10 ตุลาคม 'วันสุขภาพจิตโลก' ชวนดูแลจิตใจตนเอง-คนรอบข้าง ช่วยกันลดสถิติซึมเศร้า-ฆ่าตัวตาย พบครึ่งหนึ่งมาจากปัญหาความสัมพันธ์
10 ตุลาคม 2565
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

10 ตุลาคม "วันสุขภาพจิตโลก" รัฐเชิญชวนคนไทยให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพจิตตนเอง-คนรอบข้าง ด้าน สปสช. เผยจัดงบบัตรทองเพิ่มกว่า 73 ล้าน ดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนต่อเนื่อง


เมื่อวันที่ 10 .. 2565 ..ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในโอกาสที่วันที่ 10 ..ของทุกปีเป็น "วันสุขภาพจิตโลก" (World Mental Health Day) รัฐบาลขอเชิญชวนประชาชนทุกคนได้ถือโอกาสวันนี้ เป็นจุดเริ่มต้นการหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง คนในครอบครัว ตลอดจนคนรอบข้าง โดยหมั่นสังเกตภาวะอารมณ์ ความรู้สึกของตนเองและพฤติกรรมคนรอบข้าง มีการพูดคุย ให้คำปรึกษาหรือให้กำลังใจเมื่อมีปัญหา


..ไตรศุลี กล่าวว่า เนื่องจากปัจจุบันสังคมมีลักษณะซับซ้อน การรับรู้ข้อมูลในโซเชียลมีเดียจำนวนมาก ส่งผลต่อพฤติกรรมความรุนแรง และความเครียด ทำให้การป่วยทางจิตเวช หรือภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย จึงต้องมีการเฝ้าระวังตลอดจนมีการเสริมสร้างสุขภาพจิตให้แข็งแรง หากพบความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ หรือสามารถโทรปรึกษาที่สายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323


ทั้งนี้ ข้อมูลของกรมสุขภาพจิตระบุว่า ทั่วโลกมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงขึ้น โดยปัจจุบันประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น 500-1,000 คนต่อปี สำหรับข้อมูลในปี 2564 มีผู้ฆ่าตัวตายประมาณ 5,000 คน โดยมาจากปัญหาด้านความสัมพันธ์ 50% ปัญหาเรื่องสุขภาพ 30% ปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และอื่นๆ 20%


"การป่วยทางจิตใจเป็นปัญหาที่ทั่วโลกเผชิญ โดยมีการประเมินว่าหากสถานการณ์ยังเป็นอย่างปัจจุบันไม่มีการรณรงค์ป้องกันร่วมกันแก้ไข ใน 10 ปีข้างหน้าสุขภาพจิตจะกลายเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่ทำให้เกิดการสูญเสียเป็นอันดับ 1 ของโรคไม่ติดต่อทั้งหมด ดังนั้นจึงขอเชิญคนไทยทุกคนได้หันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพจิตใจของตนเองและคนรอบข้างให้เข้มแข็ง ป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นกับคนในครอบครัวหรือคนรอบข้าง" ..ไตรศุลี กล่าว


ด้าน นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ภาวะความเจ็บป่วยทางด้านจิตใจ จำเป็นต้องได้รับการักษาพยาบาลที่ไม่ต่างจากความเจ็บป่วยทางกาย โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคจิตเวช ซึ่งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ได้จัดสรรงบประมาณที่แยกออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว ในการสนับสนุนการดำเนินการเชิงรุกเพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังที่มีสิทธิบัตรทองได้รับบริการรักษา พร้อมติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องในชุมชน เพื่อลดอาการกำเริบหรือกลับมาเป็นซ้ำ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


สำหรับผลดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยร่วมกับกรมสุขภาพจิต และภาคีเครือข่ายโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้อง ได้ช่วยให้ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนได้รับการดูแลเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2564 มีผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนทั่วประเทศได้รับการดูแลจำนวน 10,341 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ที่เป็นปีเริ่มต้นอยู่ที่จำนวน 8,300 ราย


ขณะเดียวกันในปีงบประมาณ 2566 นี้ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ซึ่งมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข เป็นประธาน ได้ให้ความสำคัญต่อผู้ป่วยกลุ่มนี้จัดสรรงบประมาณบริการเพิ่มเติมเป็นจำนวน 73.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ประมาณ 20%


"ระบบบัตรทองไม่ได้มีเพียงสิทธิประโยชน์สุขภาพทางกายเท่านั้น แต่ได้ตระหนักถึงการดูแลที่ต้องครอบคลุมถึงสุขภาพจิตของประชาชนด้วย ทุกวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็นวันสุขภาพจิตโลก จึงขอร่วมรณรงค์เพื่อให้คนไทยร่วมกันดูแลสุขภาพจิตของตนเองและคนรอบข้าง นำไปสู่คุณภาพชีวิตและสังคมที่ดี" เลขาธิการ สปสช. กล่าว