ตีแผ่ 'อนามัยสิ่งแวดล้อมโลก' 2565

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.


กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เผยให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างสถานการณ์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทั่วโลก กับการเกิดโรคที่สำคัญ 7 โรคใหญ่

1. โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ

45% ของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่เสียชีวิตด้วยโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ มีสาเหตุจากการใช้เชื้อเพลิงแข็งในครัวเรือน และการใช้น้ำมันก๊าดคู่กับเตาประกอบอาหารที่ก่อมลพิษ 

2. มลพิษทางอากาศ

1 ใน 8 ของผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ มีสาเหตุการตายเนื่องจากมลพิษอากาศ

3. สารเคมี

ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตกว่า 1.6 ล้านคน โดยมีสาเหตุจากสารเคมีที่พบในอากาศ ในผลิตภัณฑ์อุปโภค บริโภค ในสถานที่ทำงาน ในน้ำหรือดิน และการเสียชีวิตเหล่านี้ ส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสสารเคมีอย่างต่อเนื่อง 

4. พฤติกรรมการล้างมือ

มีประชากรเพียง 26% ที่ล้างมือหลังการขับถ่าย 

5. ความเป็นเมือง

ในปี 2593 หรืออีกราวๆ 28 ปีข้างหน้า คาดว่า ประชากรประมาณ 70% ของประชากรทั่วโลก จะอาศัยอยู่ในเขตเมือง ซึ่งเป็นแหล่งรวมปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ 

6. น้ำปนเปื้อน

ประชากรมากกว่า 2,000 ล้านคน ดื่มน้ำที่ไม่สะอาดมีการปนเปื้อนอุจจาระ อหิวาตกโรค โดยมีการรายงานผู้ป่วยประมาณ 2.9 ล้านคน ในแต่ละปี 

7. โรคท้องร่วง

ในแต่ละปี น้ำ การสุขาภิบาล และสุขอนามัยที่ไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 8.2 แสนคนจากโรคท้องร่วงที่สามารถป้องกันได้ และในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุไม่เกิน 5 ปี ถึง 2.9 แสนคน

*จากผลกระทบด้านสุขอนามัยของทั้งโลก พบว่ามีถึง 23% ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลก ที่สามารถป้องกันได้ด้วยการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและเอื้อต่อสุขภาพ

 6 กรกฎาคม 2565