ครม.เห็นชอบในหลักการ 'ร่างธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง' มุ่งเป้าเป็นแนวปฏิบัติการพัฒนา ใช้ประโยชน์ 'พื้นที่-เมือง' ยั่งยืน
14 กันยายน 2565
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

ครม.เห็นชอบหลักการ "ร่างธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง" ตามที่มหาดไทยเสนอ เตรียมใช้มีผลผูกพันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มุ่งเป้าพัฒนาเมือง-ที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน 


ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 13 .. 2565 ซึ่งมี พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่างธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ มท. รับไปพิจารณาปรับปรุงในรายละเอียด แล้วเสนอคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองพิจารณาก่อนดำเนินการต่อไป


ทั้งนี้ตาม ...การผังเมือง ..2562 มาตรา 75(8) บัญญัติให้คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ มีหน้าที่และอำนาจในการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง เพื่อใช้เป็นหลักการพื้นฐานที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผังเมืองพึงปฏิบัติ และมาตรา 7 บัญญัติให้ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง ที่ ครม. ให้ความเห็นชอบแล้ว มีผลผูกพันหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการต่อไปตามหน้าที่และอำนาจของตน


สำหรับเนื้อหาของธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง จะดำเนินการบนพื้นฐานที่สำคัญ ประกอบด้วย 1. เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 11 เมืองและการตั้งถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน การทำให้เข้าถึงที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยและเหมาะสมและพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่ยั่งยืน การลงทุนด้านการขนส่งสาธารณะ การสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียว การปรับปรุงการวางผังเมือง และการบริหารจัดการในลักษณะแบบมีส่วนร่วม


2. วาระใหม่แห่งการพัฒนาเมือง (New Urban Agenda) จากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่อยู่อาศัยและเมืองอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 3 (Habitat III) ได้มาซึ่งหลักการและแนวปฏิบัติที่ผ่านการทดลองแล้วเพื่อเป็นวิสัยทัศน์ร่วมกันของประชาคมโลก ในการพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน และควรเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดอนาคตของเมือง นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป


3. ยุทธศาสตร์ชาติ (..2561-2580) เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล มียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พื้นที่และเมือง คือ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน และยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการด้านผังเมือง คือ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม และยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ


4. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเมือง คือ 1) ด้านการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2) ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ และ 3) ด้านการพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ


5. โมเดลเศรษฐกิจใหม่ (Bio-Circular-Green Economy: BCG) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติ ไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ควบคู่กับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน