HIA ฟังเสียงประชาชน สร้างสมดุลการพัฒนา กรณีศึกษา 'โรงไฟฟ้าชีวมวล' อีสาน

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ หรือ HIA เป็นเครื่องมือตาม ...สุขภาพแห่งชาติ .. 2550 ที่มีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วม สร้างสมดุลระหว่างสิทธิชุมชนกับการพัฒนา ตลอดจนคลี่คลายข้อพิพาทที่อาจจะเกิดขึ้นจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่


นั่นเพราะการเกิดขึ้นของโครงการพัฒนาย่อมมีโอกาสสร้างผลกระทบให้กับคนในพื้นที่ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ กระบวนการการมีส่วนร่วมบนพื้นฐานของวิชาการจะช่วยสร้างทางเลือกในการพัฒนาที่อาจจะมีมากกว่า 1 ได้ 


HIA เป็นเครื่องมือที่มีกฎหมายรองรับ และผ่านการพิสูจน์มาแล้วว่า ใช้ได้จริง 


หนึ่งในกรณีตัวอย่างที่นำ HIA มาใช้และได้ผลสำเร็จ คือ การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากชีวมวลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้รับการหยิบยกมาพูดคุยในการประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA Forum) ..2565 ภายใต้หัวข้อ “HIA สู่การสร้างสังคมสมานฉันท์และการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8-9 ..ที่ผ่านมา ที่ .ขอนแก่น


วลัญช์ชยา เขตบำรุง นักวิชาการจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล เป็นหนึ่งในคณะทำงานภาควิชาการ ที่ร่วมกันกับภาควิชาการจากหลายมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคม ในนการขับเคลื่อนเรื่องนี้


--- บริบทของพื้นที่ กับการนำภาคอีสานสู่ทิศทางไบโอฮับ” ---


วลัญช์ชยา เปิดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยการฉายภาพพื้นที่ภาคอีสาน ที่มีนโยบายจากรัฐบาลในการผลักดันให้ภาคอีสานเป็นไบโอฮับหรือศูนย์กลางฐานการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยมียุทธศาสตร์อ้อยและนํ้าตาล ตั้งแต่ปี 2558-2569 โดยมีเป้าหมายคืออ้อยที่จะถูกใช้เป็นวัตถุดิบของการผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่วางเป้าว่าจะต้องมีพื้นที่เพาะปลูกในอีสานทั้ง 20 จังหวัด รวม 6 ล้านไร่ในปี 2569 ซึ่งรัฐบาลมองว่าจะเป็นรายได้สำคัญของคนอีสานที่จะได้ลืมตาอ้าปาก และหนีหายจากความยากจนไปเสียที 


จากนโยบายดังกล่าว ยังผลให้ชุมชนในภาคอีสาน รวมถึงภาควิชาการ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่างๆ เกิดข้อกังวลถึงปัญหาที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ จึงใช้สิทธิตาม มาตรา 11 ของ ... สุขภาพแห่งชาติ .. 2550 ที่ระบุว่า บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิร้องขอให้มีการประเมินและมีสิทธิร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิได้รับข้อมูลคำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของตนหรือของชุมชน




--- สร้างรายได้ แต่ไม่ได้สร้างความยั่งยืน ---


ข้อมูลของการผลิตไฟฟ้าในอีสาน กำลังการผลิตทั้งหมดทำได้ 3,782 เมกะวัตต์ แบ่งได้เป็น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ 36% หรือคิดเป็น 1,245 เมกะวัตต์ แต่มองมายังการผลิตไฟฟ้าชีวมวล ที่เน้นการเผาซากการเกษตร หรือวัตถุดิบที่ได้จากอ้อย เพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า มีสัดส่วนเพียง 7% ของการผลิตทั้งหมด


คำถามคือ โรงไฟฟ้าชีวมวลมีความจำเป็นต่อสถานการณ์การใช้พลังงานในพื้นที่อีสานหรือไม่ 


วลัญช์ชยา ขยายความว่า รัฐบาลต้องการให้ประชาชนอีสานมีการปลูกอ้อยมากขึ้น และหาตลาดในการจำหน่ายคือการรับซื้อของโรงไฟฟ้าชีวมวล แต่ก็อาจมีผลกระทบในหลายด้าน เช่น อ้อยไม่เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้า การตัดราคาอ้อยของโรงงานรับซื้อ รวมถึงระบบพันธสัญญาที่เกษตรกรกับโรงไฟฟ้าทำร่วมกันภายใต้ระบบโควตาที่ไม่ชัดเจน อาจทำให้เกษตรกรไม่ส่งผลผลิตให้ตามข้อตกลง หากเกิดการแย่งชิงวัตถุดิบในกาผลิตไฟฟ้าเกิดขึ้น 


อีกทั้ง ยังอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่เกษตรกรในอีสานจากเดิมปลูกข้าวทำนา แต่ต้องปรับปรุงพื้นที่เพื่อปลูกอ้อย คันคูที่เคยกั้นน้ำเอาไว้เพื่อปลูกข้าวอาจไม่มีอีกแล้ว และจะทำให้ระบบนิเวศน์ เส้นทางน้ำ มีการเปลี่ยนแปลงและจะมีผลกระทบต่อชุมชน 


"ยังมีอีกหลายปัญหา ทั้งการทำลายแหล่งผลิตอาหาร ที่เคยปลูกข้าวหล่อเลี้ยงผู้คน ฝุ่นพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิตไฟฟ้า การขนส่ง เกิดสารเคมีปนเปื้อนในแหล่งชุมชน สภาพแวดล้อม และสุขภาพของเกษตรกที่ต้องใช้สารเคมีในการเพาะปลูกมากขึ้น"


--- อนุมัติโรงไฟฟ้า โดยไม่มีเสียงของประชาชน ---


วลัญช์ชยา สะท้อนอีกว่า การอนุมัติ อนุญาตให้มีโรงไฟฟ้าชีวมวล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตัดสินใจโดยไม่มีข้อมูลรายงาน HIA อีกทั้งยังพบว่าไม่มีการบูรณาการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขณะที่คณะกรรมการติดตามทิศทาง และเฝ้าระวัง ตรวจสอบผู้ที่ได้รับผลกระทบยังมีสัดส่วนที่น้อย อาจส่งผลให้ไม่เกิดการติดตามผลกระทบของกิจกรรมที่เกิดขึ้น 


หรือแม้แต่ไม่มีการประเมินความต้องการการใช้ไฟฟ้า และความจำเป็นของในการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้า ซึ่งทั้งหมดเป็นข้อกังวลที่ทำให้ชุมชนกลัวเรื่องมลพิษต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รวมถึงปัญหาด้านสุขภาวะด้วย


อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ภาคประชาชนได้ช่วยกันร่างขอบเขตการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อกังวล และสิ่งที่พบว่าเป็นปัญหา ตามกลไก HIA ที่ได้ผล โดยมีข้อเสนอในประเด็นโรงไฟฟ้าชีวมวลภาคอีสาน ที่หากจะพัฒนา ก็ต้องฟังเสียงของชุมชน คือทบทวนขนาดกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวล กำลังการผลิตตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ และต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์ 


รวมถึงประเมินความต้องการใช้ไฟฟ้า ทางเลือกในการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน และพลังงานหมุนเวียนทั้งในพื้นที่และภาพรวม และศึกษาประเด็นผลกระทบทางด้านมลพิษต่อทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และสุขภาวะ ประกอบการพิจารณาอนุญาตกิจการ 


ที่สำคัญคือภาคประชาชนเองในฐานะเจ้าของพื้นที่ตัวจริง และผู้ที่ได้รับผลกระทบ ก็ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ หรือให้เข้าไปอยู่ในคณะกรรมการกำกับทิศทาง เฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินกิจการอย่างน้อยก็กึ่งหนึ่งของคณะกรรมการทั้งหมด เพื่อช่วยกันเฝ้าระวังปัญหาจากนโยบายสาธารณะ ที่จะมีผลกระทบต่อชุมชนพวกเขาเอง วลัญช์ชยา กล่าว 


--- กลไก HIA นำไปสู่ข้อเสนอแนะ ที่รัฐเพิกเฉยไม่ได้ ---


แม้จะได้ข้อเสนอเชิงนโยบายมาแล้ว แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้ข้อเสนอนั้นไปสู่ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ ซึ่งก็คือรัฐบาลเพื่อให้ตัดสินใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลง กระบวนการดังกล่าวถูกผลักดันในปี 2563 เริ่มจากที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกิดการสนับสนุนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ และข้อค้นพบสำคัญจากการประเมินผลกระทบสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้าชีวมวล มีการจัดเวทีพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม และเวทีนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบาย จากการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพกรณีการผลิตไฟฟ้าพลังงานชีวมวลในอีสาน 


การตกผลึกร่วมกันของทุกภาคส่วน ที่ผ่านการขัดเกลา-ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากพื้นที่ที่ทำกันมาตลอด สช.ได้เห็นถึงความสำคัญของผลกระทบต่อชุมชนที่มาจากนโยบายสาธารณะ ได้เสนอประเด็นดังกล่าวให้คณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ พิจารณานำเสนอต่อไปยังคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน 




วลัญช์ชยา กล่าวเสริมว่า ในรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และมีผลสำเร็จจากบทเรียนของการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของโรงไฟฟ้าชีวมวลในภาคอีสาน ข้อเสนอของภาคประชาชนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามมา


นั่นคือ ให้มีการประเมินสิ่งแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ และวิเคราะห์างเลือกเพื่อจัดทำแผนพัฒนาที่ยั่งยืน ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกระบวนการพิจารณารายงาน EIA, EHIA ปรับวิธีการดำเนินงาน อาทิ ให้มีคณะกรรมการที่เป็นกลไกกลาง จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ให้ผู้มีผลกระทบได้นำเสนอรายงาน HIA และให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) มีการนำรายงานนั้นมาประกอบการพิจารณา รวมถึงให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ได้พิจารณาความเห็นของ คชก.ด้วย


"มากไปกว่านั้น ยังให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ให้นำรายงานHIA CHIA ประกอบการพิจารณาครอบคลุมกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวลตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ และต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์ ทบทวนประเภทขนาดทุก 5 ปีรวมถึงประเมินผลกระทบทุกขนาด และถอดถ่านหินออกจากเชื้อเพลิงสำรอง วลัญช์ชยา ขยายความ 


วลัญช์ชยา กล่าวด้วยว่า กลไกกระบวนการ HIA ที่ออกมาเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากภาคประชาชน เมื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่กำหนดเป็นแนวทางของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็ต้องมีการติดตามผลการดำเนินงาน ซึ่งจากการตลกผลึกของประชาชน ที่สังเคราะห์ข้อเสนอออกมา ได้ถูกส่งต่อให้กับคณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA Commission) เพื่อพิจารณา และถูกเสนอต่อคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในปลายปี 2563 และมีมติที่เห็นพ้องตรงกันให้ สผ.เร่งรัดดำเนินการการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้ครอบคลุมโรงไฟฟ้าทุกขนาด โดยไม่ต้องรอกระบวนการสมัชชาเฉพาะประเด็น เนื่องจากส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนอย่างมาก และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยินดีรับข้อเสนอนโยบาย และหลังจากที่ได้ขับเคลื่อนร่วมกันกับหน่วยงานต่างๆ แล้ว ขอให้มีการรายงานความก้าวหน้า พร้อมระบุถึงปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะให้ คสช. ได้รับทราบ


ทุกกิจกรรมที่เป็นนโยบายของรัฐบาล แน่นอนว่ามีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาตามแนวคิดและนโยบายที่มองลงไป แต่การมองว่าทุกกิจกรรมจะมีผลกระทบ และต้องฟังความคิดเห็นของคนที่เรียกว่าเป็นเจ้าของพื้นที่นั้นๆ อย่างจริงจังว่าสิ่งที่จะพัฒนา ตรงกับความต้องการ หรือมีผลกระทบต่อสุขภาวะของชุมชนหรือไม่ การนำ HIA ที่มีกระบวนการเรียนรู้ด้วยกัน มีส่วนร่วมด้วยกัน และผลักดันนำไปสู่การปฏิบัติเชิงนโยบายร่วมกัน จะทำให้สังคมมีสุขภาวะที่ดี และมีความเจริญที่สร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น และมีความยั่งยืนได้ วลัญช์ชยา ทิ้งท้าย

 11 สิงหาคม 2565