‘นพ.ประทีป’ ประกาศความร่วมมือ สวรส. สช.พร้อมสานพลังสร้างสุขภาวะ บน 5 ความท้าทายแห่งทศวรรษ กับการผลักดัน ‘สิทธิมนุษยชนใหม่’
19 กรกฎาคม 2565
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

นับเป็นท่วงทำนองที่น่าสนใจ เมื่อสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ประกาศความร่วมมือกับ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เพื่อสร้างความเท่าเทียมและความเป็นธรรมด้านสุขภาพ


การประชุมวิชาการ 30 ปี สวรส. “ก้าวสู่ทศวรรษที่ 4 สวรส. รวมพลังเพื่อสุขภาพคนไทยเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2565 มีการพูดถึงเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง หนึ่งในนั้นคือมุมมองจาก นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ 


นพ.ประทีป ได้ฉายภาพให้เห็นว่า สวรส. เป็นหน่วยงาน ต้นน้ำ ของระบบสาธารณสุขประเทศไทย มีภารกิจทำงานวิจัย การสร้างองค์ความรู้เชิงระบบ จนทำให้เกิดหน่วยงานและระบบงานที่จะรองรับปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อนมากขึ้น ตลอดจนการประเมินผลในนโยบายด้านสุขภาพต่างๆ ที่มีผลต่อคนทั้งประเทศ เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์และปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม


นั่นคือรากฐานที่ทำให้ระบบสาธารณสุขของประเทศไทยได้รับการยอมรับในระดับโลก และอยู่ในลำดับต้นๆ ที่มีการวางระบบได้ดีที่สุด 


นพ.ประทีป อธิบายต่อไปว่า การขับเคลื่อนของ สวรส. ในฐานะต้นน้ำ ยังประโยชน์ให้เกิด สช. ขึ้นมาทำหน้าที่ กลางน้ำ ต่อ ด้วยการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยเชิงระบบของ สวรส. มาขับเคลื่อนนโยบายโดยมีฐานมาจากประชาชน เครือข่าย และสมาชิกสมัชชาสุขภาพในทุกระดับ เพื่อให้คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนเกิดขึ้นอย่างองค์รวมทั่วประเทศ 


สำหรับความร่วมมือในทศวรรษต่อไประหว่าง สวรส. กับ สช. “นพ.ประทีปมองว่า ยังมีความท้าทายอย่างน้อย 5 เรื่อง ประกอบด้วย

1. ระบบสุขภาพหลังวิกฤติโควิด 19 จะเป็นอย่างไร จะเดินหน้าอย่างไร ระบบบริการปฐมภูมิทั้งเขตเมือง ชนบท และกลุ่มเปราะบางจะเดินหน้ากันอย่างไร 


2. การลดความเหลื่อมล้ำ และการสร้างความเป็นธรรมในสังคม จะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไรบ้าง  


3. ระบบรองรับสังคมผู้สูงวัย รวมถึงโครงสร้างประชากร ที่เปลี่ยนแปลงไป 


4. เทคโนโลยี และรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป บทบาทของคนรุ่นต่อไป ที่มีความต้องการแตกต่างจากเดิม จะผนึกกันได้อย่างไร 


5. ความเข้มแข็งของชุมชน ทั้งในเขตเมือง และชนบท รวมถึงการมีส่วนร่วมในการรับมือกับวิกฤติสุขภาพ หรือวิกฤติด้านอื่นๆ


นพ.ประทีป ย้ำว่า สวรส. จะเข้ามามีบทบาทในการสร้างองค์ความรู้เชิงระบบ บูรณาการทางด้านสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ รวมถึงภาคการเมืองในอนาคต รวมถึงการสร้างองค์ความรู้เพื่อการแก้ปัญหาสุขภาพข้างหน้า เช่น เรื่องประชากร สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ และ Digital health policy 


ที่สำคัญคือ การสร้างองค์ความรู้ในมิติของพื้นที่ ประชาชน เพื่อรองรับการเจริญของชุมชนและท้องถิ่นทั่วประเทศอย่างเท่าเทียมกัน 


แขนซ้ายของ สช. จะทำหน้าที่สนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชนพื้นที่ และคุ้มครองด้านสุขภาพของประชาชนที่ถูกกำหนดโดยกฎหมายของ ...สุขภาพแห่งชาติ .. 2550  แขนขวาของเราจะเน้นการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม และเป็นที่ปรึกษารัฐบาลด้านสุขภาพ ผ่านเครื่องมือและกลไกในพ...สุขภาพแห่งชาติ และ สช. ก็จะพัฒนาและขับเคลื่อนประเด็นด้านสุขภาพของประเทศ โดยร่วมกับภาคียุทธศาสตร์หลายหน่วยงาน ซึ่ง สวรส. จะเป็นอีกกลไกหลักในการทำงานร่วมกันนพ.ประทีป ระบุ


อีกประเด็นสำคัญที่นพ.ประทีปได้พูดถึง เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชนเพื่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี คือการวางแผนการทำงานร่วมกันระหว่าง สวรส. สช. เชื่อมไปยังสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ในประเด็นการอยู่อาศัยภายใต้สภาพแวดล้อมที่ดี ที่เป็นมิตรกับสุขภาพ ที่จะถือว่าเป็นสิทธิมนุษยชนที่ต้องเกิดขึ้น 


นพ.ประทีป บอกว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council: UNHRC) ได้มีมติที่ 48/13 “recognizing that a clean, healthy and sustainable environment is a human right” ซึ่งสอดคล้องกับ มาตรา 5 แห่ง ...สุขภาพแห่งชาติ .. 2550 ที่ระบุว่าบุคคลมีสิทธิในการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ


ประเด็นการได้อยู่อาศัยภายใต้สภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ เพิ่มเติมคุณภาพชีวิต จะต้องถือเป็นสิทธิมนุษยชนที่คนไทยทุกคนจะต้องได้รับ และถือเป็นมติของสหประชาชาติเห็นตรงกัน และยังตรงกับมาตรา 5 แห่งพ...สุขภาพแห่งชาติฯ ที่ระบุว่า บุคคลมีสิทธิ์ในการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ เรื่องนี้เราต้องทำให้เกิดขึ้นในอนาคตให้ได้นพ.ประทีป ทิ้งท้าย 


... กองบรรณาธิการ Health Station