'การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ' เป้าหมายสำคัญในทิศทางระบบสุขภาพไทย
การดูแลผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยและเป็นธรรม จากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ในระยะ 5 ปีตาม "ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3"
ประเด็นปัญหา
• ผู้บริโภคได้รับสินค้าและบริการที่ไม่ปลอดภัย หรือถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านผลิตภัณฑ์ ยา อาหาร เครื่องสำอาง
• มีการโฆษณาส่งเสริมการขายที่ผิดกฎหมาย
• กฎหมายและการบังคับใช้ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอและไม่ทันสมัย
• ขาดแหล่งข้อมูลแจ้งเตือนภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ
• มีผู้บริโภคเพียงบางส่วนที่ได้รับการชดเชยเยียวยา เมื่อเกิดความเสียหาย
เป้าหมายของการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ในระยะ 5 ปี
1. ทบทวน/แก้ไขกฎหมายให้มีความเป็นธรรม และเท่าทันกับการโฆษณา/การขายที่เปลี่ยนแปลงไป
2. ติดตาม/ควบคุมกำกับ เพื่อให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เฝ้าระวังคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย หรือโฆษณาที่อาจเป็นการลิดรอนสิทธิผู้บริโภค
4. ชดเชยความเสียหายที่เกิดจากการบริโภค
5. สร้างเสริมศักยภาพแก่องค์กรของผู้บริโภคและผู้บริโภค
6. พัฒนาฐานข้อมูลแจ้งเตือนภัยสำหรับหน่วยงานรัฐ องค์กรผู้บริโภค และผู้บริโภค
*จุดคานงัดสำคัญคือ "สภาองค์กรของผู้บริโภค" ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2563 จะเป็นองค์กรที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ลดช่องว่างของการบูรณาการ แต่จะต้องได้รับการหนุนเสริมความเข้มแข็งจากทุกภาคีเครือข่าย โดยเฉพาะหน่วยงานรัฐจะต้องให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง
28 เมษายน 2565