชน (กขป.เขต 7)

 11 กันยายน 2566