คลายข้อกังวล 'อนาคต พกส.' หลังถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. 'เลอพงศ์' ยัน!แค่เปลี่ยนนายจ้าง 'ชื่อ-สัญญา-เงิน' เหมือนเดิม
22 สิงหาคม 2565
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

ประธานคณะอนุกรรมการบริหารภารกิจถ่ายโอนด้านสาธารณสุขฯ เตรียมขอมติอนุกรรมการฯ ไฟเขียวแนวทางการบริหารงานบุคคลช่วงรอยต่อถ่ายโอน รพ.สตไปยัง อบจ. “เลอพงศ์” เคลียร์ชัดอะไรที่ทำไม่เสร็จ ให้อนุโลมใช้ตาม สธต่อไปก่อน ย้ำ พกสไม่ต้องกังวล แค่เปลี่ยนนายจ้าง ชื่อ-สัญญา-เงิน-ทุกอย่างเหมือนเดิม


นายเลอพงศ์ ลิ้มรัตน์ ประธานคณะอนุกรรมการบริหารภารกิจถ่ายโอนด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เปิดเผยในงานเวทีเสวนา “ความสำคัญของระบบสุขภาพท้องถิ่น” ซึ่งอยู่ภายใต้การอบรมหลักสูตร “การจัดการระบบสุขภาพท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม” ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เมื่อวันที่ 19 .. 2565 ว่า ขอยืนยันว่าขณะนี้ตัวเลขการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) รอบแรก มีจำนวนทั้งสิ้น 3,264 แห่ง รวมถึงบุคลากรที่เป็นข้าราชการประมาณ 1.2 หมื่นราย ซึ่งทั้งหมดนี้ผ่านการแปรญัตติเป็นที่เรียบร้อยทั้งหมดแล้ว



นายเลอพงศ์ กล่าวว่า ในส่วนของงบประมาณก็มีความเรียบร้อย โดยเงินเดือนบุคลากรได้ย้ายไปอยู่กับ อบจ.แล้ว และงบประมาณก็มาแล้ว เช่นเดียวกับงบ S M L ที่ขณะนี้ก็มาแล้วเช่นกัน อย่างไรก็ดีหากพิจารณาตามแนวทางการกระจายอำนาจ ยืนยันว่ามีเป้าประสงค์อยากให้งบ S M L อยู่ที่ 1 ล้าน 1.5 ล้าน และ 2 ล้านตามลำดับ แต่ด้วยสภาวะเศรษฐกิจและระบบการเงินของประเทศ รวมไปถึงงบประมาณที่ รพ.สตจำนวน 512 แห่งแรก ที่มีการถ่ายโอนไปก่อนหน้านี้ได้รับ อยู่ที่ 4 แสน 6.5 แสน และ 1 ล้านบาท ฉะนั้น รพ.สตที่เหลืออีกกว่า 2,700 แห่ง ก็จะได้งบประมาณในระดับเดียวกัน


รพ.สตอีกกว่า 2,700 กว่าแห่ง ที่รวมแล้วเป็น 3,264 แห่ง ก็คงจะได้ประมาณนั้น ไม่สามารถดึงยอดให้เต็มได้ สรุปว่า รพ.สตทั้ง 3,264 แห่งที่ได้รับการถ่ายโอนฯ จะมีสถานะเท่ากัน ไม่มีเหลื่อมล้ำ และจะมาพร้อมกัน” นายเลอพงศ์ กล่าว


นายเลอพงศ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้มีหลาย อบจที่เป็นห่วงเรื่องพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.) โดยเมื่อวันที่ 18 .ที่ผ่านมา คณะทำงานด้านบุคคลได้พูดคุยและจะมีข้อเสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารภารกิจฯ ในวันที่ 22 ..นี้ ใน 2 แนวทาง อย่างไรก็ดีส่วนตัวเห็นว่า แนวทางที่จะช่วยให้ทำงานได้ง่ายที่สุด คือการใช้แนวทางที่เขียนไว้ในคู่มือการถ่ายโอน ที่ระบุว่า หากอะไรที่แก้ไม่เสร็จไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ฯลฯ อนุโลมให้ใช้ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ต่อไปได้


พูดง่ายๆ ว่า พกสเราจะมีมติให้ดำเนินการให้จ้างเหมือนเดิม ชื่อก็เหมือนเดิมไปก่อน ยังไม่ต้องแก้ จ้าง พกสไปก่อน และก็จ้างโดยหมวดเงินบำรุง เพียงแต่ในสัญญาจ้าง จากเดิมที่มีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เป็นผู้ว่าจ้าง ก็จะเปลี่ยนใหม่เป็นนายก อบจเป็นผู้ว่าจ้างแทน สัญญาเหมือนเดิมได้หมด น่าจะเป็นอย่างนี้ อันนี้เบื้องต้นอันนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนและไม่ต้องกังวลคิดว่าแบบนั้น แต่ที่สุดแล้วก็อาจจะต้องขอมติจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ อีกครั้ง” นายเลอพงศ์ กล่าว


ด้าน นายชัยรัตน์ แก้วเพียงเพ็ญ หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย บรรยายพิเศษหัวข้อ “การพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการระบบสุขภาพท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม” ภายใต้งานเดียวกันว่า มท.ได้มีคำแนะนำการพัฒนาระบบการบริหารบุคคลส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับภารกิจการถ่ายโอน รพ.สต.ให้ อบจเพื่อให้ดำเนินการได้อย่างราบรื่นทั่วประเทศ โดยให้มีการกำหนดภารกิจบุคลากรให้ชัดเจน เพื่อรองรับการขับเคลื่อนด้านสาธารณสุข และสนับสนุนการปฏิบัติงานของ รพ.สต.ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงให้ อบจมีบทบาทในการกำหนดตำแหน่งบุคลากรใน รพ.สตให้สอดคล้องกับการดูแลประชาชนตามบริบทของพื้นที่ที่แตกต่างกัน


นอกจากนี้ ยังได้แนะนำให้พัฒนาการจัดทำแผนอัตรากำลัง 3 ปี ในมิติการเพิ่มคุณภาพของบุคลากร เพื่อยกระดับขีดความสามารถของบุคลากรสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ ให้มีสมรรถนะในการทำงาน ขณะที่การสรรหาบุคลากรตามภารกิจ ควรเพิ่มความถี่ในการสรรหาเพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ซึ่งจะต้องประสานขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่มีความชำนาญ อย่างเช่นกระทรวงสาธารณสุข ในการเข้ามาร่วมสรรหาบุคลากรในระบบสุขภาพของ อบจ.


ที่สำคัญคือต้องจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง อปทและ สธเพื่อขอรับการสนับสนุนบุคลากรในกรณีที่มีไม่พอกับการให้บริการประชาชน ซึ่งเชื่อมั่นว่า สธ.ไม่ได้ทอดทิ้งหลังจากมีการถ่ายโอน รพ.สต.ไปแล้ว แต่จะช่วยประคับประคองให้ท้องถิ่นทำงานด้านสาธารณสุขเพื่อประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด” นายชัยรัตน์ กล่าว


นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า เป้าหมายสำคัญของการถ่ายโอน รพ.สตให้ อบจคือประชาชนจะต้องได้รับประโยชน์มากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงลดลง และสามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น มีค่าใช้จ่ายที่น้อยลง นอกจากนี้การถ่ายโอนฯ ต้องทำให้ระบบบริการเข้มแข็งมากขึ้น ทั้งงานบริการ งานวิชาการ งานบริหาร ที่ต้องมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่ภาพรวมของคนไทยทั้งประเทศให้มีความปลอดภัยด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม ให้มีความยั่งยืน และมั่นคง




นพ.ประทีป กล่าวว่า การถ่ายโอน รพ.สต.ยังเป็นโอกาสของการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โดยเฉพาะระบบสุขภาพท้องถิ่นใกล้บ้านใกล้ใจ ซึ่ง รพ.สต.จะเป็นด่านแรกในการดูแล ส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แบบองค์รวม และ อบจ.จะช่วยสร้างการเชื่อมโยงระบบใหญ่ พร้อมทั้งขยายการบริการ เพิ่มเติมบุคลากรสาธารณสุขที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาสุขภาพในทุกมิติที่สอดรับกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยมี สธ.เป็นฝ่ายสนับสนุน 


สำหรับบทบาทของ สชจากนี้ก็จะทำงานแบบสานพลังภาคีเครือข่าย เปิดพื้นที่กลางให้ทุกฝ่ายเข้ามาร่วมกันเตรียมความพร้อมเพื่อถ่ายโอนอย่างไร้รอยต่อ และในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่จะจัดทำกระบวนการการมีส่วนร่วม ที่จะนำไปสู่การจัดทำ “ธรรมนูญ รพ.สต.” หรือการเขียนกติกาสุขภาพที่ รพ.สตและ ชาวบ้านในพื้นที่ เห็นพ้องร่วมกันที่จะสร้างสุขภาวะดีด้วยกัน


อนึ่ง ภายในการอบรมหลักสูตร “การจัดการระบบสุขภาพท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม” สชได้มีสานพลังภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพท้องถิ่น รวม 15 องค์กร ร่วมกันลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ที่จะร่วมกันยกระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาพของคนในท้องถิ่น


ทั้งนี้ ประกอบด้วย 1. กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ.) 2. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) 3. สถาบันพระบรมชนก (สบช.) 4. สถาบันพระปกเกล้า 5. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) 6. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) 7. สมาคมสันนิบาตแห่งประเทศไทย 8. สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย 9. สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย 10. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) 11. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 12. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 13. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) 14. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) 15. สถาบันอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล