'พิจิตร' ร่วมใจ 'สมัชชาบวร' ออกนโยบายสาธารณะ 3 ช่วงวัย ประกาศเป็นแผนงานด้านสุขภาพ สร้างสุขภาวะที่ดี-ไม่ทอดทิ้งใคร

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

การขับเคลื่อนงานสมัชชาสุขภาพพื้นที่ .พิจิตร ในห้วงเวลาที่ผ่านมา นับได้ว่าเกิดดอกผลความสำเร็จที่เห็นได้อย่างชัดเจน เพราะเครือข่ายประชาชนในพื้นที่ทุกกลุ่มวัย ควบรวมไปกับหน่วยงานรัฐ เข้ามาร่วมกันเชื่อมร้อยบูรณาการงานสุขภาวะอย่างองค์รวม


ทั้งประเด็นผู้สูงอายุ/สังคมสูงวัย ประเด็นเกษตร (วัยแรงงาน) ประเด็นเด็กและเยาวชน และเรื่องสุขภาวะพระสงฆ์ เหล่านี้อยู่บนความคาดหวังที่จะทำให้คนทุกช่วงวัยของ .พิจิตร ได้มีสุขภาวะที่ดี และเพิ่มเติมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับตัวเองผ่านกลไกด้านสุขภาพที่ขับเคลื่อนร่วมกัน


การขับเคลื่อนดังกล่าว ถูกเรียกว่า สมัชชาบวรร่วมใจ สร้างสุขภาวะพระสงฆ์ สังคม 3 วัยไม่ทอดทิ้งกัน จังหวัดพิจิตร ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 4 และล่าสุดในวันที่ 4 ..2565 เครือข่ายชาวพิจิตรทุกช่วงวัยได้ร่วมกันประกาศนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมจังหวัดพิจิตรและแผนการดำเนินงานแต่ละประเด็น ซึ่งเป็นนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพที่มาจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน






นโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมของ .พิจิตร ถูกแจกแจงเป็นแผนดำเนินงานแต่ละประเด็นร่วมกันอย่างชัดเจน เริ่มจาก


ประเด็นที่ 1 สุขภาวะพระสงฆ์ พระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเป็นสุข ด้วยธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ มีสาระสำคัญ เช่น มีการขับเคลื่อนงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนคณะสงฆ์ 6 ด้าน ประกอบด้วย 1. โครงการ ชุมชนคุณธรรม ขับเคลื่อนด้วยพลัง "บวร" 2. โครงการ "วัด ประชารัฐ สร้างสุข" 3. โครงการ "หมู่บ้านรักษาศีล 5" 4. โครงการ "หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ..." 5. โครงการ "พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล อสว." "พระศิลานุปัฏฐาก” 6. โครงการ "ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพวิถีพุทธ" และ การขับเคลื่อนงานด้วยธรรมนูญพระสงฆ์ระดับพื้นที่ เพื่อเป็นกรอบ ทิศทาง หรือข้อตกลงร่วม หรือ กรอบกติการ่วมที่พระสงฆ์ คณะสงฆ์ชุมชน สังคม และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ใช้เป็นกรอบ แนวทางในการพัฒนาสุขภาวะในระดับพื้นที่


ประเด็นที่ 2 การเตรียมความพร้อมสู่ระบบรองรับสังคมสูงวัยด้วยพลังบวร สร้างคน 3 วัย ไม่ทอดทิ้งกัน สาระสำคัญ เช่น เชื่อมประสานภาคีเครือข่ายให้มีการขับเคลื่อนในรูปแบบของพลังบวร (บ้าน-วัด-ราชการ) ในกระบวนการเวทีสัญจรผู้สูงอายุระดับอำเภอ เพื่อลงไปดูแลในพื้นที่ตำบล หมู่บ้าน เป็นการสร้างสังคม ไม่ทอดทิ้งกัน และสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการดำเนินงานภายใต้กิจกรรม 4 มิติ ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม มิติด้านสุขภาพ และมิติด้านสุขภาพ


ประเด็นที่ 3 การยกระดับกลุ่มเกษตรปลอดภัยจังหวัดพิจิตรสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตร สาระสำคัญ เช่น การดำเนินตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมการออม ส่งเสริมให้มีการสร้างเศรษฐกิจในชุมชน รวมถึงให้มีการพัฒนามาตรฐานผลผลิตสินค้าการเกษตรต่างๆ เช่น PGS GAP มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และยกระดับให้เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการเกษตร มีการเชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรทั้งภายใน และภายนอกจังหวัดเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และทรัพยากร เป็นต้น


ประเด็นที่ 4 สานพลัง บวร ร่วมใจ สร้างเด็กพิจิตรเติบใหญ่อย่างมีคุณภาพ สาระสำคัญ เช่น  สนับสนุนให้มีการประสานกับเครือข่ายคน 3 วัยในชุมชน เพื่อร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมที่เหมาะสมแก่เด็กและเยาวชน และสนับสนุนการพัฒนาทีมนักสื่อสาร ช่องทางการสื่อสารและรับสาร สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนใช้ เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารเรื่องราวดีๆ ของเครือข่ายเด็กและเยาวชนทางเฟสบุ๊ค/ไลน์ เป็นต้น


การประกาศนโยบายสาธารณะของ .พิจิตร ครั้งนี้ เป็นการแสดงออกถึงพลังของประชาชนที่ร่วมกันทำนโยบายสาธารณะที่เป็นกฎกติการ่วมกันในสังคม ที่ลานวัดท่าช้าง บางมูลนาก จึงเต็มไปด้วยเครือข่ายที่มาร่วมกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง ทั้งหน่วยงานรัฐและประชาชน ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) ทุกอำเภอ วัฒนธรรมจังหวัด เครือข่ายผู้สูงอายุ เครือข่ายเด็กและเยาวชน ชมรมผู้สูงอายุ อสม.




ที่สำคัญ ยังมีปาฐกถาจาก นายเกษม วัฒนชัย องคมนตรี ที่มุ่งเน้นให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมสร้างสุขภาวะพระสงฆ์ กับสุขภาวะคน 3 วัย โดยสิ่งสำคัญต้องเริ่มจากแนวคิดบวรคือ ความเชื่อมโยงบ้าน วัด โรงเรียน แต่ปัจจุบันมีโรงเรียนพระปริยัติธรรมอยู่มาก แต่มีเด็กมาเรียน มาบวชเรียนน้อยลง ส่งผลให้การดำรงอยู่ทางศาสนาเริ่มสั่นคลอน แต่ยังมีเด็กอีกมากที่เข้าไม่ถึงการศึกษา ทั้งเด็กยากไร้ เด็กยากจน วัดจะมีส่วนช่วยอย่างไร อีกทั้ง ที่มาของ เรือควรเป็นมากกว่าโรงเรียน คือ โรงพยาบาลและราชการ ที่ปรับมามีบทบาทในการเกื้อหนุนชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


การจัดสมัชชาสุขภาพจังหวัดพิจิตร เป็นกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม เป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะทำให้เกิดการแลกเปลียนเรียนรู้กัน โดยไม่ต้องเรียนรู้ใหม่ ใช้การแลกเปลี่ยนกับเพื่อน เป็นการเติมความรู้ซึ่งกันและกันนายเกษม กล่าว

 7 สิงหาคม 2565