สช.สานพลัง “ปัญจปิฎก 5 ดี วิถีตราด” ปี 2568
29 ตุลาคม 2567
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

อังคารที่ 29 ตุลาคม 2567 /  นายวิเชียร ทรัพย์เจริญ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด  เป็นประธานเปิดเวทีและประกาศถ้อยแถลง “ตราดจังหวัดจัดการตนเอง ปัญจปิฎก 5 ดีวิถีตราด” โดยมี  ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ,นางสาวสุมล ยางสูง ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ,นางสาวศิริวรรณ บุตราช ประธานสมัชชาสุขภาพจังหวัดและขบวนองค์กรชุมชนฅนตราด , นางสาวสุภาภรณ์ ดำรงพันธ์ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สช. , องค์กรชุมชนฅนตราด ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบล 43 พื้นที่ และ จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน เข้าร่วมเวที กว่า 150 คน  ณ  ศูนย์OTOP องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด

การจัดเวที“ตราดจังหวัดจัดการตนเอง ปัญจปิฎก 5 ดีวิถีตราด” เป็นโอกาสที่ขบวนองค์กรชุมชนฅนตราด สมัชชาสุขภาพจังหวัด ได้ผลักดันการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับจังหวัดให้เกิดรูปธรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต 5 ดีวิถีฅนตราด มาตั้งแต่ปี 2564 ถึงปัจจุบันโดยได้ความร่วมมือขับเคลื่อนการบูรณาการกับหน่วยงาน ภาคี เครือข่าย ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนตราดเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาและขับเคลื่อนประเด็นที่เป็นปัญหาสำคัญของจังหวัด“ตราดจัดการตนเอง”ผนึกกำลังของภาคประชาชนที่มีความเด็ดเดียวมุ่งมั่นในการตอบแทน บุญคุณของแผ่นดินที่ชาวตราด ทุกเพศวัยและทุกศาสนาของแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานไว้ให้และจะช่วยกัน ขจัดทุกข์  บำรุงสุข ของพี่น้องจังหวัดตราด  

การส่งต่อ"นโยบาย 5 ดีวิถีคนตราด"ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นนโยบายสำคัญต้องเกิดจากการพัฒนาแบบองค์รวมที่ให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมและเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญเพื่อให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลการดูแลซึ่งกันและกันในลักษณะของการร่วมทุกข์และสุขร่วมกันช่วยเหลือและพึ่งตนเองตามกำลังความสามารถของชุมชนทั้งในเรื่องการสร้างหลักประกันเพื่อความมั่นใจของคนในชุมชนที่ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชน สร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการตนเองอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย 

และในปี 2568 สมัชชาสุขภาพจังหวัดตราดดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) 3 เสาหลักของมิติความยั่งยืน คือ มิติด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สันติภาพ หุ้นส่วนการพัฒนา ที่เชื่อมร้อยทุกมิติของความยั่งยืนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ทั้งนี้ได้มีหน่วยงานและภาคียุทธศาสตร์ที่ร่วมกันวางเป้าร่วมได้แก่ NIDA ผ่านโครงการวิจัยประชาธิปไตยอัตลักษณ์ไทย พอช. ผ่านการยกระดับจังหวัดบูรณาการ "จังหวัดจัดการตนเอง"สช. หนึ่งจังหวัดหนึ่งนโยบายสาธารณะของภาคตะวันออก ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า สภาพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองจังหวัดตราด โดย สช.ได้สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะของจังหวัดตราดผ่านประเด็นความมั่นคงทางอาหารและยา (สมุนไพรท้องถิ่น) และการส่งเสริมและป้องกันโรคไม่ติดต่อ NCDs เพื่อเป็นรูปแบบการดำเนินงานร่วมกับสภาองค์กรชุมชน และขับเคลื่อน Wellness Tourism ในปี 2568 นี้