เปิดมุมมอง ‘นายก อบจ.ลำปาง’ เมื่อ 'รพ.สต.' มาอยู่กับ 'ท้องถิ่น' เพราะผู้บริหารมาจากการเลือกตั้ง จึงต้องตอบโจทย์ประชาชน

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

ในห้วงเวลาแห่งการกระจายอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภารกิจด้านสุขภาพ ที่มีรูปธรรมชัดเจนอย่างการถ่ายโอนสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) กำลังกลายเป็นประเด็นที่ทุกคนกำลังจับตา และร่วมกันเรียนรู้ถึงแนวทางที่จะเดินหน้าไปพร้อมกัน ก่อนที่การถ่ายโอน รพ.สต. “ล็อตแรกจะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 1 ..นี้


หนึ่งในพื้นที่ที่กำลังเตรียมความพร้อมรองรับการถ่ายโอน คือ อบจ.ลำปาง ซึ่งมี รพ.สต. ในพื้นที่กว่า 130 แห่ง โดยล่าสุด Health Station มีโอกาสได้พูดคุยกับ ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร นายก อบจ.ลำปาง ผู้บริหารสาวสวยไฟแรง กับภารกิจรับถ่ายโอน รพ.สต. ใน .ลำปาง เพื่อมาบริหารจัดการและช่วยส่งเสริมให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ดียิ่งขึ้น


หลักคิดสำคัญของนายกฯ ตวงรัตน์คือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของ อบจ.ลำปาง ซึ่งครอบคลุมทั้งมิติสุขภาพสังคมที่ต้องเกิดความสมดุล สร้างให้คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอย่างองค์รวม ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของ อบจ. ในฐานะหน่วยงานท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จะต้องตอบสนองให้กับประชาชนได้อย่างดี




ตวงรัตน์ อธิบายว่า การให้บริการประชาชนของหน่วยงานท้องถิ่นมีความแตกต่างจากหน่วยงานส่วนกลาง กล่าวคือท้องถิ่นจะมีความกระชับ รวดเร็ว และตอบสนองกับทุกสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


มากไปกว่านั้น ด้วยผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งของประชาชน การทำงานจึงต้องผูกโยงกับความต้องการของประชาชนเป็นหลัก การตอบโจทย์ประชาชนจึงเป็นเรื่องหลักและสำคัญที่สุดของท้องถิ่น ในขณะที่ส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคก็จะมีความแตกต่างออกไป เพราะในบางครั้ง การตอบสนองความต้องการของประชาชน อาจจะขึ้นอยู่กับระเบียบและขั้นตอนต่างๆ


ท้องถิ่นจะมีความยืดหยุ่นมากกว่า และตอบสนองความต้องการของประชาชนมากกว่า เพราะเมื่อเกิดปัญหากับประชาชน ท้องถิ่นจะอยู่นิ่งไมได้ หากประชาชนเดือดร้อน ก็ต้องตอบสนองได้อย่างรวดเร็วนายกอบจ. ลำปาง ระบุ


จุดแข็งของท้องถิ่นเหล่านี้เอง ที่ทำให้ อบจ.ลำปาง มีความมั่นใจว่า หากถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. มาอยู่กับ อบจ.แล้ว ก็จะนำไปสู่คุณภาพการให้บริการกับประชาชนได้มากยิ่งขึ้น


สำหรับ .ลำปาง มี รพ.สต. ประมาณกว่า 130 แห่ง จากการสำรวจในเบื้องต้นพบว่า มี รพ.สต.จำนวน 112 แห่ง ที่ยินดีจะถ่ายโอนไปอยู่กับ อบจ.ลำปาง แต่แม้ว่าจะเห็นด้วยกับการถ่ายโอน กระนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีความไม่มั่นใจเกิดขึ้นอยู่ ทั้งบุคลากรใน รพ.สต. เจ้าหน้าที่ที่ทำงาน หรือ อบจ.ลำปาง เองก็เช่นกัน


ในส่วนของความไม่มั่นใจที่ยังคงมีอยู่ ตวงรัตน์ ระบุว่า คือความไม่ชัดเจนในการถ่ายโอน รพ.สต. ซึ่งในบางเรื่องยังไม่ตกผลึกร่วมกัน จึงทำให้ อบจ.ลำปาง ยังไม่รับการถ่ายโอนในล็อตแรกได้ทั้งหมด เพราะหากมีความไม่ชัดเจน ก็จะทำให้ความคาดหวังของประชาชนที่ต้องการได้รับบริการที่ดีขึ้น มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อาจไม่ได้รับการตอบสนองได้ดี


เพราะการถ่ายโอน รพ.สต. ให้ อบจ.ลำปาง ท้องถิ่นเองก็ต้องแบกรับความหวังของประชาชนทั้งหมด ที่ต้องการรับบริการที่ดีขึ้น สะดวกสบายมากขึ้น และต้องมีการพัฒนามากขึ้น อีกทั้งบุคลากรของ รพ.สต. ก็แบกรับความคาดหวังจากประชาชนเช่นกัน เพราะบุคลากรก็ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการกับประชาชนให้ดีขึ้นเธอให้ภาพ


นายก อบจ.ลำปาง กล่าวต่อไปถึงเสียงสะท้อนจากการสำรวจและลงพื้นที่เพื่อรับฟังความเห็นบุคลากร รพ.สต.กับการถ่ายโอน ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่อยากมาอยู่กับ อบจ. ในขณะที่ อบจ.ลำปาง ก็อยากรับทั้งหมดเอาไว้ แต่ทั้งนี้จะใช้รูปแบบทยอยรับ 


ทั้งนี้ เพราะหากรับมาคราวเดียวทั้งหมดกว่า 130 แห่ง อาจดูแลได้ไม่สมบูรณ์ จึงใช้วิธีการแบ่งรับการถ่ายโอนเป็น “3 เฟสในระยะเวลา 3 ปี เพื่อให้เกิดการพัฒนา ปรับปรุง และส่งเสริมการถ่ายโอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ


ตวงรัตน์ ให้ภาพอีกว่า กลไกเครื่องมือที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เมื่อมีการถ่ายโอน รพ.สต.ให้ อบจ. คืองบประมาณเพราะงบประมาณคือทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ซึ่งใน .ลำปาง มี รพ.สต.ขนาดเล็ก หรือไซส์ S เกือบทั้งหมด โดยที่ผ่านมาก่อนการถ่ายโอนจะมีงบประมาณบริหารเพื่อบริการสุขภาพประชาชนปีละราว 7 แสน - 1 ล้านบาท


อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการถ่ายโอนมายัง อบจ. บุคลากร รพ.สต. ก็คาดหวังในเรื่องงบประมาณเช่นกัน เพราะจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้งานบริการประชาชนมีการพัฒนา นอกจากนี้ ยังต้องการเห็นแนวทางการพัฒนาบุคลากร ครุภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้เพียงพอและตรงตามความต้องการของประชาชน


หากมีงบประมาณที่สนับสนุน เราก็สามารถยกระดับการให้บริการประชาชนที่ดียิ่งขึ้นได้ และสามารถตอบสนองความต้องการของบุคลากร รพ.สต. ผ่านการวางแผนงานที่ดี งบบประมาณที่จะได้รับ และรู้ถึงศักยภาพของตนเอง นายก อบจ. ลำปาง ระบุ


เธอ ย้ำว่า งาน รพ.สต. ไม่ได้เน้นการทำงานแค่เรื่องสุขภาพเพียงอย่างเดียวก็ได้ อาจจะพุ่งเป้าไปสู่การแพทย์ฉุกเฉิน หรือการปรับเป็นศูนย์สุขภาวะของชุมชน ตามที่ .วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าเสนอ ซึ่งจะมีมิติต่างๆ มากมายในการขยายงานต่อไปเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน

 23 สิงหาคม 2565