จ.ขอนแก่น" เตรียมพร้อมระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ช่วงสงกรานต์ 2567

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

จังหวัดขอนแก่น มีระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ที่มีความเข้มแข็ง มีการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย มาเป็นระยะเวลาถึง 30 ปี ให้บริการแก่ประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง และมีการออกปฏิบัติการมากที่สุดในประเทศไทย มาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 256 7ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่นรายงานว่า ที่ ห้องประชุมจำลอง มุ่งการดี (ส่วนหน้า) โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะประธานคณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินและความปลอดภัยทางถนน วุฒิสภา พร้อมด้วยอนุกรรมการ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และเครือข่ายของโรงพยาบาลขอนแก่น โดยมีนายยุทธพร พิรุณสาร รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น,นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น,นายแพทย์วิทยา ชาติบัญชาชัย ผู้เชี่ยวชาญในคณะที่ปรึกษาขององค์การอนามัยโลก ด้านการป้องกันการบาดเจ็บ พร้อมด้วยบุคลากรโรงพยาบาลขอนแก่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ

นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น กล่าวว่า ปัจจุบัน จังหวัดขอนแก่น มีระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ที่มีความเข้มแข็ง มีการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย มาเป็นระยะเวลาถึง 30 ปี ให้บริการแก่ประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง และมีการออกปฏิบัติการมากที่สุดในประเทศไทย มาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี รวมทั้งยังเป็นสถาบันการฝึกอบรมบุคลากรด้านการแพทย์ในด้านอุบัติเหตุและฉุกเฉินให้แก่บุคลากรในระดับจังหวัด ระดับเขต ระดับประเทศและต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายให้บริการโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย ให้มีความทั่วถึง และเท่าเทียม


จังหวัดขอนแก่น มีการเจริญเติบโตทางสังคมเศรษฐกิจ และทางด้านการแพทย์อย่างรวดเร็วซึ่งมีผลกระทบต่อภาวะสุภาพของประชาชนในจังหวัดขอนแก่น และผู้สัญจรเข้ามาในจังหวัดขอนแก่น เมื่อพบผู้บาดเจ็บ และเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเรียกใช้บริการจากระบบบริการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดขอนแก่นได้อย่างทันท่วงที ซึ่งระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดขอนแก่น มีแนวคิดในการวางแผน การดำเนินงานอย่างจริงจัง เพื่อประชาชนที่ได้รับการบาดเจ็บ และป่วยฉุกเฉิน ได้รับการช่วยเหลือที่รวดเร็ว ปลอดภัย ลดอัตราตายและความพิการตั้งแต่ที่บ้าน หรือ ณ จุดเกิดเหตุอย่างเป็นระบบ.   

 17 มีนาคม 2567