"สานพลังคนเหนือล่าง รับมือมหาภัยฝุ่นควันที่กำลังมาถึง" ร่วมวางแผนป้องกัน แก้ไขปัญหา

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.







ฝุ่น PM2.5 กลายเป็นมหันตภัยด้านมลพิษที่คุกคามคนทั่วโลก องค์การอนามัยโลก (WHO)ประเมินว่า แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศ มากถึง 7 ล้านคน ซึ่งไทยเองก็เผชิญปัญหานี้เช่นกัน และฝุ่นคือหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ จนทำให้คนไทยตายผ่อนส่งแบบไม่รู้ตัว จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นและทวีความรุนแรงต่อเนื่องทุกปี ทางมูลนิธิคนเห็นคน จึงได้ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กองทุนสิ่งแวดล้อม กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กองทุนพัฒนาการไฟฟ้าฯ และกองทุนวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สกสว. ได้จัดเวที "สานพลังคนเหนือล่าง รับมือมหาภัยฝุ่นควันที่กำลังมาถึง" เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมาทีี่ โรงแรมวังจันทร์ริเวอร์วิว อำเภอเมือง จังหวัดหวัดพิษณุโลก ซึ่งผู้เข้าร่วมมีความหลากหลาย ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคท้องถิ่น/ท้องที่ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และเครือข่ายสื่อมวลชนจากภาคีเครือข่ายทั้ง 8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ประกอบไปด้วย จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดตาก จังหวัดสุโขทัย จังหวัดเพชรบูรณ์และ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีแนวทางมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินงานด้านการป้องกัน การเผชิญเหตุ การแก้ไขปัญหาและฟื้นฟู รวมถึงงานวิจัยและนวัตกรรมที่ช่วยลดผลกระทบจาก "ฝุ่นควัน และ PM2.5" ทั้งยังถือเป็นโอกาสที่ดี ที่ภาคีเครือข่าย จะได้ร่วมกันวางแผมงานรับมือกับสถานการณ์ฝุ่นควันและPM 2.5 ที่กำลังจะมาถึงในอนาคตข้างหน้านี้

นอกากคณะผู้บริหารของ 5 กองทุนแล้ว ยังเป็นโอกาสที่ดีที่ทาง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ หรือ กพร. คณะกกรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พรบ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดและคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถด้านเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่างได้เข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนในเวทีนี้ ซึ่งแกนนำภาคีเครือข่าย 8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างสามารถใช้โอกาสนี้เสนอแนะแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อทั้ง 5 กองทุนในการพิจารณาหนุนเสริมแผนการดำเนินงานในการรับมือกับสถานการณ์ฝุ่นควันที่กำลังจะมาถึงและแนวทางการสร้างความยั่งยืนสำหรับการป้องกันปัญหาในระยะยาวต่อไป   

 5 พฤศจิกายน 2567