หลากข้อเรียกร้องอุด 'สุญญากาศ' ภาควิชาการ-ประชาชนจี้ภาครัฐ ปิดช่องผลกระทบการใช้ 'กัญชา' กลับสู่ยาเสพติดจนกว่าจะมีกม.คุม
20 ตุลาคม 2565
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

เครือข่ายนักวิชาการ-ประชาชน รวมตัวทำจดหมายถึงรัฐบาล จี้นำ "กัญชา" กลับไปเป็นยาเสพติดจนกว่าจะทบทวนกฎหมายแล้วเสร็จ ด้านกรรมการสิทธิฯ แนะออกกฎหมายคุม คุ้มครองสิทธิสุขภาพ-สิทธิเด็ก จากผลกระทบที่ไม่เหมาะสม


เครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชน รวม 39 ชีวิต ที่รวมตัวกันในนามเครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติด ร่วมกันทำ จดหมายเปิดผนึกฉบับที่สี่ เสนอขอให้ชะลอการพิจารณาร่าง ...กัญชา กัญชง .. ... เป็นการชั่วคราว พร้อมกับเร่งให้มีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติดทันที ส่งไปถึงนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รมว.สาธารณสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง ...กัญชาฯ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 20 .. 2565


สำหรับเนื้อหาของจดหมายเปิดผนึกฉบับดังกล่าว ระบุว่า ด้วยปัญหายาเสพติดเป็นวาระระดับชาติในขณะนี้ การเปิดให้กัญชาเสรีโดยไม่มีกฎหมายควบคุมในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ (ภาวะสุญญากาศ) จะยิ่งก่อให้เกิดปัญหามากยิ่งขึ้นในอนาคต เนื่องจากการใช้กัญชาเป็นประตูสู่การใช้ยาเสพติดอื่น อีกทั้งมีผู้ไม่เห็นด้วยกับนโยบายกัญชาเสรีจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น แพทย์ทั่วประเทศจำนวน 1,363 ราย ร่วมกันออกแถลงการณ์ และ ประชาชนที่ร่วมลงชื่อใน change.org จำนวนกว่า 18,000 ราย แสดงเจตนารมณ์ต้องการให้ปิดสภาวะสุญญากาศกัญชาเสรีทันที


ทั้งนี้ การที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติในวันที่ 14 .. 2565 ให้กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง ...กัญชาฯ นำร่างฉบับนี้กลับไปพิจารณาทบทวนใหม่ เนื่องจากเนื้อหาของร่างกฎหมายฉบับนี้อนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อนันทนาการได้ แทนที่จะเป็นกัญชาทางการแพทย์อย่างที่อ้างไว้ตั้งแต่ต้น ในการนี้เครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติด ขอเสนอแนวคิดและเหตุผลสนับสนุนการชะลอการพิจารณาร่าง ...กัญชาฯ เป็นการชั่วคราว และเร่งให้มีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติดทันที


"การเร่งออกกฎหมาย ร่าง ...กัญชาฯ ฉบับกรรมาธิการวิสามัญนี้ ไม่ใช่ทางแก้ปัญหาการเสพใช้กัญชาเพื่อนันทนาการในหมู่เยาวชนที่ได้ผลอย่างแท้จริง สิ่งที่ควรทำขณะนี้ คือ 1. ชะลอการพิจารณาร่าง ...กัญชาฯ เป็นการชั่วคราว 2. เร่งให้มีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติดในทันที 3. เปิดรับฟังความเห็นของประชาชนและผู้เกี่ยวข้องรอบด้านเพื่อประเมินว่าประเทศไทยต้องการกัญชาทางการแพทย์หรือกัญชาเพื่อนันทนาการ แล้วจึงออกแบบกฎหมายให้สอดคล้อง ประเทศไทยจะได้ประโยชน์สูงสุดและไม่เกิดโทษจากกัญชา และอนาคตลูกหลานไทยจะได้รับการปกป้อง" เนื้อหาตอนหนึ่งในจดหมายเปิดผนึกของทางเครือข่ายฯ ระบุ


ภายในวันเดียวกัน ..สุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้กล่าวในการแถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ระบุถึงการที่รัฐบาลได้ประกาศใช้ ...ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) ..2562 กำหนดให้สามารถนำกัญชาไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ และต่อมามีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ..2565 ส่งผลให้ทุกส่วนของกัญชา กัญชง ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 และไม่อยู่ภายใต้มาตรการควบคุมการใช้สารเสพติด ยกเว้นสารสกัดที่มีสาร THC เกิน 0.2%


..สุภัทรา ระบุว่า นับแต่ประกาศฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 มิ.. 2565 เป็นต้นมา มีรายงานการใช้กัญชานอกเหนือจากการใช้ทางการแพทย์ และรายงานผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกี่ยวเนื่องจากการใช้กัญชาออกมาเป็นระยะ ทำให้หลายภาคส่วนมีความห่วงกังวลถึงผลกระทบจากการใช้กัญชา โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชน สตรีตั้งครรภ์ และบุคคลที่มีโรคประจำตัวบางโรค เนื่องจากสาร THC ในกัญชามีผลต่อสมองเด็กและพัฒนาการของเด็กในระยะยาว รวมถึงผลกระทบในด้านอื่นๆ โดยขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการจัดทำกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจากการใช้กัญชา กัญชง ที่ไม่เหมาะสมและอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ


ขณะเดียวกัน กสม.พิจารณาแล้วเห็นว่า การกำหนดให้ทุกส่วนของกัญชา กัญชง ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ซึ่งประชาชนสามารถเข้าถึงการบริโภคกัญชาได้อย่างแพร่หลาย และมีรายงานการใช้กัญชาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิเด็ก จึงได้จัดการประชุมหารือและรับฟังความคิดเห็น เรื่องสิทธิด้านสุขภาพกับสถานการณ์การใช้กัญชาในประเทศไทยขึ้น เมื่อวันที่ 5 .. 2565 โดยมีผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ เข้าร่วม เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นการใช้ประโยชน์จากกัญชา การใช้กัญชาในทางการแพทย์ ผลกระทบด้านสุขภาพ มาตรการควบคุมการใช้กัญชาและผลิตภัณฑ์กัญชา


"เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์การใช้กัญชา บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องและหลักสิทธิมนุษยชนแล้ว กสม. เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการกำหนดมาตรการและออกกฎหมายลำดับรองเพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชนจากการใช้กัญชาหลายฉบับ แต่มาตรการส่วนใหญ่ไม่มีกลไกบังคับใช้ที่ชัดเจนและไม่ครอบคลุมเพียงพอที่จะสามารถป้องกันผลกระทบได้อย่างมีประสิทธิผล นอกจากนี้ยังปรากฏรายงานผลกระทบจากการใช้กัญชาของประชาชน รวมถึงเด็กและเยาวชนผ่านทางสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง" ..สุภัทรา ระบุ


ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองสิทธิในการมีสุขภาพที่ดีและหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการใช้กัญชาที่ไม่ปลอดภัย กสม. จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งข้อเสนอแนะในการจัดทำกฎหมายกรณีดังกล่าวต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ประกอบด้วย 1. ครม.ควรมอบหมายให้ สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาดำเนินการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสุขภาพตามประกาศต่างๆ ให้เกิดประสิทธิผล ควบคุมการผลิตและจำหน่ายหรือใช้กัญชา กัญชงที่ไม่ใช่ทางการแพทย์อย่างเคร่งครัด


นอกจากนี้ ควรมีการพัฒนาองค์ความรู้ เครื่องมือ และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้กัญชา กัญชงเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ กำหนดมาตรการส่งเสริมและควบคุมคุณภาพการปลูกกัญชา กัญชงเพื่อความปลอดภัย รวมทั้งพัฒนากลไกการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การใช้กัญชา กัญชงและผลกระทบในด้านสุขภาพทั้งในสถานพยาบาล สถานศึกษาและชุมชน รวมทั้งเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินสถานการณ์การใช้กัญชา กัญชงเป็นระยะ โดยสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการควบคุมการปลูกและการใช้ประโยชน์จากกัญชา


2. รัฐสภาควรพิจารณาให้มีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่รวบรวมมาตรการเกี่ยวกับการใช้กัญชา กัญชงให้อยู่ในฉบับเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนที่ต้องการใช้กัญชา กัญชงและเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งต้องบังคับใช้กฎหมายเข้าถึงมาตรการที่กำหนดได้โดยง่าย และควรพิจารณาให้มีมาตรการในการคุ้มครองด้านสุขภาพและควบคุมการใช้กัญชา กัญชงในกฎหมาย เช่น การควบคุมผลิตภัณฑ์กัญชา กัญชงหรือสารสกัดที่ไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ให้มีสาร THC ในปริมาณที่เหมาะสม การควบคุมบรรจุภัณฑ์และฉลากผลิตภัณฑ์ ซึ่งต้องมีการให้ข้อมูลและคำเตือนด้านสุขภาพ การกำหนดห้ามโฆษณาเพื่อขาย/วางจำหน่าย การกำหนดพื้นที่ห้ามสูบกัญชาและบทกำหนดโทษ


ขณะเดียวกัน ครม.ควรมอบหมายให้ สธ. และกระทรวงคมนาคมปรับปรุงกฎหมายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้กัญชา กัญชง เช่น กำหนดระดับของการสูบหรือบริโภคกัญชาที่ห้ามขับขี่ยานพาหนะและการห้ามทำงานกับเครื่องจักร ทำงานในที่สูง หรือทำงานในลักษณะอื่นที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ การกำหนดให้มีการตรวจจับระดับการสูบ/บริโภคกัญชาขณะขับขี่ยานพาหนะเช่นเดียวกับการตรวจจับแอลกอฮอล์ รวมทั้งพัฒนากฎหมายห้ามการขับขี่ยานพาหนะ และการทำงานกับเครื่องจักรในลักษณะอื่นที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุในขณะที่บริโภคกัญชา กัญชงไว้เป็นการเฉพาะ