กทม.เปิดตัวรถตู้รับ-ส่ง 'วีลแชร์' เพิ่มความสะดวก 'คนพิการ-ผู้สูงวัย' พัฒนาการเดินทางอย่างเท่าเทียม เตรียมให้เรียกผ่านแอปฯ ได้ มี.ค. 66
6 ตุลาคม 2565
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

กทม.-กรุงเทพธนาคม เปิดตัวรถรับส่งผู้พิการและผู้สูงอายุที่ใช้รถวีลแชร์ พัฒนาคุณภาพชีวิต-การเดินทางอย่างยั่งยืน พร้อมเปิดบริการผ่านแอปพลิเคชัน มี..66


นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ร่วมพิธีเปิดตัวโครงการรถบริการสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็น หนึ่งในบริการเพื่อสังคมโดย กทม. และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด โดยมี นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการ กทม. เป็นประธานในพิธี เมื่อวันที่ 4 .. 2565


สำหรับ "โครงการรถรับส่งคนพิการ" เป็นหนึ่งในนโยบายกรุงเทพฯ 9 ดี 215 นโยบาย ตามที่ผู้ว่าราชการ กทม. ได้ประกาศเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการ โดยเฉพาะผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์ ซึ่งไม่สามารถเดินทางไปยังที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวก กทม.จึงมอบหมายให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นวิสาหกิจของ กทม. จัดรถรับส่งเพื่อให้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์


นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือจากศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน ภายใต้แนวคิดเรียก รับ จัด จ่ายประกอบด้วย "เรียก" คือ การเรียกบริการผ่านแอปพลิเคชัน "รับ" คือ การรับข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน "จัด" คือ การจัดรถ และ "จ่าย" คือ การจ่ายรถไปยังผู้ขอใช้บริการ






ทั้งนี้ จะทดลองใช้งานแอปพลิเคชันประมาณเดือนมีนาคม 2566 โดยในอนาคตจะใช้การจัดเก็บข้อมูลด้วยระบบดิจิทัลเพื่อช่วยให้การเรียกใช้บริการสะดวกขึ้น รวมทั้งบริหารจัดการรถเพื่อเพิ่มเที่ยววิ่งได้มากขึ้น และจะขยายโครงการและเพิ่มจุดให้บริการรถรับส่งผู้พิการให้ครอบคลุมสถานพยาบาลของกรุงเทพมหานครต่อไป


นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการ กทม. เปิดเผยว่า นโยบายนี้เป็นนโยบายสำคัญเพื่อให้ กทม. เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน ซึ่งประชาชนที่มีข้อจำกัดในการเดินทางก็เป็นส่วนหนึ่ง โดย กทม.เชื่อว่าเราจะทำให้การเดินทางสะดวกได้สำหรับทุกคน แม้มีข้อเสนอหลากหลายที่จะให้ปรับปรุง เช่น เรื่องการเชื่อมต่อรถสาธารณะ เรื่องป้ายรถเมล์ต่างๆ ก็ต้องดำเนินการปรับปรุงให้ทุกคนสามารถเดินทางได้อย่างเท่าเทียมกัน และคงมีการดำเนินการต่ออย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถทำเสร็จในเดือนเดียว


"กรุงเทพฯ มีพื้นที่กว้างขวาง ค่อยจัดความสำคัญ ค่อยๆ ไล่ทำไป ได้คุยกับเครือข่าย และมีที่ปรึกษาที่เข้าใจพี่น้องที่ใช้วีลแชร์ ทำให้เราสามารถผลักดันนโยบายสำหรับประชาชนที่ใช้วีลแชร์ได้จริ มีเครือข่ายที่เข้มแข็ง และทำงานมาหลายปี เราเอาจริงเอาจัง และจะทำให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน" ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าว


ด้าน นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการ กทม. กล่าวว่า โครงการนี้ กทม. ได้เคยทำมาก่อนแล้ว แต่ขณะนี้เป็นการรื้อฟื้นและปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยเริ่มต้นขั้นแรกมีรถให้บริการ 10 คัน แต่จะมีการปรับปรุงเพิ่มจำนวนรถบริการจะร่วมกับพันธมิตรในการให้บริการเพิ่มเติมขึ้นมา ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ฟีดแบค รับฟังความต้องการจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากพันธมิตรทั้งหลาย เครือข่ายต่างๆ เพื่อให้ตรงกับความต้องการจริง




ในส่วนของรถที่ให้บริการ ได้ดัดแปลงจากรถตู้ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย ติดตั้งอุปกรณ์การอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้รถวีลแชร์และผู้ติดตามด้วยความปลอดภัย ประกอบด้วย ลิฟท์ไฮดรอลิคสำหรับขึ้น-ลง พร้อมที่จับ หมุดยึดตัวรถพร้อมสายรัดความปลอดภัยและเข็มขัดนิรภัยสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ และเบาะเสริม 2 ที่นั่ง สำหรับผู้ติดตาม สามารถรองรับรถวีลแชร์สูงสุด 3 คัน


ขณะเดียวกัน ในเบื้องต้นจะเปิดให้บริการ จำนวน 10 คัน และจะเพิ่มเป็น 20 คัน รวมจำนวน 30 คัน ภายในเดือนตุลาคมนี้ โดยสามารถติดต่อขอใช้บริการได้ที่สายด่วนสำหรับคนพิการ โทร. 1479 หรือ สายด่วน 1555 ของ กทม.