'สุขภาพทางปัญญา' Spiritual Health

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.


นิยาม: คุณภาพใหม่ของจิตใจที่เกิดจากการเข้าถึงความจริง คุณค่า และความหมายอย่างรอบด้าน ทั้งของตนเอง ผู้อื่น ธรรมชาติ และสิ่งที่ยึดเหนี่ยวศรัทธา ผ่านช่องทางทั้งทางวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และปัญญาญาณ

ผลลัพธ์: ทําให้เกิดคุณภาพของจิตใจที่สงบ สันติ มีอิสระ เปิดกว้าง มีความรัก ความเมตตากรุณา เสียสละ ให้อภัย อดทนอดกลั้นได้ต่อความแตกต่าง และสมานฉันท์ ละวางการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง เข้าใจและเข้าถึงคุณค่าและความหมายของสิ่งต่างๆ

ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 

• 5 เป้าหมาย
1. คนในสังคมไทยทุกช่วงวัยสามารถเข้าถึงการมีสุขภาพทางปัญญาที่ดี
2. ระบบศึกษาให้ความสําคัญกับการเรียนรู้ที่มีชีวิตเป็นตัวตั้ง ไม่เอาวิชาเป็นตัวตั้ง
3. ภาคส่วนต่างๆ ในระบบสุขภาพ ให้ความสําคัญกับการพัฒนาสุขภาพทางปัญญา
4. ภาคส่วนต่างๆ ของสังคมตระหนักถึงความสําคัญของการพัฒนาสุขภาพทางปัญญา
5. ประเด็นความแตกแยกระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ได้รับการคลี่คลายอย่างสร้างสรรค์

• 7 มาตรการ
1. เสริมพลังคนทํางานสุขภาพทางปัญญาให้เข็มแข็ง
2. ศึกษาวิจัย จัดการความรู้ และสร้างพื้นที่เรียนรู้ที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ง่าย
3. ส่งเสริมและสนับสนุน เด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ ชุมชนทางเลือกต่างๆ และชุมชนในโลกคู่ขนานออนไลน์ ให้เข้าร่วมขบวนการพัฒนาสุขภาพทางปัญญาและสุขภาพองค์รวม
4. ส่งเสริมการทํางานอาสาสมัครให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง
5. ประสานพลังทางนโยบายและปฏิบัติการกับภาครัฐ
6. ปฏิบัติการสื่อสารที่สร้างสรรค์ด้วยรูปแบบและแพลตฟอร์มที่หลากหลาย
7. สร้างพื้นที่ปฏิบัติการต้นแบบเพื่อพัฒนาสุขภาพทางปัญญาในฐานะแหล่งเรียนรู้ร่วมกันของสังคม

• 2 จุดคานงัด
1. ทําให้คนไทยเข้าถึงการเรียนรู้ในการเยียวยาการผุกร่อนทางจิตวิญญาณ และพัฒนาสุขภาพทางปัญญาที่ง่ายและหลากหลาย
2. สร้างพื้นที่เรียนรู้และร่วมมือของสังคมในการคลี่คลายความขัดแย้งสําคัญ ด้วยกระบวนการและเครื่องมือส่งเสริมสุขภาพทางปัญญา

 12 พฤษภาคม 2565