จะทำอย่างไรเมื่อ 'เด็กไทยเกิดน้อย' !?
ไทยกำลังเป็นอีกหนึ่งประเทศที่เผชิญปัญหา "เด็กเกิดน้อย" อันเนื่องมาจากมุมมองของคนที่ "ไม่อยากมีลูก" เพิ่มมากขึ้น ซึ่งวิกฤตนี้กำลังจะส่งผลกระทบทั้งเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ โดยหน่วยงานหลายฝ่ายได้พยายามที่จะผลักดันให้เรื่องนี้เป็น "วาระแห่งชาติ"
จากการคาดการณ์พบว่าในปี 2583 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุคิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ ในขณะที่จำนวนเด็กปฐมวัยจะมีจำนวนลดลงไปถึง 1.2 ล้านคน นับจากในปัจจุบัน (ปี 2566)
แน่นอนว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาที่ท้าทาย และต้องเร่งออกแบบนโยบายด้านประชากรที่เหมาะสม บนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับอัตราการเกิดที่ลดลง และสร้างสมดุลแก่จำนวนประชากรในแต่ละช่วงวัยให้มีความเหมาะสมในทุกด้าน
"HealthStation" ได้ขมวดเนื้อหาสรุปจากเวทีสนทนานโยบายสาธารณะ (Policy Dialogue) ครั้งที่ 4 หัวข้อ "เมื่อไทยเข้าสู่สังคมเด็กเกิดน้อย: ปัญหาและทางออก" ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และองค์กรภาคีเครือข่าย เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2566 เพื่อเป็นข้อมูลให้ทุกท่านผ่านอินโฟกราฟิกชิ้นนี้
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- สช.ผนึกภาคี เปิดเวที Policy Dialogue ครั้งที่ 4 ตีแผ่สถานการณ์ ‘เด็กเกิดน้อย’ หวังสร้างระบบรองรับ ‘ครอบครัว-เด็กแรกเกิด’ จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายสู่ ‘รัฐบาล’
https://main.healthstation.in.th/news/show/1160