สำนักงานคณะกรรมสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ผลักดันสร้างการท่องเที่ยวยุคใหม่ สังคมสุขภาวะไทยยั่งยืน ผ่านการขับเคลื่อน 2 นโยบายด้านเศรษฐกิจ-สุขภาพความเป็นอยู่ที่ดี ตามมติสมัชชาอนามัยโลกอย่างสมดุล

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.



สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่
17 มีมติรับรองกรอบทิศทางนโยบาย เศรษฐกิจยุคใหม่ สร้างสุขภาวะไทยยั่งยืน New Wealth for Health คือ เศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันและอนาคตทั้งเศรษฐกิจมหภาคและเศรษฐกิจฐานรากที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี ภูมิปัญญา และการมีส่วนร่วมอย่างสำคัญของคนทุกวัยในการสร้างสรรค์ความเป็นหุ้นส่วนและสุขภาวะของคนทุกคน ตลอดทั้งสังคมและระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม ให้มั่นคงและยั่งยืน นั่นคือการก้าวสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ (NEW ERA ECONOMY) ของประเทศไทย

 
มีความสมดุลจึงเกิดความเท่าเทียมทางสุขภาวะ ถ้าเศรษฐกิจสามารถเดินหน้าไปได้ต่อเนื่อง ประชาชนก็ต้องได้รับผลประโยชน์ด้านสุขภาวะที่ดีทุกมิติ

 

เปิดมติรับรอง 2 วาระสุขภาพแห่งชาติ สร้างสมดุล 5 มิติ เศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง-สร้างหลักประกันสุขภาวะที่ดีให้คนในชาติ

 

ระเบียบวาระที่ได้รับการรับรอง 2 ประเด็นที่จะถูกขับเคลื่อนต่อหลังจากนี้ 1. การพลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ มุ่งสร้างศักยภาพประชาชนให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและจัดการกำลังคน ทั้งวิชาชีพและไม่ใช่วิชาชีพ เข้ามาหนุนเสริมความเข้มแข็งของระบบสุขภาพปฐมภูมิ 2. การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจไทยยั่งยืน เดินหน้าขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นการท่องเที่ยวคุณภาพสูง มีสุขภาวะทั้งนักท่องเที่ยวและพื้นที่ท่องเที่ยว พร้อมร่วมกันบูรณาการสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากผ่านการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเสนอทางนโยบายภายใต้การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ซึ่งสอดรับกับนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการผลักดันการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ Wellness Tourism ต่อยอดให้เกิดเป็นการท่องเที่ยวที่สร้างคุณค่า ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้พบกับประสบการณ์ที่น่าประทับใจจากการท่องเที่ยวในประเทศไทย และสามารถสร้างรายได้กระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อีก ซึ่งเศรษฐกิจกับสุขภาพถือเป็นประเด็นสำคัญสำหรับประเทศไทย

 

นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ความท้าทายด้านเศรษฐกิจกับสุขภาพสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทย ถือเป็นประเด็นที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ การเข้าสู่สังคมสูงอายุ ฯลฯ ภายใต้แนวคิดการมองเรื่องสุขภาพในปัจจุบันที่มีการเชื่อมโยงกับมิติอื่น ๆ อย่างเป็นองค์รวมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One health) แนวคิดทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ (Health in All Policies) หรือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่นานาประเทศมุ่งขับเคลื่อนให้บรรลุภายในปี 2573

 

 3 ธันวาคม 2567