กรมควบคุมโรคเดินหน้าขับเคลื่อนกลไกการสื่อสารพื้นที่ต้นแบบเพื่อให้ประชาชนเข้าถึง พรบ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2562

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.


กรมควบคุมโรค เดินหน้าขับเคลื่อนกลไกการสื่อสารพื้นที่ต้นแบบเพื่อให้ประชาชนเข้า พรบ. ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ..2562



วันที่ 26 ตุลาคม 2566 ที่โรงแรมลีวิสท์รีสอร์ท จังหวัดเพชรบูรณ์ นพ.นราพงศ์ ธีรอัครวิภาส นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนกลไกการดำเนินงานพัฒนารูปแบบเครือข่ายการสื่อสารประชาสัมพันธ์ภายใต้ พรบ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ..2562 โดยมี ดร.นพ.ยงเจือ เหล่าศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรคกล่าวชี้แจง เจตนารมณ์และสาระสำคัญของ พรบ.เพื่อคุ้มครองสุขภาพประชาชน เกี่ยวกับเหตุผลที่ต้องมีกฏหมายในการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและจากสิ่งแวดล้อม สำหรับโรคและอาการสำคัญภายใต้ พระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพฯ ประกอบดด้วยโรคจากการประกอบอาชีพ : 5 โรค คือ โรคจากพิษสารกำจัดศัตรูพืช โรคจากฝุ่นซิลิกา โรคจากแอสเบสตอส หรือโรคมะเร็งจากแอสเบสตอส โรคจากตะกั่วหรือสารประกอบของตะกั่ว โรคจากภาวะอับอากาศ ส่วนโรคจากสิ่งแวดล้อมอีก 2 โรค คือโรคจากตะกั่วหรือสารประกอบของตะกั่ว และโรคจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ส่วนของเจตนารมณ์ เป็นการ ยกระดับกลไกการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค ให้มีการมีการคุ้มครอง คนทำงาน และ ประชาชนผู้ได้รับ ผลกระทบ กำหนดมาตรฐาน และกำกับคุณภาพ การให้บริการอาชีวเวชกรรมและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม มีระบบการสอบสวน และการควบคุมโรคที่ มีประสิทธิภาพและ มีระบบเฝ้าระวัง และการบริหาร จัดการข้อมูล



ด้านนางเบญจมาภรณ์ ภิญโญพรพาณิชย์ ประธานคณะทำงานสื่อสารประชาสัมพันธ์ พรบ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ..2562 ได้กล่าวถึงความสำคัญของการพัฒนารูปแบบ กลไก การสื่อสารการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ พรบฯ.ซึ่งกลยุทธที่ใช้ในการสื่อสารมองเป้าหมายที่ลูกจ้าง แรงงานนอกระบบ ประชาชนที่ได้รับหรืออาจได้รับมลพิษ นายจ้างและผู้ครอบครองแหล่งกำเนิด หน่วยบริการและเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนให้ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบทันสถานการณ์ด้วยมาตรฐานการให้บริการอย่างเดียวกัน ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมาได้ดำเนินการสร้างตัวตนให้คนรู้จักทั้งการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ รวมถึงการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย รูปแบบสื่อที่เหมาะสม หารือ เครือข่าย ร่วมให้ความเห็น ต่อรูปแบบสื่อ และ ช่องทางสื่อสาร การจัดกิจกรรมรณรงค์สร้างความเข้าใจใน 4 ภูมิภาค การ PR Social Marketing ผ่านการสร้างเพจ EnvOcc Law โฆษณาและสร้างการเข้าถึง FB TikTok YouTube


างสาวรุ้งประกาย วิฤทธิ์ชัย หัวหน้ากลุ่มอาชีวอนามัยแรงงานในระบบและสื่อสารความเสี่ยง กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรคได้สรุปผลการดำเนินงาน กลยุทธเครือข่ายเพื่อการสื่อสารทั้งกลไกการสื่อสารในพื้นที่ต้นแบบจังหวัดเพชรบูรณ์ ระยะที่ 1 ถอดบทเรียนกลไก ระยะที่ 2 ทดลองใช้ ประเมินผลและระยะที่ 3 ขยายผล ต่อยอดเพื่อไปสู่การดำเนินงานในพื้นที่ทั้งประเทศต่อไปโดยในเวทีได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเติมเต็มการขับเคลื่อนดำเนินงานจากภาคีเครือข่ายกลุ่มเป้าหมายทั้ง 6 ส่วนซึ่งมีการสะท้อนความคิดเห็น เสนอแนะ ปรับปรุง เพิ่มเติมวิธีการต่างๆ ก่อนที่นำเข้าสู่การประชุมหารือกลยุทธเครือข่ายในระดับประเทศในวันที 30 ตุลาคม 2566 ก่อนจะนำรูปแบบวิธีการการดำเนินงานลงสู่การปฏิบัติในพื้นที่ทัวประเทศต่อไป


เครือข่ายสื่อ กขป.เขต 2 จ.เพชรบูรณ์-รายงาน


 26 ตุลาคม 2566