จัดลำดับ ปท. 'บำนาญดีสุดในโลก' 'ไอซ์แลนด์' แชมป์ - 'ไทย' รั้งท้าย เดือน ธ.ค.นี้ จ่อยกเครื่องใหญ่ ในงาน 'สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ'
19 ตุลาคม 2565
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

ผลสำรวจระบบบำนาญ 44 ประเทศทั่วโลก ไอซ์แลนด์ยืนหนึ่งดีที่สุด ส่วนไทยแม้รั้งท้าย แต่ภาคีเครือข่ายพร้อมหนุนประเด็นบำนาญประชาชน สู่งานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปลายปีนี้ ดึงพลังทุกภาคส่วนร่วมยกระดับชีวิตคนไทยให้มีหลักประกันรายได้ที่ดี-เท่าเทียม


รายงานการสำรวจคุณภาพของระบบบำนาญใน 44 ประเทศ โดย Mercer CFA Institute Global Pension Index (MCGPI) ครั้งที่ 14 ที่ร่วมกับสถาบันผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน CFA Institute ระบุว่า ประเทศไอซ์แลนด์ เป็นประเทศที่มีระบบบำนาญที่ดีที่สุดในโลก ด้วยคะแนน 84.7 คะแนน รองลงมาคือเนเธอร์แลนด์ ได้คะแนน 84.6 คะแนน และเดนมาร์กได้คะแนนที่ 82 คะแนน ซึ่งทั้ง 3 ประเทศ ถูกจัดให้อยู่ในระดับ A ที่มีระบบบำนาญดีที่สุด


ในขณะที่ประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในระดับ D และรั้งท้ายในอันดับที่ 44 ซึ่งได้รับคะแนนอยู่ที่ 41.7 คะแนน โดยสำหรับในทวีปเอเชีย สิงคโปร์เป็นประเทศที่ได้รับการจัดอันดับระบบบำนาญดีที่สุดของทวีป และติดอันดับ 9 ของโลก ด้วยคะแนน 74.1 คะแนน


ทั้งนี้ การสำรวจของ MCGPI จะสำรวจจาก 3 ด้านหลัก ประกอบด้วย 1. ความเพียงพอของบำนาญ ทั้งการสนับสนุนจากรัฐบาล ผลตอบแทน สิทธิประโยชน์ 2. ความยั่งยืนของระบบบำนาญหลังเกษียณ และ 3. ความมั่นคงของระบบบำนาญ ข้อกฎหมายที่รองรับ การคุ้มครอง


ขณะเดียวกัน การสำรวจดังกล่าวจะเน้นถึงข้อบกพร่องบางเรื่องในระบบ เพื่อให้เกิดการปรับปรุง และเกิดการแนะนำเพื่อพัฒนาให้มีระบบสวัสดิการ บำนาญหลังเกษียณมีความเพียงพอและยั่งยืน


อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยจะรั้งท้ายในการสำรวจระบบบำนาญจาก 44 ประเทศทั่วโลก แต่ภาคส่วนในสังคมขณะนี้ก็กำลังมีความพยายามร่วมกันขับเคลื่อนเรื่องสวัสดิการ บำนาญประชาชน ผ่านการหยิบยกประเด็น "หลักประกันรายได้และคุณภาพชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ" ขึ้นมาพัฒนาเป็นหนึ่งในระเบียบวาระที่เตรียมเข้าสู่การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 15 ประจำปี ..2565 ที่มีประเด็นหลัก (Theme) คือความเป็นธรรมด้านสุขภาพ โอกาส และความหวังอนาคตประเทศไทยเพื่อร่วมกันเสนอข้อคิดเห็น และร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดระบบหลักประกันรายได้สำหรับประชาชนไทยอย่างเท่าเทียม และมีความยั่งยืน