กขป.เขต 10 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพแกนนำพัฒนา IQ เด็กในเขตพื้นที่ให้มีการพัฒนามากขึ้น

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.


นายชลธิษ จันทร์สิงห์ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.)เป็นประธานเปิดงานเวทีการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพทีมแกนนำพัฒนาการเด็กปฐมวัยพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 หรือ การประชุมถอดบทเรียนการส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมวัยสู่ EQ ดี มี IQ เกิน 103 โดยมีนายแพทย์ ณัฐนนท์ พีระภาณุรัตน์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร กล่าวต่อนรับ ซึ่งจังหวัดมุกดาหาร  เป็นจังหวัดที่มีพัฒนาการเด็ก IQ เด็กสูงที่สุด ในเขตสุขภาพที่ 10 โดยมีภาคีเครือข่าย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใน 5 จังหวัด คือ มุกดาหาร อำนาจเจริญ ยโสธร ศรีสะเกษ และ อุบลราชธานี กว่า 50 คน เข้าร่วมรับฟัง และแลกเปลี่ยน ประสพการณ์ แนวทางกระบวนการ การดำเนินงานที่สำเร็จ เพื่อนำไปเป็นแนวทางการพัฒนา IQ เด็กในพื้นที่จังหวัดตัวเองต่อไป  เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 ที่ ห้องประชุมตึกอุบัติเหตุชั้น ๒ โรงพยาบาลคำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร


จากการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา หรือ IQ ของเด็ก ป.1 ในปี 2559 พบ ค่าเฉลี่ย IQ ของเด็กไทย เท่ากับ 98. 23 จุด และ ค่าเฉลี่ย IQ ของเด็กจังหวัดมุกดาหาร เท่ากับ 91.26 จุด ซึ่งค่าเฉลี่ยเป้าหมายที่คาดหวังของระดับประเทศคือ 100 จุด จังหวัดมุกดาหารได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำแนวทางในการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยตั้งเป้าหมายให้เด็กจังหวัดมุกดาหาร มีค่าเฉลี่ย IQ เกิน 100 ภายในปี 2564 และจากผลการดำเนินงานอย่างเข้มแข็งและจริงจังของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้ค่าเฉลี่ยระดับ IQ ของเด็กปฐมวัยจังหวัดมุกดาหาร เพิ่มขึ้น 11.67 จุด สูงสุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ จาก 91.26 จุด เพิ่มเป็น 102.97 จุด รองจากจังหวัดหนองบัวลำภู ที่เพิ่มสูงขึ้น 13.82 จุด

สำหรับการดำเนินการของจังหวัดมุกดาหาร เน้นการแก้ไขให้ครอบคลุมทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของเด็ก พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาเด็กเตี้ย เด็กที่มีภาวะโลหิตจาง ป้องกันการขาดสารไอโอดีน และการพัฒนาองค์ความรู้ผู้ปกครองในการดูแลเด็ก โดยแบ่งการดูแลเป็น 4 ช่วง คือ
ช่วงที่ 1 ดูแลตั้งแต่ในครรภ์ ให้เด็กในครรภ์มีน้ำหนักตามมาตรฐาน โดยมีหน่วยงานหลักที่ดูแลคือ สาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ช่วงที่ 2 แรกเกิด – 2 ปี เน้นการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และการสร้างตัวตนให้กับเด็ก โดยมีหน่วยงานที่ดูแลหลักคือ สาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ช่วงที่ 3 อายุ 2-4 ปี และช่วงที่ 4 อายุ 4-6 ปี เน้นการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การสร้างตัวตนให้กับเด็ก โดยหน่วยงานที่ดูแลหลักคือ สาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเพิ่มครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และครูในระดับชั้นอนุบาล

 18 กันยายน 2567