สช. ร่วมหารือการสนับสนุนการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่27 มกราคม 2567
26 มกราคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ครั้งที่ 1/2567 วันที่ 26 เดือนมกราคม 2567 ณ ห้องประชุมอัษฎางค์ ชั้น 5 อาคารดำรงราชนุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย ถนนอัษฎางค์ กรุงเทพมหานคร
โดยมีนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานที่ประชุม ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพ นพ.สุเทพ เพชรมาก เป็นอนุกรรมการ โดยมี นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ นายจารึก ไชยรักษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ นางสาวปรานอม โอสาร หัวหน้าศูนย์วิชาการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อเสริมพลังพลเมืองตื่นรู้ และนางสาววันเพ็ญ ทินนา เข้าร่วมการประชุม
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวเปิดประชุมมีสาระสำคัญพอสังเขปว่า ที่ผ่านมาได้มีโอกาสลงพื้นที่ อบจ. เชียงใหม่ที่จัดโดย สช. ร่วมกับ อบจ. ที่ได้จัดพิธีลงนามความร่วมมือกับหน่วยงานระดับจังหวัดในการดูแลระบบสุขภาพปฐมภูมิ จึงอยากให้ อบจ. และนายอำเภอทำงานร่วมกัน เนื่องจากงานด้านสุขภาพคงไม่ได้มุ่งเน้นงานวิชาการและการรักษาเท่านั้น แต่ควรให้ความสำคัญด้านป้องกัน ส่งเสริม สำหรับบทบาทของนายอำเภอมีหน้าที่สำคัญในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะการทำหมู่บ้านยั่งยืน ให้ประชาชนทานอาหารสะอาดปลอดภัย ไม่เจ็บไม่ป่วย มีสติปัญญาที่ดี ไม่มียาเสพติด เป็นต้น ดังนั้นการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การทำหมู่บ้านยั่งยืนโดยใช้แนวคิดจากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งผลทำให้ระบบทุกอย่างดีขึ้น จะเห็นได้ว่าระหว่างมหาดไทยและองค์กรทางด้านสุขภาพเป้าหมายเดียวกัน
นพ.สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคสช. กล่าวว่า สช. ยินดีร่วมสนับสนุนระบบสุขภาพท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ ทุกหน่วยงานมีเป้าหมายเดียวกันว่าคำตอบอยู่ที่หมู่บ้านหรือพื้นที่ และกระบวนการมีส่วนร่วม จากบทเรียนโควิด-19 ในช่วง ๓ ปีที่ผ่านมา จะเห็นปรากฎการณ์ที่ผู้คนดูแลตนเองและร่วมมือช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี บางเรื่องเดิมเป็นเรื่องของวิชาชีพที่ชาวบ้านไม่สามารถทำเองได้ก็สามารถทำเองได้ เช่น การตรวจ ATK การส่งยาไปที่บ้าน เป็นต้น ต่อมาเมื่อเข้าสู่สถานการณ์ถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพมาอยู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดจะเห็นทิศทางระบบสุขภาพมีการพัฒนาการและเปลี่ยนแปลงไปอยู่ที่ท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นกลไกการขับเคลื่อนและหน่วยจัดการสนับสนุนที่ดี คือ ระดับอำเภอ เช่น กลไก พชอ. ที่มีนายอำเภอเป็นประธาน สาธารณสุขอำเภอเป็นฝ่ายเลขานุการ ด้วยการสนับสนุนการจัดทำแผนที่ใช้กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนสร้างข้อตกลงธรรมนูญสุขภาพและระบบข้อมูลสนับสนุนพื้นที่
ที่ประชุมพิจารณาเรื่องสำคัญ ดังนี้
โดยมีนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานที่ประชุม ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพ นพ.สุเทพ เพชรมาก เป็นอนุกรรมการ โดยมี นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ นายจารึก ไชยรักษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ นางสาวปรานอม โอสาร หัวหน้าศูนย์วิชาการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อเสริมพลังพลเมืองตื่นรู้ และนางสาววันเพ็ญ ทินนา เข้าร่วมการประชุม
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวเปิดประชุมมีสาระสำคัญพอสังเขปว่า ที่ผ่านมาได้มีโอกาสลงพื้นที่ อบจ. เชียงใหม่ที่จัดโดย สช. ร่วมกับ อบจ. ที่ได้จัดพิธีลงนามความร่วมมือกับหน่วยงานระดับจังหวัดในการดูแลระบบสุขภาพปฐมภูมิ จึงอยากให้ อบจ. และนายอำเภอทำงานร่วมกัน เนื่องจากงานด้านสุขภาพคงไม่ได้มุ่งเน้นงานวิชาการและการรักษาเท่านั้น แต่ควรให้ความสำคัญด้านป้องกัน ส่งเสริม สำหรับบทบาทของนายอำเภอมีหน้าที่สำคัญในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะการทำหมู่บ้านยั่งยืน ให้ประชาชนทานอาหารสะอาดปลอดภัย ไม่เจ็บไม่ป่วย มีสติปัญญาที่ดี ไม่มียาเสพติด เป็นต้น ดังนั้นการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การทำหมู่บ้านยั่งยืนโดยใช้แนวคิดจากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งผลทำให้ระบบทุกอย่างดีขึ้น จะเห็นได้ว่าระหว่างมหาดไทยและองค์กรทางด้านสุขภาพเป้าหมายเดียวกัน
นพ.สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคสช. กล่าวว่า สช. ยินดีร่วมสนับสนุนระบบสุขภาพท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ ทุกหน่วยงานมีเป้าหมายเดียวกันว่าคำตอบอยู่ที่หมู่บ้านหรือพื้นที่ และกระบวนการมีส่วนร่วม จากบทเรียนโควิด-19 ในช่วง ๓ ปีที่ผ่านมา จะเห็นปรากฎการณ์ที่ผู้คนดูแลตนเองและร่วมมือช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี บางเรื่องเดิมเป็นเรื่องของวิชาชีพที่ชาวบ้านไม่สามารถทำเองได้ก็สามารถทำเองได้ เช่น การตรวจ ATK การส่งยาไปที่บ้าน เป็นต้น ต่อมาเมื่อเข้าสู่สถานการณ์ถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพมาอยู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดจะเห็นทิศทางระบบสุขภาพมีการพัฒนาการและเปลี่ยนแปลงไปอยู่ที่ท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นกลไกการขับเคลื่อนและหน่วยจัดการสนับสนุนที่ดี คือ ระดับอำเภอ เช่น กลไก พชอ. ที่มีนายอำเภอเป็นประธาน สาธารณสุขอำเภอเป็นฝ่ายเลขานุการ ด้วยการสนับสนุนการจัดทำแผนที่ใช้กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนสร้างข้อตกลงธรรมนูญสุขภาพและระบบข้อมูลสนับสนุนพื้นที่
ที่ประชุมพิจารณาเรื่องสำคัญ ดังนี้
1.รับทราบคำสั่งการแต่งตั้งและบทบาทหน้าที่ของคณะอนุกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
2.เห็นชอบแนวทางสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ให้เกิดการบริหารจัดการกองทุนทั้ง ๓ ประเภทได้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ได้แก่ (1) กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กปท.) (2) ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน (LTC) (3) กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพระดับจังหวัด (กองทุนฟื้นฟูจังหวัด) จึงได้หารือทิศทางการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ภายใต้สถานการณ์สังคมไทยที่เป็นสังคมสูงวัยที่มีคุณภาพ ตั้งแต่หญิงตั้งครรภ์ให้มีครรภ์คุณภาพลดการคลอดก่อนกำหนด วัยเด็กมีศูนย์พัฒนาการเด็กพัฒนาการโภชนา วัยทำงานจะมีการชะลอไตเสื่อมยาเสพติด สุดท้ายสูงอายุจะมีคุณภาพชีวิตสูงวัยไม่ให้ติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง และที่สำคัญวัยแรงงานและวัยสูงอายุให้มีสุขภาพจิตที่ดี ลดภาวะซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย เพื่อให้พื้นที่พิจารณาประเด็นปัญหาในแต่ละกลุ่มวัยตามบริบทของแต่ละพื้นที่
3.เห็นชอบแต่งตั้งคณะทำงานและประธาน 2 ชุด ได้แก่ (1) คณะทำงานด้านกฎ ระเบียบ กฎหมาย โดย ศ.บรรเจิด สิงห์คะเนติ ประธานคณะทำงาน (2) คณะทำงานด้านสุขภาพชุมชนและวิชาการ โดย นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ ประธานคณะทำงาน เพื่อจัดทำข้อเสนอดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ของอนุกรรมการฯ
4.รับทราบและเห็นชอบให้แก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานระบบหลักสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้กรุงเทพมหานครดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5.นัดหมายการประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 2 เดือนครั้ง