'ระบบสุขภาพไทย' จะเจอผลกระทบอะไร? ในระยะ 5 ปี
สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อระบบสุขภาพ ในระยะ 5 ปี ของประเทศไทย ตาม "ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3" ที่จําเป็นต้องคํานึงถึง เพื่อออกแบบกลไกสนับสนุน ตอบสนอง และก้าวเดินไปข้างหน้าสู่เป้าหมาย "ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม"
1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและความแตกต่างทางความคิดระหว่างวัย
- จํานวนเด็กเกิดใหม่ลดลงต่อเนื่อง / เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว
- เด็กประสบปัญหาคุณภาพการเจริญเติบโตและการเลี้ยงดู
- คนต่างวัยเกิดความแตกแยก ความไม่เข้าใจทางความคิด
2. การเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยาของโรคและปัญหาสุขภาพ
- ปัญหาโรคไม่ติดต่อ (NCDs) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- การเกิดโรคระบาดอุบัติใหม่ ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้
- การเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขที่ไม่เป็นธรรมในกลุ่มเปราะบาง
3. การเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมือง
- การขยายเมืองกระจุกตัว / รวมศูนย์ความเจริญ
- การพัฒนาเมืองส่งผลต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- กลุ่มเปราะบางเขตเมืองขาดรายได้-อาหาร เข้าไม่ถึงการรักษา
4. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว
- สังคมเหลื่อมล้ำมากยิ่งขึ้น เพราะเทคโนโลยีทุกชนิดมีต้นทุน
- เกิดความไม่เท่าเทียมด้านโอกาสและความเป็นธรรมในสังคม
- ความท้าทายจากการไหลบ่าของข้อมูลข่าวสาร ความรอบรู้-เท่าทัน
5. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน
- ไทยจะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
- ความเหลื่อมล้ำ คนจนจะมีจํานวนมากขึ้นและจะจนลงไปอีก
- เสี่ยงการกลายพันธุ์ของเชื้อโรค พาหะนําโรค โรคตามฤดูกาลที่รุนแรงขึ้น
6. การขาดแคลนทรัพยากร
- ไทยมีภาระหนี้สาธารณะสูงเกินเพดาน เนื่องจากต้องกู้เงินเพื่อจัดการโควิด-19
- โควิดสะท้อนการขาดแคลนบุคลากร อุปกรณ์ ยา วัคซีน และเวชภัณฑ์
- ความไม่เท่าเทียมกันของสิทธิประโยชน์จากหลักประกันสุขภาพที่แตกต่างกัน
7. การแบ่งฝ่ายทางการเมืองของโลกและการค้าระหว่างประเทศ
- ความผันผวน ซับซ้อน ไม่แน่นอนสูง จากมาตรการสงครามการค้าและการลงทุน
- สถานการณ์สู้รบรัสเซีย-ยูเครน การคว่ำบาตร จะกระทบกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก
- ความตกลงการค้าที่อาจกระทบภาคเกษตร ทรัพย์สินทางปัญญา การเข้าถึงยา