สุโขทัย จัด“เวทีสมัชชาจังหวัดสุโขทัย และเวทีสานพลังธรรมนูญรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ ภายใต้วิถีชีวิตใหม่ พ.ศ. 2567 จังหวัดสุโขทัย สู่ Sukhothai Healthy City Model’s

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

เวทีสานพลัง ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม “ประเด็นรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพภายใต้วิถีชีวิตใหม่ พ.ศ.2567 จังหวัดสุโขทัย” สู่ Sukhothai Healthy City Model’s




ประเทศไทย ได้นิยามคำาว่า “ผู้สูงอายุ” ไว้ในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ว่าหมายถึง “ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป”ประเทศไทย ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ซึ่งมีประชากรผู้สูงอายุ ร้อยละ 10.4 ของประชากรทั้งหมด นอกจากนี้  พบว่า ผู้สูงอายุมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2565 และปี พ.ศ. 2576 ประเทศไทยจะเข้าสู่“สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์” และ“สังคมผู้สูงอายุระดับ สุดยอด” คือ มีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 28 ของประชากรทั้งประเทศ จากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรดังกล่าวทำให้ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุและเตรียมรับผลกระทบที่ตามมาจากการเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ

จังหวัดสุโขทัย มีแนวโน้มประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2567 มีประชากรผู้สูงอายุ จำนวน 118,846 คน เป็นร้อยละ28.95 (ข้อมูลประชากรตาม 43 แฟ้ม Type area = 1,3 ณ วันที่ 30 มกราคม 2567) ซึ่งเข้าสู่“สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์” จากข้อมูลการคัดกรองความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำาวัน (Barthel Activities of Daily Living - ADL) เป็นกลุ่มติดสังคม ร้อยละ 98.4 กล่มุ ติดบ้าน ร้อยละ 1.4 และกลุ่มติดเตียง ร้อยละ 0.3จากการสำรวจพฤติกรรมสูงอายุที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ ปี 2566 ผ่าน Blue Book Application พบว่าในภาพรวมจังหวัดสุโขทัย ผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ครบทั้ง 8 ด้าน เป็นร้อยละ 75.1 มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 9.0 เมื่อพิจารณาพฤติกรรมที่พึงประสงค์เป็นรายด้าน พบว่าผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์มากที่สุด คือ ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 91.1 รองลงมาคือ ไม่สูบบุหรี่ร้อยละ 89.9 และการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย ร้อยละ 88.6 ส่วนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์น้อยที่สุด คือ กิจกรรม ทางกายมีเพียงร้อยละ 79.5 และมีพฤติกรรมการกินผัก ผลไม้ ร้อยละ 83.7 ซึ่งจังหวัดสุโขทัยได้ดำาเนินการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยเน้น 2 กล่มุ หลัก คือ กล่มุ ผู้สูงอายุสุขภาพดี โดยการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงและชะลอการเกิดโรคเรื้อรัง กล่มุ ที่ 2 คือกล่มุ ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยให้สามารถดูแลรักษาตนเองเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยให้ดีขึ้น และป้องกันการพิการหรือทุพพลภาพได้เพื่อให้ผู้สูงอายุมีศักยภาพในการดูแลส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุและการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ผ่านการจัดทำาแผนส่งเสริมสุขภาพดีสำาหรับผู้สูงอายุรายบุคคลจะเป็นประโยชน์สำาหรับผู้สูงอายุอย่างยิ่ง ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นวัยที่ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุควรได้รับการส่งเสริมสุขภาพตรวจประเมิน คัดกรองภาวะเสี่ยงสม่ำเสมอ เพื่อดูแลสุขภาพตนเอง พัฒนาศักยภาพตนเองให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาวะของตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี


ซึ่งกระบวนการนโยบายสาธารณะฯจังหวัดสุโขทัย ปี 2567 มีกรอบคิดในการทำงานดังนี้

1.คณะทำางานสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตรองรับสังคมสูงวัยจังหวัดจะมุ่งเน้นการใช้ข้อมูลสถานการณ์ในการขับเคลื่อนพัฒนานโยบายสาธารณะทุกขั้นตอน

2.คณะทำงานสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตรองรับสังคมสูงวัยจังหวัดจะมุ่งเน้นการทำงานร่วมกับภาคียุทธศาสตร์ องค์กร และภาคีเครือข่ายทั้งเครือข่ายเก่าและเครือข่ายใหม่ในพื้นที่ ในการพัฒนาประเด็นปัญหาสำคัญ

3.คณะทำางานสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตรองรับสังคมสูงวัยจังหวัดจะมุ่งเน้นเน้นการพัฒนารูปแบบกลไกและกระบวนการที่หลากหลายโดยใช้เครื่องมือตาม พรบ.สุขภาพ/เครื่องมืออื่นๆ รวมถึงการสร้างนวัตกรรรมกระบวนการพื้นที่โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและมี

โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1.เพื่อยกระดับกลไกและกระบวนการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะสมัชชาสุขภาพจังหวัด ในการเป็นเวทีกลางความร่วมมือให้มีการดำาเนินงานเป็นระบบ และขยายเครือข่ายการทำงานกับภาคีหน่วยงานต่างๆเพื่อสร้างการรับรู้ในระดับจังหวัดร่วมกันในการพัฒนาและขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสาธารณะรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพเน้นการสานพลังทุกภาคส่วน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรับมือและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพโดยใช้เครื่องมือตามพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ ผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพ และกระบวนการธรรมนูญสุขภาพ พื้นที่

 2.เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกสมัชชา/คณะทำางานพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมจังหวัดให้สามารถบูรณาการกับหน่วยงาน องค์กร ภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ในจังหวัด ทั้งภาครัฐภาควิชาการและภาคประชาสังคมให้เข้าร่วมในกลไกและกระบวนการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะประเด็นนโยบายสาธารณะรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ อย่างต่อเนื่อง         

3..เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่สู่การพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพต้นแบบโดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและมีการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยมีผลงานและผลผลิตดังนี้

ผลงาน

1.นำมติสมัชชาสุขภาพจังหวัดไปกำาหนดเป็นนโยบายหรือมีการทำงานบูรณาการในเชิงนโยบายร่วมกันผลักดันเป็นข้อเสนอเขิงนโยบายจำนวน 4+1 มติ (สุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม + นวัตกรรม เทคโนโลยี)

2.การมุ่งสนับสนุนกิจกรรมเครือข่ายรูปธรรมระดับตำบล/อำเภอด้วยเครื่องมือสมัชชาสุขภาพจังหวัดธรรมนูญสุขภาพพื้นที่

3.เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะประเด็นนโยบายสาธารณะรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพการ มีมติความร่วมมือสร้างการมส่วนร่วมในการขับเคลื่อนประเด็นธรรมนูญสุขภาพพื้นที่

ผลผลิต

          1.ประเด็นนโยบายสาธารณะรองรับสังคมสูงวัยถูกกำหนดเป็นเป้าหมายร่วมในระดับอำเภอ และในระดับจังหวัด การมุ่งสนับสนุนกิจกรรมเครือข่ายรูปธรรมระดับตำบล/อำเภอด้วยเครื่องมือสมัชชาสุขภาพจังหวัด ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่

          - นโยบายสาธารณะรองรับสังคมสูงวัย อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย จำนวน 1 ฉบับ

          2.ผลักดันเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายกำหนดเป็นนโยบายหรือมีการทำงานบูรณาการในเชิงนโยบายร่วมกันอยางน้อย 1 ประเด็นเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะประเด็นนโยบายสาธารณะรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ มีมติความร่วมมือสร้างการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนประเด็นธรรมนูญสุขภาพพื้นที่

- นโยบายสาธารณะรองรับสังคมสูงวัย ระดับพื้นที่ 16 พื้นที่ ได้แก่

          (1) เทศบาลตำบลทุ่งหลวง

          (2) เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว

          (3) เทศบาลตำบลเมืองเก่า

          (4) เทศบาลตำบลบ้านโตนด

          (5) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตึก

          (6) องค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก

          (7) องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า

          (8) องค์การบริหารส่วนตำบลสามพวง

          (9) องค์การบริหารส่วนตำบลนาเชิงคีรี

          (10) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านน้ำพุ

          (11) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระดิ่ง

          (12) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองจิก

          (13) องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งยางเมือง

          (14) องค์การบริหารส่วนตำบลโตนด

          (15) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านป้อม

          (16) องค์การบริหารส่วนตำบลศรีคีรีมาศ


 25 กรกฎาคม 2567