บทบาทใหม่ของหน่วยงาน 'สช.' ในมุมมอง 'นพ.ปรีดา แต้อารักษ์' ต้องจัดการ 'ความทุกข์' ประชาชน สานพลังเคลื่อนประเด็นใหญ่ในสังคม

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.



ชื่อของ นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในแวดวงสาธารณสุข มาตั้งแต่ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติระดับเขต (ผอ.สปสช.เขต) โดยหนึ่งในผลงานที่จับต้องได้ในฐานะนักปฏิรูประบบสุขภาพก็คือการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ได้จริง

 

หมุดหมายสำคัญเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งระบบบัตรทองให้ยั่งยืน คือการสร้างความเป็นเจ้าของให้เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคน ซึ่งแน่นอนว่า ระบบที่ทุกคนจะเป็นเจ้าของได้นั้น จำเป็นต้องมีรากฐานมาจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

 

เมื่อทุกคนมีส่วนร่วมในการสรรค์สร้าง มีส่วนร่วมในการใช้และรับประโยชน์ ย่อมเกิดความผูกพันและเกิดสำนึกความเป็นเจ้าของ

 

สมัยดำรงตำแหน่ง ผอ.สปสช. เขต 8 อุดรธานีนพ.ปรีดาเป็นผู้บริหารท่านแรกๆ ที่ได้นำเครื่องมือภายใต้ ...สุขภาพแห่งชาติ .. 2550 อันเป็นกฎหมายว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน ไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน

 

หนึ่งในนั้นคือ การจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่เรียกว่าสมัชชาพิจารณ์หลักประกันสุขภาพที่นำไปสู่การรับฟังความคิดเห็นแบบ ‘2 ทางด้วยการใช้ข้อมูลจากพื้นที่เป็นฐาน เพื่อออกแบบระบบให้สอดรับกับบริบทที่มีความแตกต่างในแต่ละพื้นที่

 

นพ.ปรีดาคนเดียวกันนี้ มีโอกาสเข้ามาทำงานเกี่ยวกับการสานพลังและการสร้างการมีส่วนร่วม เดือนตุลาคม 2563 ในฐานะรองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (รองเลขาธิการ คสช.) ตามการชักชวนบนความไว้วางใจจาก นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการ คสช. และในวันที่ 19 .. 2566 นี้ คณะผู้บริหารชุด นพ.ประทีป กำลังจะหมดวาระการดำรงตำแหน่งลง 

 

บรรทัดถัดจากนี้ คือบทสัมภาษณ์ของนพ.ปรีดาในฐานะรองเลขาธิการ คสช. ที่จะรวบยอดความคิดการทำงาน ตลอดจนการมองไปในอนาคตขององค์กรที่ชื่อว่า สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

 

ลดภาระส่วนกลาง ด้วยการมีส่วนร่วมระดับพื้นที่

 

นพ.ปรีดา เล่าว่า ส่วนตัวมีโอกาสได้ร่วมงานกับ สช. ตั้งแต่เป็นผู้อำนวยการ สปสช. เขต 8 อุดรธานี โดยได้นำกระบวนการสมัชชาสุขภาพของ สช. ไปร่วมกับการรับฟังความคิดเห็นของผู้รับบริการในระบบบัตรทอง เพื่อจัดกระบวนการต่างๆ ให้เกิดการพูดคุยกับทุกผู้มีส่วนได้มีส่วนเสีย โดยขณะนั้นใช้ชื่อว่า สมัชชาพิจารณ์หลักประกันสุขภาพ

 

สำหรับกระบวนการดังกล่าว มีข้อดีคือ โดยปกติแล้วการรับฟังความเห็นจะรับฟังเพียงแค่ทางเดียวจัดหมวดหมู่แล้วส่งไปยังส่วนกลาง ซึ่งขณะนั้นส่วนตัวมองว่า กระบวนแบบนี้ไม่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง และไม่เกิดการมีส่วนร่วมที่แท้จริง จึงได้พูดคุยกับภาคีเครือข่ายของ สช. เพื่อยกระดับการทำงาน



 

จนต่อมาเกิดเป็นคณะทำงานสมัชชาพิจารณ์หลักประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นการดึงพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการทำหน้าที่เก็บข้อมูล รับฟังความเห็น ทำเอกสารข้อเสนอ นำไปสู่การมาช่วยกันออกความเห็นว่าประเด็นไหนในระดับพื้นที่ หรือระดับเขตสุขภาพที่สามารถแก้ไขเองได้ รวมถึงอะไรที่เกินศักยภาพที่ต้องให้ สปสช. ส่วนกลางเข้ามาสนับสนุน

 

กระบวนการดังกล่าวทำให้จากเดิมปัญหาที่ส่งมาทั้งหมด มากกว่าครึ่งไม่ต้องส่งมาที่ สปสช. ส่วนกลาง รวมถึงยังได้เกิดการทำงานร่วมกันในพื้นที่ เกิดการติดตาม อะไรที่แก้ได้ ใครจะช่วยรับทำตรงไหน อันนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นเคสที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการรับฟังความเห็นมากที่สุดใน 13 เขตสุขภาพนพ.ปรีดา กล่าว

 

ไม่เพียงเท่านั้น เพราะนพ.ปรีดายังได้นำเครื่องมือของ สช. ภายใต้ ...สุขภาพแห่งชาติ .. 2550 เข้าไปหนุนเสริมเรื่องการพัฒนาศักยภาพการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น หรือพื้นที่ (กปท.) ด้วย

 

นพ.ปรีดา เล่าว่า ได้ใช้กระบวนการธรรมนูญสุขภาพในระดับเขตสุขภาพ เข้าไปสนับสนุนการทำงานของกองทุนสุขภาพตำบล หรือ กปท. โดยการชักชวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล ฯลฯ เข้ามาร่วมในการออกแบบสุขภาพที่พึงประสงค์ของพื้นที่ โดยมี สปสช. เขต 8 อุดรธานี ทำหน้าที่เหมือนพี่เลี้ยง รวมถึงช่วยกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

จนขณะนั้น เกิดธรรมนูญสุขภาพในหลายตำบลกว่า 100 แห่ง ซึ่งมีกรรมการ กปท. เป็นคณะทำงานธรรมนูญสุขภาพแต่ละพื้นที่

 

ตอนนั้นกติกาชุมชนที่เกิดเป็นมติอะไรขึ้นมา เราก็สนับสนุนให้เกิดการแปลงธรรมนูญสุขภาพไปสู่การปฏิบัติ มีการทำเวิร์กชอปช่วยกันตั้งแต่เริ่มขาขึ้นไปจนถึงขาเคลื่อน เกิดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ ทำให้การพิจารณางบประมาณของกองทุนตำบลชัดเจนขึ้น รวดเร็วขึ้น ซึ่งก็มีทั้งที่ทำได้ดีบ้าง ไม่ดีบ้างเป็นธรรมดา ล้มเหลวก็มี สำเร็จก็มี แต่ส่วนใหญ่มันก็กลางๆ ไปทางบวก และในทางโมเมนตั้มก็ทำให้เกิดการพัฒนารองเลขาธิการ คสช. อธิบาย

 

ผนึกเครื่องมือ สช. กับชุมชน สู้วิกฤตสุขภาพ

 

ด้วยความใกล้ชิดและมีความเข้าใจในภารกิจ สช. ในระดับหนึ่ง เมื่อนพ.ประทีปชักชวนให้เข้ามาร่วมทีมบริหาร สช. จึงตอบรับ และได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลงานขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่ ซึ่งเป็นเรื่องถนัด

 

นพ.ปรีดา ร่วมกับบุคลากร สช. ขับเคลื่อนงานต่างๆ เป็นจำนวนมาก เช่น ขยายธรรมนูญสุขภาพตำบล สมัชชาสุขภาพวาระต่างๆ คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) ฯลฯ

 

อย่างไรก็ดี เมื่อประเทศไทยและโลกต้องเผชิญหน้ากับภัยคุกคามด้านสุขภาพครั้งประวัติศาสตร์ อย่าง โควิด-19 ทำให้หลายอย่างต้องหยุดชะงักลงไปในช่วงแรก โดยเฉพาะการลงไปทำงานกับพื้นที่ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของ สช. ก็ไม่สามารถทำได้ด้วยข้อจำกัดการควบคุมโรค

 

แต่ด้วยการเปิดกว้างทางความคิด มองวิกฤตเป็นโอกาสนพ.ปรีดาเห็นว่า ท่ามกลางการควบคุมโรคนั้น ชุมชนคือหัวใจ ซึ่งขณะนั้นมาตรการจากส่วนกลาง (ภาครัฐ) มีความชัดเจนในมาตรการ แต่ไม่ได้ลงลึกในรายละเอียดการปฏิบัติ จึงสมควรอย่างยิ่งที่เครื่องมือ สช.’ จะได้เข้าไปรับใช้และช่วยเหลือประชาชน

 

ในฐานะที่ สช. มีความเชี่ยวชาญด้านการมีส่วนร่วมนพ.ปรีดาได้ประสานเพื่อนภาคีมาช่วยกันสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนในการใช้มาตรการชุมชนมาจัดการปัญหาโควิด-19 หนุนเสริมมาตรการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เกิดเป็น แผนพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด-19’



 

เกิดความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ จัดวงปรึกษาหารือในท้องถิ่น และเกิดเป็นมาตรการชุมชน กระทั่งปักหลักเป็นธรรมนูญชุมชนสู้ภัยโควิด-19 ในหลายชุมชน

 

ตอนนั้นหลายคน ทั้งคนในและคนนอกก็สงสัยว่าใช่ภารกิจของ สช. ไหม เราเลยต้องทำความเข้าใจว่าต้องคิดใหม่ว่า มันมีวิกฤต เราก็แปลงวิกฤตเป็นโอกาส เป็นโอกาสสร้างความเข้มแข็งชุมชน การมีส่วนร่วม และการสร้างกติกาชุมชน ลงพื้นที่ไม่ได้ก็ไม่เป็นไรต้องใช้ระบบอื่นเข้ามาช่วย เพราะแบบเดิมการสร้างธรรมนูญชุมชน หรือข้อตกลงชุมชนนั้น เป็นเรื่องที่ชาวบ้านไม่ได้ให้ความสำคัญ ไม่มีแรงจูงใจให้พื้นที่มาทำ แต่พอครั้งนี้มีเหตุก็เลยอาจจะตอบโจทย์

 

ในช่วงแรกยังไม่ได้ล็อกดาวน์เต็มที่ก็ยังมีเวลาให้พื้นที่ได้ทำ ก็เลยบอกภายใน สช. ว่าให้เสนอพื้นที่ไปเลย จัดวงปรึกษาหารือ มันมีมาตรการตรงนี้ลงไป ตกลงให้ช่วยกันดูแลชุมชน ป้องกันเฝ้าระวัง จะทำยังไงพื้นที่เขาไม่รู้ เพราะมาตรการบอกให้ทำ แต่ไม่ได้มีวิธีการลงมา ซึ่งมาตรการชุมชน กติกาชุมชน นี่ก็คือการสร้างการมีส่วนร่วม และทุกอย่างก็มีความเชื่อมโยงกับธรรมนูญทั้งนั้นนพ.ปรีดา อธิบายเสริม

 

ที่สุดแล้ว ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้น ต้องขอบคุณกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ตลอดจนเทศบาล และ อบต.ต่างๆ ทั่วประเทศ ที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เพราะบางแห่งก็พัฒนาไปไกลถึงขนาดกลายเป็นต้นแบบให้พื้นที่อื่นๆ เช่น นครปฐมโมเดล คลองเตยโมเดล ฯลฯ

 

นพ.ปรีดา เล่าต่อไปว่า หลังจากสถานการณ์ดังกล่าวก็มีคนรู้จัก สช. มากขึ้น และหน่วยงานต่างๆ ก็คงมองเห็นว่า สช. เป็นตัวกลางที่สามารถเชื่อมประสานหน่วยงานต่างๆ ได้ รวมถึงยอมรับเวลาเชิญไปพูดคุยแลกเปลี่ยน ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมเข้ามาแลกเปลี่ยน และมีความชัดเจนมากขึ้น

 

บทบาทใหม่ของ สช.

 

ในฐานะรองเลขาธิการ คสช. ‘นพ.ปรีดามองว่า บทบาทของ สช. คือการมีส่วนร่วมในการจัดการความทุกข์ หรือปัญหาของสังคมทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะสถานการณ์ปกติ หรือภาวะวิกฤต ไม่ใช่เพียงการมุ่งแต่เพียงเรื่องสมัชชาสุขภาพอย่างเดียว แต่บทบาทใดที่ สช. ทำได้ ก็จะบริหารจัดการทำให้มันเกิด ซึ่งทุกคนที่ทำก็จะมีโอกาสได้เชื่อมโยงไปสู่สิ่งที่อยากทำ เช่น ภาคเอกชนที่เห็นก็เอาสิ่งของมาสนับสนุนผ่านกลไกความร่วมมือนี้



 

จริงๆ คือความร่วมมือแบบนี้ การทำงานกันแบบข้ามภาคส่วนควรจะมีมากขึ้นในสังคมไทย ซึ่งปัจจุบันมันอาจจะมีข้อจำกัดอยู่ เพราะในเมืองไทยเองคนยังไม่ค่อยชิน เพราะทำเองควบคุมเองมันก็ง่าย แต่ทำงานข้ามภาคส่วน การมีส่วนร่วมกับการมีส่วนร่วมแต่ไม่มีเจ้าภาพหลักมันใกล้เคียงกันมาก เนื่องจากทุกคนจะรู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นเจ้าภาพ และก็คิดว่าตัวเองไม่ต้องรับผิดชอบรองเลขาธิการ คสช. กล่าว

 

นพ.ปรีดา บอกว่า สช. เป็นองค์กรที่ดี และควรจะมีอยู่ในสังคม โดย สช. ต้องทำงานร่วมมือกับ คสช. ให้เกิดศักยภาพสูงที่สุด และต้องขับเคลื่อนประเด็นใหญ่เชิงระบบมากกว่าประเด็นย่อย พร้อมกันนี้ด้วย สช. เกิดมา 15-16 ปีแล้ว สิ่งที่ควรทำก็คือ ต้องกลับไปทบทวนอุดมการณ์และเจตนารมณ์ ว่า สช. ยังสอดคล้องกับสังคมอยู่ไหม กระบวนการในการหาฉันทมติยังเป็นแบบนี้อยู่รึเปล่า ถ้าคำตอบคือใช่ และองค์กรนี้ยังมีคุณค่าต่อสังคม ก็ต้องถามต่อไปว่า เครื่องมือทั้งหลายเท่าทันสถานการณ์หรือไม่ จำเป็นต้องทบทวนหรือไม่

 

ถ้าสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขายังใช่อยู่ เราอาจจะยังใช้สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาต่อไปด้วยรูปแบบวิธีการใหม่ๆ ที่อยู่ในบริบทการมีส่วนร่วม สช. ต้องพลิกแพลงให้มากขึ้น คือถ้ากระบี่อยู่ที่ใจ การรบก็ไร้รูปแบบตายตัวนพ.ปรีดา ระบุ

 

ในตอนท้ายบทสนทนานพ.ปรีดาฝากความปรารถนาดีไปยัง สช. และบุคลากร โดยอยากให้เพิ่มเติมเรื่องการคิดนอกกรอบ (Lateral thinking) ควบคู่ไปกับการคิดแบบสร้างสรรค์ (Creative thinking) เพราะหากอยู่แต่ในกรอบ จะไม่เกิดวิธีการ หรือทางเลือกใหม่

 

ในขณะที่โลกเปลี่ยนไปเยอะแล้ว สช. จะต้องสร้างให้มีความน่าเชื่อถือ มีความชัดเจน มีข้อมูลวิชาการ มีหลัก แล้วก็มีความทันสมัย ไม่เช่นนั้น สช. จะกลายเป็นคนดีที่ถูกลืม นพ.ปรีดา ระบุ

 12 กันยายน 2566