'กำลังคนด้านสุขภาพ' ไทย จะเพิ่มขึ้นอย่างไรใน 5 ปี?
เป้าหมายการผลิตและการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ ในระยะ 5 ปีตาม "ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3"
"กำลังคนด้านสุขภาพ"
• ผู้ให้บริการโดยตรง (Health services)
บุคลากรด้านสาธารณสุขที่มีกฏหมาย ระเบียบ หรือข้อกำหนดรองรับ
• ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Non-health services)
กำลังคนด้านสุขภาพอื่นๆ ที่สามารถร่วมให้บริการด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะในเรื่องบริการปฐมภูมิ งานส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมป้องกันโรค ในระดับครอบครัวและชุมชน
"เป้าหมายในภาพรวมระยะ 5 ปี"
1. กระจายบุคลากรระหว่างพื้นที่อย่างเป็นธรรม
มีกำลังคนที่เพียงพอ/เหมาะสมต่อการจัดบริการสุขภาพ ภายใต้ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม ตลอดจนรักษากำลังคนเหล่านั้นให้ทำงานอยู่ในระบบ
2. ปรับการทำงานเชิงกายภาพไปสู่ดิจิทัล
กระจายคนจากส่วนกลางไปสู่ระดับพื้นที่ (centralize towards area-based) และการทำงานที่มุ่งสู่ระบบสุขภาพปฐมภูมิ (primary care) และ inclusiveness มากขึ้น
3. ระบบการศึกษาสนองความต้องการประเทศ
มีศักยภาพและขีดความสามารถในการผลิต/พัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของระบบสุขภาพในปัจจุบันและอนาคต
4. มีระบบติดตามประเมินผล
มีระบบและกลไกในการติดตาม และประเมินผล ในการดำเนินนโยบายกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศที่มีเอกภาพ และบูรณาการ
"จุดคานงัด" (ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง)
1. สร้างความเข้มแข็งในระดับพื้นที่
- มีกลไกอภิบาลในพื้นที่ ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมพัฒนาข้อเสนอแก้ไขปัญหา/วางทิศทางการพัฒนา
- วางแผนและบริหารจัดการกำลังคน โดยใช้ปัญหาของพื้นที่เป็นหลัก
2. ปฏิรูปการจ้างงานในระบบสุขภาพ
- ปฏิรูประบบการจ้างงาน โดยเฉพาะในภาครัฐ ให้มีความหลากหลาย ยืดหยุ่น คล่องตัว และมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับลักษะของงานบริการในอนาคต
3. พัฒนารูปแบบการใช้ Digital health
- เพิ่มการใช้ Digital health ในระบบบริการ ช่วยลดจำนวนกำลังคนด้านสุขภาพ
4. ปรับกลไกการผลิตกำลังคน
- มุ่งเป้าการผลิตตอบสนองความต้องการของประเทศ ให้ความสำคัญกับกำลังคนด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มวิชาชีพ เชื่อมโยงการนำคนในพื้นที่เข้ามาเรียน
- ผลิตกำลังคนในสาขาที่จำเป็นในอนาคต เช่น ด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ ด้าน medical informatics เป็นต้น
- เพิ่มศักยภาพของกำลังคนในการปรับตัว พัฒนาสมรรถนะ Up-skill และ re-skill
5. ทำระบบฐานข้อมูลที่เป็นเอกภาพ
- พัฒนาตัวชี้วัดกำลังคนด้านสุขภาพในการติดตาม ประเมินผล เพื่อใช้ในการตัดสินใจในเชิงนโยบาย
- พัฒนาแพลทฟอร์มดิจิทัล เชื่อมโยงฐานข้อมูลกำลังคนด้านสุขภาพ ทั้งฝั่งผู้ผลิต/ผู้ให้บริการ/สภาวิชาชีพ