4 บทบาท หนุนช่วย 'การดูแลแบบประคับประคอง'

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.


ทุกวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนตุลาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น "วันการดูแลแบบประคับประคองสากล" (World Hospice and Palliative Care Day) เพื่อเป็นวันที่ทั่วโลกเฉลิมฉลองการเกิดขึ้นของการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) รวมถึงการมีอยู่ของสถานพยาบาลกึ่งบ้าน ให้ผู้คนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ และสนับสนุนให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการดูแลได้

นอกจากบทบาทของแพทย์ พยาบาล บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการรักษา รวมไปถึงตัวผู้ป่วย ครอบครัว และญาติแล้ว ยังมีอีก 4 บทบาทที่มีส่วนช่วยหนุนเสริม Palliative Care ได้

• นักกายภาพบำบัด (Physiotherapist)
มีบทบาทในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในทุกมิติ ตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การให้การรักษาและการฟื้นฟู ทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้ป่วยและครอบครัว

• เภสัชกร (Pharmacist)
อาการทางกายที่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งเกิดความทุกข์ทรมาน ไม่ว่าจะเป็นอาการปวด เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน แต่ละอาการอาจจำเป็นต้องใช้ยาในการจัดการ เพราะยาเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่มีความสำคัญกับการดำรงชีวิต ทีมเภสัชกรจะช่วยดูแลผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี เข้าถึงการใช้ยาอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข

• นักโภชนาการ (Dietitian)
อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่มีความสำคัญกับการดำรงชีวิต การได้รับอาหารที่เพียงพอและเหมาะสม จะช่วยให้ผู้ป่วยแข็งแรงขึ้นและกลับสู่สภาพเดิม มีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรค อาหารที่เหมาะสมจะช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

• นักสังคมสงเคราะห์ (Social Worker)
นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ปฏิบัติงานในทีมสหวิชาชีพ ดำเนินงานกับผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชน โดยใช้ความรู้และทักษะช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวรับมือกับผลกระทบทางด้านจิตสังคม ที่เกิดขึ้นจากความเจ็บป่วย ความสูญเสีย เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีบทบาทหลักในการประเมินมิติทางจิตสังคม ให้การดูแลประคับประคองจิตใจ การจัดสรรทรัพยากรให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการ การเข้าถึงสิทธิประโยชน์ด้านสวัสดิการสังคม ประสานงานด้านอาชีพของผู้ดูแลหลัก ประสานงานเครือข่ายทางสังคมที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือต่างๆ

ที่มา: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์

 11 ตุลาคม 2565