'เพชรบูรณ์' ลุย 3 ประเด็นสุขภาวะ ด้าน ‘อาหาร-กลุ่มวัย-ไร้ภัยสุขภาพ' สะท้อนการทำงานผ่านพื้นที่ต้นแบบ ร่วมขับเคลื่อนเป้าหมาย 'กขป.เขต 2'

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

กขป.เขต 2 จัดเวทีสานพลัง แลกเปลี่ยน-นำเสนอ 3 ประเด็นขับเคลื่อนสุขภาวะด้าน "อาหารปลอดภัย ทุกช่วงวัยสุขภาพดี ไร้ภัยคุกคามสุขภาพพื้นที่ .เพชรบูรณ์ พร้อมวางแผนแนวทางการดำเนินงาน-สร้างขวัญกำลังใจ


คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) เขตพื้นที่ 2 จัดเวทีสานพลัง "อาหารปลอดภัย ทุกช่วงวัยสุขภาพดี ไร้ภัยคุกคามสุขภาพเมื่อวันที่ 26 .. 2565 ที่ห้องประชุมสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย .เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นการสานพลังการขับเคลื่อนเครือข่ายในระดับพื้นที่ บนประเด็นที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนของ กขป.เขต 2 คือ ประเด็นเรื่องของอาหารปลอดภัยบนฐานทรัพยากร ประเด็นสุขภาวะทุกช่วงวัย และประเด็นไร้ภัยคุกคามสุขภาพ


สำหรับเวทีดังกล่าว ยังเป็นการให้เครือข่ายที่เป็นบุคคลต้นเรื่อง พื้นที่ต้นแบบ ที่เกิดจากกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะโดยสมัชชาสุขภาพจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้นำเสนอผลการดำเนินการใน 3 ประเด็น อีกทั้งเป็นการสรุปผลการดำเนินการในพื้นที่นำเสนอต่อการจัดงานสมัชชาสุขภาพจังหวัด พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วางแผนแนวทางการดำเนินงาน และสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้รับผิดชอบดำเนินการประเด็นต่างๆ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 120 คน


ผศ.ดร.จินตนา สนามชัยสกุล ในฐานะผู้ขับเคลื่อนประเด็นเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัย เปิดเผยว่า ประเด็นเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัย .เพชรบูรณ์ ได้มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้กระจายทั้งจังหวัด ศึกษาบริบท ปัญหา ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งข้อมูลการบริหารจัดการกลุ่ม การผลิต การตลาด จุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหาความต้องการ ซึ่งผลการประเมินโดยคณะกรรมการที่ลงพื้นที่ ได้พบกลุ่มที่เหมาะสมในการเป็นต้นแบบ 4 กลุ่ม


ทั้งนี้ ประกอบด้วย 1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านวังร่อง .หล่มสัก 2. กลุ่มเกษตรอินทร์บ้านริมสีม่วง .เขาค้อ 3. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรร่วมใจนางั่ว .เมืองเพชรบูรณ์ 4. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพขยายพันธุ์ไม้ผลไม้ดอก .วิเชียรบุรี และมีกลุ่มดาวรุ่ง 1 แห่ง คือ กลุ่มอินทรีย์นาป่า .เมืองเพชรบูรณ์


อย่างไรก็ตามในส่วนปัญหาและความต้องการที่พบ คือขาดองค์ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ การแปรรูป รวมถึงการขาดตลาดรองรับ ไม่มีมาตรฐาน ขายไม่ได้ราคา ซึ่งในการขับเคลื่อนได้มีการประสานงานกับหน่วยงานที่จัดอบรม ด้านเกษตรอินทรีย์และการแปรรูป จากพาณิชย์จังหวัด และมหาวิทยาลัยราชภัฎ โดยแนะนำให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม หนุนเสริมให้กลุ่มเปิดตลาดในชุมชน ศึกษาดูงานที่ตลาดไทย เชิญเจ้าหน้าที่ตลาดไทยมาให้ข้อมูลกลุ่ม ออกตลาดในงาน Road Show ที่พาณิชย์จังหวัดจัดขึ้น ตลอดจนศึกษาข้อมูลการทำ GAP กับหน่วยงานที่รับรองมาตรฐาน


ขณะที่ ดร.ดลรวี สิมคำ หัวหน้างานพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิและสนับสนุนเครือข่าย โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ ในฐานะผู้ขับเคลื่อนประเด็นภัยคุกคามสุขภาพ ได้กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่ .เพชรบูรณ์ ระบุว่า ได้มีการระดมสรรพกำลัง ความรู้ความสามารถ และทรัพยากรในการจัดการกับวิกฤติดังกล่าว ด้วยความร่วมแรงร่วมใจจากทุกภาคส่วน ทำให้สามารถ ก้าวผ่านสถานการณ์วิกฤติมาได้ในทุกระลอกของการระบาด


ขณะเดียวกัน จะต้องเร่งจัดทำแผนและมาตรการเชิงรุกให้ครอบคลุมทุกมิติตามระดับสถานการณ์ ทั้งด้านสาธารณสุข ด้านการแพทย์ ด้านกฎหมายและสังคม ด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ด้วยการปรับการบริหารจัดการโรคโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่น ซึ่งมีปัจจัยสำคัญ คือ การเพิ่มความครอบคลุมในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน ประกอบกับความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค ทั้งระดับบุคคลและองค์กรเป็นอย่างดี อันจะช่วยป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ตลอดจนลดความรุนแรงและการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19


ดร.ดลรวี กล่าวว่า รพ.เพชรบูรณ์ ยังได้ร่วมกับทีมสมัชชาประเด็นพลเมืองตื่นรู้ช่วยชาติสู้ภัยโควิด-19 จัดประชุมในการจัดทำแผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่น (Endemic Approach to COVID-19) เพื่อหวังให้ประชาชนจะกลับมาดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับโควิดได้ ภายใต้การใช้ชีวิตวิถีปกติใหม่ เพิ่มคุณค่าทางสังคมและเศรษฐกิจให้กับประชาชนและประเทศ เดินหน้าขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย “ประชาชนปลอดภัย เศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง ประเทศไทยแข็งแรง


ด้าน นายสมชาย นาวิชา ข้าราชการบำนาญ ในฐานะผู้ขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะทุกช่วงวัย หรือประเด็นผู้สูงอายุ กล่าวว่า ในส่วนของคณะทำงานจัดทำข้อมูลสถานการณ์ ศึกษานโยบายระดับจังหวัด ได้จัดเวทีทำความเข้าใจแนวคิดสังคมสูงวัย ร่วมกับภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับจังหวัด มีการรับฟังข้อคิดเห็น สร้างความเห็นร่วม รวมถึงจัดเวทีสมัชชาสุขภาพเพื่อนำเสนอประเด็น ถอดบทเรียนร่วมกัน และเพื่อพัฒนาเป็นวาระจังหวัด


พร้อมกันนี้ได้มีการประสานคัดเลือกพื้นที่ที่มีความพร้อมในการดำเนินการ จำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่ .วังบาล .หล่มเก่า.ท่าอิบุญ .หล่มสัก.ปากช่อง .หล่มสัก และ .ดงขุย .ชนแดน ซึ่งได้ร่วมกันขับเคลื่อนและพัฒนากระบวนงานทำความดีร่วม จนกระทั่งได้จดทะเบียนเป็น "สมาคมโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเพชรบูรณ์ขึ้นในปี 2561 ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนางานผู้สูงอายุกันอย่างกว้างขวาง และมีการประกาศใช้ "ธรรมนูญสุขภาพสังคมสูงวัยในพื้นที่จนเป็นที่ประจักษ์ทั้งในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ


สำหรับเวทีสานพลังในครั้งนี้ ยังมีผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม อาทิ นายบัณทิต มั่นคง ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.), ดร.สมชาย เผือกตระกูลชัย ประธานสมัชชาสุขภาพจังหวัด...สุขสัณห์ ภิชัย รองประธาน กขป.เขต 2 ในฐานะประธานคณะทำงานสื่อสารประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วยสื่อมวลชนแขนงต่างๆ จาก 5 จังหวัด ได้แก่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ รวมทั้งคณะทำงานเข้าร่วม

 28 กรกฎาคม 2565