ถอดบทเรียนกระบวนการ 'CHIA' ยุติเหมืองหิน 'เขาควนเหมียง' เมื่อชุมชนหาจุดร่วมความต้องการ ภาครัฐ-เอกชนจำเป็นต้องยอมรับ

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

ความขุ่นมัวที่เกิดขึ้นในกรณีอุตสาหกรรมเหมืองหิน ที่เทือกเขาควนเหมียง .ปากแจ่ม .ห้วยยอด .ตรัง ระหว่างชาวบ้านในชุมชนด้วยกันเอง จากกลุ่มที่เอาเหมืองหิน และกลุ่มที่ไม่เอายุติลงได้ด้วยเครื่องมือกลไกที่เรียกว่า การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน (Community Health Impact Assessment) หรือ CHIA


CHIA เป็นรูปแบบหนึ่งของการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ที่เป็นการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนท้องถิ่น ด้วยการแสวงหาข้อมูล หลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อนำรายงานนี้ไปประกอบการตัดสินใจในการเลือกนโยบาย โครงการ หรือกิจกรรมต่างๆ ที่จะมีผลดี หรือหรือผลเสียต่อสุขภาวะในชุมชน


เพราะกิจกรรม หรือนโยบายต่างๆ จากรัฐที่ลงไปสู่ชุมชน จำต้องฟังเสียงเจ้าของพื้นที่คือ คนในชุมชน และต้องให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกเอา หรือไม่เอากิจกรรมนั้นอย่างจริงจัง


สำหรับประเด็นอุตสาหกรรมเหมืองหิน ที่เทือกเขาควนเหมียง ถูกหยิบยกนำมาถอดบทเรียนในการประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA Forum) ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เมื่อช่วงเดือน ..2565 ที่ผ่านมา และทำให้เห็นถึงความเข้มแข็งของชุมชน กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ใช้กระบวนการ CHIA จนทำให้ภาคเอกชนที่ขอสัมปทานเหมืองหิน ต้องล้มเลิกการขออนุญาต เพราะมีหลักฐานความสำคัญของพื้นที่ ที่ต้องอนุรักษ์ ดูแล มากกว่านำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น


ปิยะ วันเพ็ญ จากมูลนิธิสถาบันทรัพยากรชายฝั่งแห่งเอเชีย หนึ่งในคณะทำงานการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน CHIA จากอุตสาหกรรมเหมืองหิน เทือกเขาควนเหมียง บอกเล่าว่า แนวคิดการทำ CHIA มาจากความต้องการแก้ปัญหาความขัดแย้งภายในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งยังรวมถึงการหารูปแบบของภาคีความร่วมมือ เพื่อปกป้อง อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ให้นำไปสู่การบูรณาการแต่ละหน่วยงาน และทุกภาคส่วนในสังคม ในการปฏิบัติสู่เป้าหมาย




ทั้งนี้ การทำ CHIA อย่างมีส่วนร่วม จะคำนึง 4 ด้านที่เชื่อมโยงกัน คือ ผลกระทบด้านสุขภาพ ผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม ผลกระทบต่อธรรมชาติ และผลกระทบทางเศรษฐกิจ เพราะในมิติทุกผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ จะมีผลต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของคนในพื้นที่อย่างเลี่ยงไม่ได้ 


กรณีอุตสาหกรรมเหมืองหิน ชาวชุมชนมีทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย สำหรับกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย ก็อยากให้มีการศึกษาพื้นที่ ดูสภาพความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อม ความสำคัญของของพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ เพื่อเอาไปพิจารณาประกอบการตัดสินใจ ว่าควรจะอนุญาตอุตสาหกรรมเหมืองหิน เพื่อแลกกับคุณค่าหรือประโยชน์ทางสังคมด้านอื่นๆ หรือไม่


ปิยะ ขยายอีกว่า ความต้องการที่เกิดขึ้น จึงนำไปสู่ความเห็นพ้องว่าต้องหาข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับผลกระทบรอบด้านของชุมชน ที่เป็นข้อมูลจากชุมชนเองอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ปากแจ่ม ในฐานะหน่วยงานรัฐ ก็เข้ามาใช้เครื่องมือ CHIA ร่วมกับชุมชน เพื่อใช้หลักฐานนี้ในการประกอบการตัดสินใจระดับนโยบาย


ในส่วนข้อตกลงที่เห็นพ้องตรงกันระหว่างชุมชน หน่วยงานท้องถิ่น และภาคเอกชน ที่ต้องการให้สำรวจพื้นที่ก่อนตัดสินใจให้มีเหมืองหิน ทำให้ได้ไปพบเจอกับสัตว์ป่าจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในภูเขาหินปูน มีสัตว์หายากที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ อาทิ ค้างคาวหน้ายักษ์กุมภกรรณ หมูหริ่ง ลิงเสน และยังมีโอกาสได้พบเลียงผาในพื้นที่ รวมไปถึงยังพบพันธุ์พืชอีกถึง 229 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นการค้นพบครั้งแรกของโลกที่ได้รับการยืนยันแล้วถึง 2 ชนิด มากไปกว่านั้น ยังพบแหล่งโบราณคดีที่มีอีกถึง 35 แห่ง อันมาจากการชี้เป้าของชุมชน นักวิชาการ รวมถึงกรมศิลปากร ที่ได้สำรวจและมีการยืนยันความสำคัญของพื้นที่




เมื่อข้อมูลดังกล่าวได้บ่งชี้ถึงความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ปิยะ ระบุว่า ประชาชนและท้องถิ่นจึงเห็นพ้องตรงกันว่าไม่ควรมีเหมืองหินเพราะสภาพพื้นที่ ความเป็นอยู่ของประชาชนและสิ่งแวดล้อมจะได้รับผลกระทบ แต่กระนั้นช่วงเวลาดังกล่าวได้มีการอนุญาตให้ทำเหมืองหินไปแล้ว ภาคประชาชนจึงรวมตัวถวายฎีกาเพื่อให้มีการพิจารณาตัดสินใจระดับชาติว่า เหมืองหินเพื่ออุตสาหกรรมแห่งนี้จะยกเลิกได้หรือไม่ เนื่องจากที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีการยกเลิกมาก่อน


ภาคท้องถิ่นกับตัวแทนประชาชนอย่าง .. จึงเปิดกระทู้สดแบบมีข้อมูลในรัฐสภา นำไปสู่การตั้งคณะกรรมมาธิการเพื่อศึกษาและพิจารณาเรื่องดังกล่าวจากข้อมูลที่อัพเดต และท้ายสุดก็นำไปสู่การประกาศไม่ขอรับประทานบัตรจากภาคเอกชน และเป็นพื้นที่แรกของประเทศไทยที่มีการยกเลิกการทำเหมืองหินปิยะ บ่งบอกถึงกระบวนการ CHIA ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง


กระบวนการ CHIA ทำให้ประชาชนได้ใช้สิทธิตาม ...สุขภาพแห่งชาติ ..2550 รวมไปถึงภาคท้องถิ่นคือ อบต.ปากแจ่ม เข้ามาเป็นเจ้าของงานร่วมกันกับภาคประชาชน แสวงหาความต้องการพัฒนาพื้นที่จากทรัพยากรที่มี รวมไปกับภาคเอกชนที่เห็นหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าพื้นที่ของชุมชนมีความสำคัญมากว่าอุตสาหกรรมเหมือง จึงถอนการขอประทานบัตรออกไป ซึ่งทำให้ท้ายสุดข้อมูลจากภาคประชาชน ภาคท้องถิ่น นำไปสู่การทำให้ทุกฝ่ายยอมรับได้


ปิยะ บอกอีกว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้น หากมองที่ปลายทางจะพบว่าภาคเอกชนที่ยุติการขออนุญาตประทานบัตรเหมืองหิน แต่ความจริงแล้วการพัฒนาพื้นที่ต่อไปเพื่อให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดียิ่งขึ้น ก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องสานต่อและร่วมกันพัฒนาต่อไป ซึ่งภาคีเครือข่ายในพื้นที่ก็เห็นตรงกันว่า เมื่อไม่มีเหมืองหินเพื่ออุตสาหกรรม เพราะความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ก็ควรต่อยอดสิ่งที่มีเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับพื้นที่ต่อไป


ฉะนั้นภาคประชาชนจึงตกผลึกร่วมกัน และพร้อมผลักดันให้เกิดการบูรณาการงานร่วมกับท้องถิ่น ทั้งงานอนุรักษ์ทรัพยากร มรดกทางวัฒนธรรม และประชาชนเห็นควรให้มีการพัฒนาอาชีพ ตลอดจนนำไปสู่การขับเคลื่อนให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นความสำเร็จที่เกิดจากความต้องการของภาคประชาชนในชุมชน


จากทั้งหมดจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าชุมชนคือเจ้าของ ไม่ใช่คนที่ขอเข้ามามีส่วนร่วม ดังนั้นการทำกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ จะต้องฟังเสียงจากเจ้าของพื้นที่ที่แท้จริง ว่าต้องการโครงการหรือกิจกรรมนั้นหรือไม่ หรือหากดำเนินการไปแล้วพบปัญหาจะยกเลิกได้หรือไม่ โดยหน่วยงานภาครัฐจำเป็นจะต้องปรับมุมมอง ขณะที่ภาคท้องถิ่นก็ต้องสานพลังเข้ากับประชาชนอย่างจริงจัง เพื่อรับฟังความต้องการอันแท้จริงของภาคประชาชนปิยะ ทิ้งท้ายในเวที

 24 สิงหาคม 2565