เดินหน้าสานพลังความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อน NCDs ประชุมคณะกรรมการพัฒนานโยบายสาธารณะว่าด้วยการสานพลังสร้างสภาวะแวดล้อมทางกายภาพและสังคมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อ ครั้งที่ 1/2567
6 มีนาคม 2567
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

6 มีนาคม 2567  เดินหน้าสานพลังความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อน NCDs ประชุมคณะกรรมการพัฒนานโยบายสาธารณะว่าด้วยการสานพลังสร้างสภาวะแวดล้อมทางกายภาพและสังคมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อ ครั้งที่ 1/2567


มี นพ.โสภณ เมฆธน อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นรองประธาน กรรมการและเลขานุการ ประกอบด้วย 

- ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข

- ผู้แทนสำนักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ 

- ผู้แทนสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ 

- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ 

องค์ประกอบของคณะกรรมการและที่ปรึกษาเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ 30 ท่าน

โดยมีเรื่องพิจารณาสำคัญ 2 เรื่อง คือ 

 1.พิจารณากรอบและขอบเขตของสภาวะแวดล้อมทางกายภาพและสังคมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อ (NCDs Ecosystem)

 2. พิจารณาแผนการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ

นพ.โสภณ เมฆธน กล่าวว่า 

บทบาทของคณะกรรมการที่สำคัญ 3 ประเด็นในการขับเคลื่อนให้เกิดผล คือ 

1. ต้องพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย 

2. ต้องกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม 

3. ต้องมีการกำกับติดตามผลการดำเนินงาน 

โดยทั้ง 3 ประเด็นเป็นเรื่องยากที่ต้องอาศัยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน

นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ เสนอให้มองประเด็นที่เป็นกลยุทธ์ เช่น การมีจุดเน้นนโยบายระดับพื้นที่ โดยการพัฒนา SANDBOX ผ่าน พระราชกฤษฎีกาว่าด้วการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565

กรอบและขอบเขตของประเด็น เพื่อพัฒนา NCDs Ecosystem ได้แก่ การสร้างกลไกและกระบวนการ 5 ด้าน

1.การพัฒนาเครื่องมือนโยบาย/มาตราฐาน

2.การพัฒนานวัตกรรม/Design/โมเดลและขยายผลเชิงระบบ

3.การสร้างเครือข่ายทางสังคมและเครือข่ายเฝ้าระวัง

4.การพัฒนาระบบกำกับ ติดตามและประเมินผลลัพธ์

5.การพัฒนาระบบตัดสินใจ บริหารและสนับสนุนการลงทุน (Governance)

                                          

เพื่อให้เกิดมาตรการหลัก (Areas of action) สำคัญ 5 ประการ โดยจะเน้นดำเนินการใน ระดับนโยบาย ชุมชน ครอบครัวไปจนถึงตัวบุคคล

1) จัดระเบียบและลดการเข้าถึงสินค้าทำลายสุขภาพ

2) ส่งเสริมการผลิต กระจายพัฒนามาตราฐาน เพิ่มการเข้าถึงสินค้าและบริการที่ดีต่อสุขภาพ 

3) สร้างสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างพื้นที่สุขภาวะ

4) สร้างความรอบรู้/สื่อสารข้อมูลข่าวสารส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้อง & จำกัดสื่อโฆษณา 

5) สร้างโอกาส ประสบการณ์ กิจกรรม ส่งเสริมการมีวิถีชีวิตสุขภาพที่ดี & พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 

จากการพิจารณา มติที่ประชุม เห็นชอบร่างฯ และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการนำข้อเสนอของคณะกรรมการไปพิจารณาดำเนินการ และเตรียมความพร้อมในการพัฒนานโยบายต่อไป