'ขยะดีมีค่า' แลกของกินของใช้ ศูนย์ FLEC ติว 'แรงงานข้ามชาติ' สร้างชุมชนต้นแบบ คัดแยกขยะ ร่วมสร้างสุขลักษณะ-ลดค่าใช้จ่าย

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

ศูนย์ FLEC ผนึกเอกชนผุดโปรเจกขยะดี มีค่าสอนแรงงานข้ามชาติพร้อมครอบครัวคัดแยกขยะ เอาไปแลกสินค้าได้ พร้อมให้มีส่วนสร้างชุมชนต้นแบบร่วมกับคนในพื้นที่ แก้ปัญหาขยะชายฝั่ง-ทะเล


..นาตยา เพชรรัตน์ ผู้จัดการศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา และกรรมการศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา (Fishermen Life Enhancement Center หรือ ศูนย์ FLEC) เปิดเผยว่า ได้ร่วมจัดโครงการขยะดี มีค่าเพื่ออบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง เข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนขยะให้เป็นของมีค่า แก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ แกนนำแรงงานข้ามชาติและครอบครัว รวมถึงคณะครูและนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 .เมือง .สงขลา


สำหรับโครงการนี้จะมุ่งเน้นไปที่การสร้างความรู้ ความเข้าใจการคัดแยกขยะ และการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ประโยชน์จากขยะในชุมชน พร้อมนำร่องจัดกิจกรรมรับแลกขยะเพื่อนำขยะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ส่งเสริมให้แรงงานประมงเห็นคุณค่าของขยะ มีส่วนร่วมช่วยกันจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง นำไปสู่การสร้างสุขลักษณะที่ดี และการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน






..นาตยา กล่าวว่า กิจกรรมขยะดี มีค่า ได้รับความสนใจจากแรงงานข้ามชาติและครอบครัว ที่นำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปคัดแยกขยะที่รีไซเคิลได้ประเภทต่างๆ อาทิ ขวดพลาสติก กระดาษลัง ขวดแก้ว อะลูมิเนียม นำมาแลกกับสินค้าบริโภคที่จำเป็น เช่น น้ำมันพืช น้ำปลา ปลากระป๋อง สบู่ โดยกิจกรรมรับแลกขยะที่จัดขึ้นครั้งแรก ศูนย์ FLEC สามารถรวบรวมขยะที่รีไซเคิลได้ถึง 500 กิโลกรัม และนำรายได้จากการจำหน่ายขยะมาใช้เป็นทุนในการดำเนินโครงการต่อไป


ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง ศูนย์ FLEC ซีพีเอฟ และ บริษัท จีอีพีพี สะอาด สตาร์ทอัพไทยที่เชี่ยวชาญชำนาญจัดการขยะ โดยมีเป้าหมายสร้างการมีส่วนร่วมของแรงงานข้ามชาติในการแก้ปัญหาขยะชายฝั่งและขยะทะเล รวมถึงบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ ครูและนักเรียนได้มีความรู้และเข้าใจการคัดแยกขยะถูกต้อง เปลี่ยนขยะให้มีค่า


พร้อมกันนี้ ศูนย์ FLEC จะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ดำเนินการรับแลกและจดบันทึกปริมาณขยะที่รวบรวมได้ และขยายเครือข่ายพันธมิตรในการสร้างมูลค่าจากขยะ เพื่อนำไปสู่การเป็นต้นแบบชุมชนแรงงานประมงข้ามชาติที่มีการจัดการขยะแบบครบวงจร และขยายผลยังชุมชนบริเวณรอบๆ ท่าเทียบเรือประมง และชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดสงขลาต่อไป



 29 กรกฎาคม 2565