บทบาท 'แพทย์แผนไทย-สมุนไพร' ในเข็มทิศด้านสุขภาพระยะ 5 ปี

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.



เป้าหมายการส่งเสริม-สนับสนุนการใช้และการพัฒนา ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ ในระยะ 5 ปีตาม "ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3"


เป้าหมาย

1) ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีความรอบรู้ในภูมิปัญญาท้องถิ่น แพทย์แผนไทย/สมุนไพร เพื่อเป็นฐานในการสร้างเสริมสุขภาพและการพึ่งตนเอง

2) สร้างระบบสุขภาพชุมชนที่พึงประสงค์ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพเชื่อมต่อกับระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศ

3) ประชาชนทุกกลุ่มวัยเข้าถึงและใช้ระบบการแพทย์แผนไทย/แพทย์พื้นบ้าน/แพทย์ทางเลือก ที่มีคุณภาพ/มาตรฐาน ประสิทธิผล ปลอดภัย และใช้อย่างสมเหตุสมผล


จุดคานงัด (ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง)

1) บูรณาการข้อมูลในระดับชาติ

มีกระบวนการรวบรวม/จัดการชุดข้อมูล เกี่ยวกับ

การใช้บริการแพทย์แผนไทย/แพทย์พื้นบ้าน/แพทย์ทางเลือก ในระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับ

การใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร

พันธุ์พืชสมุนไพร ป่าชุมชน ป่าครอบครัว และภูมิปัญญา


2) ส่งเสริมการสร้าง/พัฒนาระบบ

สร้างระบบสุขภาพชุมชนที่พึงประสงค์ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ

สร้างแนวทางป่าชุมชนกับการอนุรักษ์ ปกป้อง และการใช้สมุนไพรอย่างยั่งยืน

พัฒนาผู้ปลูกสมุนไพรให้มีความรู้ในการปลูกตามหลัก GAP, เกษตรอินทรีย์ 

มุ่งให้บทบาทท้องถิ่น หมอพื้นบ้าน ประชาสังคมในพื้นที่ ร่วมเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา


3) มาตรการทางการเงินการคลัง

ใช้การเงินเป็นกลไกกระตุ้น การใช้/พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพฯ โดย

หนุนการใช้/พัฒนาในระดับพื้นที่หรือชุมชน

หนุนการใช้/พัฒนาในระดับหน่วยบริการสุขภาพทุกระดับของประเทศ

หนุนการพัฒนาทางวิชาการ การวิจัย การจัดการความรู้ และการพัฒนากำลังคนที่เกี่ยวข้อง


*สถานการณ์โควิด-19 ได้แสดงให้เห็นตัวอย่างดีๆ และศักยภาพของระบบสุขภาพชุมชนที่ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น เกิดการศึกษาวิจัย/รื้อฟื้นองค์ความรู้ดั้งเดิมเพื่อนำมาใช้อย่างเร่งด่วน เช่น ยาฟ้าทะลายโจร ยากระชาย ฯลฯ ที่มีบทบาทในการดูแลสุขภาพประชาชนอย่างดี

 27 เมษายน 2565