'การเงินการคลังด้านสุขภาพ' บนเป้าหมายสร้าง 'ความเป็นธรรม'

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.


ประเทศไทยมีรายจ่ายสุขภาพทั้งหมด (THE) 4.1.% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และมีรายจ่ายของรัฐบาลด้านสุขภาพ (GGHE) คิดเป็น 16.5% ของรายจ่ายของรัฐบาลทั้งหมด (GGE) ในปี 2562

ทั้งนี้ ข้อเสนอ SAFE ได้กําหนดเป้าหมายความยั่งยืนให้ THE ไม่เกิน 5% GDP และมี GGHE ไม่เกิน 20% ซึ่งตัวเลขสถานการณ์ในปี 2562 แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีรายจ่ายสุขภาพน้อยกว่าเป้าประสงค์ โดยควรเพิ่มค่าใช้จ่ายสุขภาพโดยการสนับสนุนจากภาครัฐให้มากขึ้น

ขณะที่สถานการณ์ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สําหรับประชากรไทย ยังมีความแตกต่างกันระหว่าง 3 สิทธิประกันสุขภาพหลัก ในปี 2564 ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่อคนตาม สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ คิดเป็น 13,600 บาทต่อคนต่อปี สิทธิประกันสังคม คิดเป็น 4,976 บาทต่อคนต่อปี และ สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) คิดเป็น 4,055 บาทต่อคนต่อปี

อย่างไรก็ตาม สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ยังครอบคลุมบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสําหรับคนไทยทุกคนทั้งสามกองทุน ไม่ใช่เฉพาะผู้มีสิทธิในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอีกด้วย

เป้าหมายในระยะ 5 ปีตาม "ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3" จึงประกอบด้วย 1. บูรณาการกองทุนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ให้มีความเป็นเอกภาพ เป็นธรรม ทั่วถึง

เพียงพอ และยั่งยืนด้านการเงินการคลัง 2. มีระบบการเงินการคลังมีความสอดรับกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และเป็นรากฐานสําคัญในการพัฒนางานด้านสุขภาพอื่นๆ ที่ระบุไว้ในธรรมนูญฯ ฉบับนี้

3. มีการวางแผนออกแบบการเงินการคลังเพื่อดูแรงงานข้ามชาติและผู้ไม่มีเลขประจําตัว 13 หลักอย่างเป็นระบบ ให้สามารถเข้าถึงบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จําเป็น โดยเฉพาะการได้รับวัคซีน และให้มีระบบประกันสุขภาพสําหรับการดูแลรักษาที่ครอบคลุม โดยมีทางเลือกในรูปแบบต่างๆ และพัฒนาแหล่งรายได้ที่เหมาะสมสําหรับดูแลประชากรกลุ่มนี้

4. สร้างการรับรู้และตระหนักรู้ในหน้าที่ของประชากรในการดูแลสุขภาพของตนเอง โดยยึดหลักการสร้างความเป็นธรรมด้านสุขภาพ สนับสนุนให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงปัจจัยที่ทําให้มีสุขภาพ

ที่ดี โดยเฉพาะคนยากจน และหลักการ Health in All Policy ที่ทุกภาคส่วนควรมีส่วนร่วมในเรื่องสุขภาพทั้งในเรื่องของงบประมาณ นโยบายเพื่อสาธารณะ และมีการทํางานร่วมกัน

5. ต้องมีระบบที่สร้างความเป็นธรรมในการร่วมจ่ายตามฐานะทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นหรือสร้างอุปสรรคในการเข้าถึงบริการที่จําเป็นอีกทั้งต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบหรือความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึง

บริการ และควรมีการพัฒนากลไกการร่วมจ่ายจากหน่วยงานองค์กรหรือผู้ประกอบการรวมไปถึงหน่วยงานรัฐที่สร้างผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข เช่น ก่อให้เกิดมลพิษ และเกี่ยวข้องกับปัจจัยกําหนดสุขภาพอื่นๆ เป็นเงินชดเชยค่าบริการแก่ระบบสุขภาพ

 11 พฤษภาคม 2565