‘บิ๊กเนม’ ระดับรัฐมนตรี-อดีตรัฐมนตรี ร่วมคลุกวงใน ‘สร้างนโยบายสาธารณะ’ ‘นั่งหัวโต๊ะ’ พัฒนาประเด็น เข้าสู่ ‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 15’
12 กรกฎาคม 2565
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

กองบรรณาธิการ...

ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) หรือบอร์ดสุขภาพของประเทศ ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 11 .. 2565 ได้รับทราบความคืบหน้าการจัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 15-16” โดยเฉพาะประเด็นที่จะนำไปสู่การพัฒนาเพื่อจัดทำเป็นระเบียบวาระที่จะเข้าสู่การพิจารณาในงานสมัชชาสุขภาพฯ ปลายปีนี้ 


ชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ประธานคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) ครั้งที่ 15-16 .. 2565-2566 กล่าวรายงานต่อที่ประชุมว่า ขณะนี้มีการทาบทามคณะทำงานพัฒนาประเด็น จำนวน 3 ประเด็น เพื่อจัดให้เป็นระเบียบวาระสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 15-16 


สำหรับประเด็นแรกคือ การขับเคลื่อนแพลตฟอร์มเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลสถิติการออกกำลังกาย และการเล่นกีฬาของประชาชน ภายใต้แนวคิดโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ที่จะมี นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานพัฒนาประเด็น ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลประชาชนขนาดใหญ่ของประเทศเกี่ยวกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย แต่ไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ทางสุขภาพอย่างเดียว หากแต่จะมีผลต่อเศรษฐกิจใหม่แบบ BCG ซึ่งจะช่วยต่อยอดพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จากฐานข้อมูลสุขภาพของประชาชนคนไทยได้ 


ประเด็นนี้เป็นวิธีคิดแบบใหม่ ที่เราจะเอาฐานข้อมูลประชาชนมา เพื่อต่อยอดแนวคิดเศรษฐกิจแบบใหม่ ขณะเดียวกัน ประชาชนฐานรากก็ต้องได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ด้วย โดยเป็นข้อมูลที่จะช่วยพัฒนาทางกาย ทางใจให้กับคนไทยอย่างถูกต้องผ่านการออกกำลังกายและเล่นกีฬา ไม่ใช่เป็นการนำฐานข้อมูลประชาชนไปใช้เพื่อนายทุนในการดำเนินธุรกิจเพียงอย่างเดียว ชาญเชาวน์ อธิบาย


ประเด็นถัดมาคือ หลักประกันรายได้พื้นฐานถ้วนหน้า หรือบำนาญถ้วนหน้า ซึ่งจะมี นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) และ อดีต รมช.สธ. มาเป็นประธานพัฒนาประเด็น และยังได้ นพ.ภูษิต ประคองสาย เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ เป็นเลขานุการคณะทำงานด้วย โดยประเด็นนี้มีความสำคัญในการสร้างคุณภาพชีวิตระยะยาวให้กับประชาชนในรูปแบบสังคมสวัสดิการ ที่ประชาชนคนไทยทุกคนควรจะมีบำนาญในช่วงบั้นปลายของชีวิต ไม่กระจุกประโยชน์อยู่แค่เพียงข้าราชการเพียงอย่างเดียว 


รายละเอียดเบื้องต้นคือเป็นการออมเงินอย่างถูกต้อง มีแบบแผนและมีการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ช่วงวัยเกษียณของคนไทยมีรายได้ และไม่มีผลกระทบต่อระบบสุขภาพในการดูแลรักษาร่างกายมากนักชาญเชาวน์ ระบุ


ประเด็นท้ายสุดคือ การขจัดความยากจนตามโมเดล BCG การยกระดับเศรษฐกิจครัวเรือน โดยได้ประสานไปยังกระทรวงมหาดไทย (มท.) เพื่อขอให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยมาเป็นหัวหน้าทีม เพราะรัฐบาลเองก็มีนโยบายสำคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจนของคนทั้งประเทศ ซึ่งมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรับหลักการแก้ไขปัญหานี้แล้ว ประเด็นนี้มีความท้าทายอย่างมาก ในการเอาปัญหาที่ยากที่สุดมาแก้ไข และน่าสนใจว่าประชาชนจะเข้าไปมีส่วนร่วมได้อย่างไรกับการแก้ปัญหาความยากจน


การได้มาซึ่ง 3 ประเด็นที่เป็นกรอบการพัฒนาร่วมกันของประชาชนคนไทยนั้น อยู่ภายใต้หลักการในการพัฒนาเพื่อนำไปสู่นโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม 4 ทิศทาง คือ 1. ใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น เป็นกระบวนการหลักในการพัฒนาทิศทางนโยบายสาธารณะ 2. แสวงหาการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของหน่วยงานผู้กำหนดนโยบาย ในโครงการการพัฒนาประเทศ 

3. มุ่งสร้างฉันทามติ หรือหาความเห็นร่วมต่อกรอบทิศทางนโยบายสาธารณะที่พัฒนาขึ้น รวมทั้งการแสดงออกซึ่งความตั้งใจที่จะมีบทบาทร่วมขับเคลื่อน 4. เน้นความยืดหยุ่นในการจัดกระบวนการและการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติให้เหมาสมตามสถานการณ์ และบริบทแวดล้อม


กระบวนการทำงานจากการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนของสังคมทั้ง 3 ประเด็นได้เริ่มแล้ว ทั้งการลงพื้นที่ไปหาประชาชน ไปหาหน่วยงาน ให้เขารู้จักกระบวนการสมัชชาสุขภาพ ซึ่งเมื่อถึงเดือนธันวาคม 2565 ที่เป็นวันประชุมสมัชชาสุขภาสพแห่งชาติ เราจะมาคุยกันอีกครั้งว่าแต่ละประเด็นเดินไปถึงไหน ซึ่งหากเคาะเป็นมติร่วมกันได้ก็ดำเนินการได้เลย แต่เชื่อว่าคงไม่จบ และอาจจะต้องมีการพัฒนาทั้ง 3 ประเด็นกันต่อในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 16 ต่อไปประธาน คจ.สช. กล่าว


ประธาน คจ.สช. กล่าวอีกว่า คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ยังคงเปิดรับประเด็นสาธารณะจากทุกภาคส่วนอยู่ ซึ่งยังเปิดกว้างเสมอสำหรับคนที่ต้องการหยิบยกประเด็นเพื่อเข้าสู่กระบวนการทำงานร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ตลอดการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติทั้ง 14 ครั้งที่ผ่านมา เราจะเห็นว่าแต่ละนโยบายจะมีทั้งขาขึ้น และขาเคลื่อนที่อยู่คนละมิติกัน หมายความว่าสมัชชาสุขภาพจะต้องทำงาน 2 ครั้งเมื่อผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไปแล้ว แต่ความแตกต่างครั้งนี้ หัวหน้าทีมที่เป็นรัฐมนตรี หรือหน่วยงานที่เกี่ยข้องแต่ละประเด็นที่สำคัญเข้ามาเป็นเจ้าภาพหลัก หรือเข้ามาร่วมพัฒนาประเด็น ก็จะทำให้ทั้งนโยบายสาธารณะที่เป็นทั้งขาขึ้น และขาเคลื่อนได้ดำเนินการพร้อมกันเลย