สตูลเตรียมขับเคลื่อนธรรมนูญมัสยิด ใน 243 มัสยิด ลดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ผ่าน NCDs Ecosystem “สุขภาวะมุสลิมไทย” โดยใช้หลักศาสน าเป็นแกนกลางในการร่วมสร้างมาตรการสุขภาพอย่างมีส่วนร่วม
2 มิถุนายน 2568
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

อย่าฆ่าโต๊ะอิหม่ำทางอ้อม! สตูลเตรียมขับเคลื่อนธรรมนูญมัสยิด ใน 243 มัสยิด ลดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ผ่าน NCDs Ecosystem “สุขภาวะมุสลิมไทย” โดยใช้หลักศาสนาเป็นแกนกลางในการร่วมสร้างมาตรการสุขภาพอย่างมีส่วนร่วม

ประโยคบอกเล่าจากผู้นำศาสนา ที่ ระบายความอัดอั้นตันใจออกมาเมื่อสุขภาพถูกคุมคามจากด้วยโรค NCDs จากการบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล จ.สตูลเป็นจังหวัดหนึ่งที่พี่น้องมุสลิมที่เป็นประชากรโดยส่วนใหญ่ มากถึง 75% และมีข้อมูลที่พบว่าภาวะความเสี่ยงจาก โรค NCDs ย้อนหลังสามปีจนถึงปัจจุบัน ที่ทวีความรุนแรง  ผู้นำศาสนา และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

2 มิถุนายน 2568  ณ สำนักงานคณะกรรมการอิสลาม จังหวัดสตูล โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม 3 ภาคส่วน ผู้นำศาสนา ราชการท้องที่ท้องถิ่น เอกชน ภาคประชาสังคม อาทิ รองประธานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดสตูล , ที่ปรึกษากรรมการ , รองนพ.สสจ.สตูล , นายกอบต.ควนโพ ,รองนายก อบต ย่านซื่อ , ผู้นำศาสนา โต๊ะครู กรรมการมัสยิด , อสม. , สื่อ , สมัชชาจังหวัด , โหนด สสส. 

วัตถุประสงค์สำคัญของการดำเนินงาน

1. เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือในการลดโรคไม่ติดต่อ (NCDs)  ใน 243 มัสยิด ครอบคลุม 7 อำเภอของจังหวัดสตูล โดยเน้นการบูรณาการระหว่างภาครัฐ ภาคศาสนาภาคประชาสังคมและภาควิชาการ

2. เพื่อลดอัตราการป่วยและการเสียชีวิตของผู้ป่วยรายใหม่ โดยเฉพาะจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในชุมชนมุสลิม โดยอาศัยโอกาสจากกิจกรรมศาสนา เช่น “งานบุญนูหรี” เป็นพื้นที่สื่อสารและส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

3. เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนมุสลิม ผ่านการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ร่วมออกแบบมาตรการเชิงชุมชน และใช้กลไกร่วมระดับจังหวัด โดยมีคณะกรรมการอิสลามจังหวัดเป็นแกนร่วมในการดำเนินงาน เพื่อมุ่งสู่การสร้างสุขภาพที่แข็งแรงและยั่งยืนในทุกชุมชน

นายอับดุลกอเด็ร หลงกอหราบ

รองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสตูล

กล่าวว่า คณะกรรมการอิสลามจังหวัดเล็งเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการสร้างมาตรการส่งเสริมสุขภาพในชุมชนมุสลิม โดยเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การเป็น “มัสยิดส่งเสริมสุขภาพ” ซึ่งอาจเริ่มต้นจากการดำเนินการในประเด็นที่จับต้องได้ เช่น การจัด “ตลาดมัสยิด” ที่มีอาหารปลอดภัย การส่งเสริมกิจกรรมทางกายภายในชุมชน (เดินไปละหมาดแทนการขี่มอเตอร์ไซค์) และการสร้างแรงจูงใจในการเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของชาวมุสลิม

ทั้งนี้ ข้อมูลและข้อเสนอจากวงประชุมในครั้งนี้ จะถูกนำไปหารือร่วมกับคณะกรรมการอิสลามจังหวัดสตูล เพื่อพิจารณาในการผลักดันให้เป็นวาระระดับจังหวัดในลำดับต่อไป

นายภาษิต พิศาลสุทธิกุล

รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสตูล

ได้นำเสนอภาพรวมสถานการณ์ภัยคุกคามต่อสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่จังหวัดสตูล โดยเฉพาะปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ซึ่งยังคงเป็นความท้าทายสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข พร้อมทั้งเน้นย้ำว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ให้ความสำคัญกับการป้องกันและลดภาระจากโรค NCDs อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ สสจ.สตูล พร้อมทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในระดับจังหวัด โดยเฉพาะการเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสตูล เพื่อร่วมกันพัฒนามาตรการสุขภาพเชิงรุกในชุมชนมุสลิม และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบในพื้นที่

นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน

ผู้ประสานงานเครือข่ายจริยธรรมอิสลาม

กล่าวว่า จังหวัดสตูลได้เปิดพื้นที่กลางเพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากทั้ง 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคศาสนาภาคประชาสังคม และภาควิชาการ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเด็นการส่งเสริมสุขภาวะในชุมชนมุสลิมอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นแนวทาง “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเป็นเจ้าของ” ผ่านการใช้หลักการร่วมสร้างมาตรการที่สอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม, การใช้มัสยิดเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อน, การประสานกลไกและเครื่องมือที่มีอยู่ในพื้นที่ และการออกแบบกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีบทบาทร่วมกันในการพัฒนา

นายสมเกียรติ พิทักษ์กมลพร

ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ โดยเน้นประเด็น “การสานพลังสร้างสภาวะแวดล้อมทางกายภาพและสังคมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อ (NCDs)” ซึ่งถือเป็นแนวทางสำคัญในการรับมือกับภัยคุกคามสุขภาพในระยะยาว การขับเคลื่อนดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคศาสนา ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ เพื่อร่วมกันออกแบบระบบนิเวศสุขภาวะ (Health Ecosystem) ที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดปัจจัยเสี่ยง และสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืนในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะในชุมชนที่มีบริบทเฉพาะ เช่น ชุมชนมุสลิม

นายกรฤทธิ ชุมนูรักษ์  ผู้ชำนาญการ และ นางนันทิยา ลิ่วลักษณ์ นักวิชาการ 

ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับช่องว่างและความท้าทายในการจัดการปัจจัยเสี่ยงและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ในพื้นที่จังหวัดสตูล โดยได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการทำ Mapping เครือข่าย ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัจจัยเสี่ยง เช่น การบริโภคอาหาร การมีกิจกรรมทางกาย และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ

นอกจากนี้ ยังได้ร่วมเสนอแนวทางในการ ขับเคลื่อนการสานพลังทุกภาคส่วน เพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมทั้งทางกายภาพและทางสังคมที่ส่งเสริมสุขภาวะ และสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะว่าด้วยการจัดการปัจจัยเสี่ยง เพื่อลดภาระจากโรคไม่ติดต่อในระยะยาว


ก้าวต่อไป (Next Step)

1. การหารือร่วม 2 ระดับ

o จัดประชุมหารือในระดับจังหวัดและระดับพื้นที่

o ในระดับจังหวัด จะมีการประชุมร่วมกับ คณะกรรมการอิสลามจังหวัด (ชุดใหญ่) และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อผลักดันเข้าสู่วาระร่วมระดับจังหวัด

o การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง คณะกรรมการอิสลามจังหวัดสตูล จัหวัด อบจ. สสจ. สช. สปสช. ท้องถิ่น ผู้นำศาสนา  และประชาสังคม เพื่อสานพลังความร่วมมือสร้างสภาวะแวดล้อมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

2. การออกแบบมาตรการชุมชนร่วมกับหลักศาสนา

o ร่วมกันจัดทำ “มาตรการกลาง” ที่ยึดโยงหลักการศาสนาอิสลามเพื่อแปลงสู่การเป็นการสร้าง มาตรการ รูปธรรมระดับชุมชน

o จัดทำร่าง “ธรรมนูญสุขภาพลด NCDs ” โดยมี ทีมวิชาการจาก สำนักงานคณะกรรมการอิสลามจังหวัด  ร่วมให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับหลักความเชื่อทางศาสนาและการปรับใช้ในบริบทสุขภาวะ

3. การคัดเลือกและพัฒนาพื้นที่นำร่อง

o จัดทำ เกณฑ์และข้อมูล เพื่อคัดเลือกพื้นที่ต้นแบบ

o พัฒนา พื้นที่นำร่อง โดยกำหนด มัสยิดต้นแบบตำบลละ 1 แห่ง ครอบคลุมทุกอำเภอในจังหวัด


รายงานโดย สช.ต.