‘นพ.ประเวศ’ ชูการใช้พลังภาคี เป็น ‘นวัตกรรมสังคม’ สร้างสุขภาวะ ย้ำปัญหาโลก ‘เหลื่อมล้ำ-ขาดสมดุล ‘ทำงานร่วมกัน’ สำคัญกว่าเทคโนโลยี
28 ตุลาคม 2565
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

นพ.ประเวศให้นิยามภาคีสร้างสังคมสุขภาวะ เป็นพลังของประชาชนร่วมกับทุกภาคส่วน จะเป็นหัวใจหลักในสร้างชาติ-สร้างโลก คืนความสมดุลให้คนอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม ย้ำนวัตกรรมทางสังคมเป็นเครื่องมือแห่งอนาคต ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตองค์รวมได้สำคัญกว่าเทคโนโลยี


.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “15 ปี พลังภาคีสร้างสังคมสุขภาวะซึ่งเป็นหัวข้อหนึ่งของงาน “15 ปี สุขภาพแห่งชาติ พลังภาคีสร้างสังคมสุขภาวะที่จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เมื่อวันที่ 28 .. 2565 ระบุว่า การสร้างสังคมสุขภาวะจะต้องมีพลังของภาคีที่เป็นการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำของทุกภาคส่วนในสังคม เข้ามาทำงานร่วมกัน


ทั้งนี้ ภาคีถือเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนสังคมให้เกิดความสมดุล ซึ่งช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ภาคประชาชนก็ได้สร้างนวัตกรรมทางสังคมขึ้นมาผ่าน สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ที่เป็นอีกเครื่องมือภายใต้ ...สุขภาพแห่งชาติ ..2550 ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย




นวัตกรรมสังคมจะมีความสำคัญในอนาคต เพราะเป็นเครื่องมือที่จะขับเคลื่อนให้เกิดความสมดุลระหว่างผู้คน ธรรมชาติ และสังคม ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาวะของประชาชนแบบองค์รวม เป็นสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญมากกว่านวัตกรรมทางเทคโนโลยี.นพ.ประเวศ กล่าว


.นพ.ประเวศ กล่าวว่า เมื่อมี สช. เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนนโยบาย หรือการพัฒนานโยบายสาธารณะ ตลอดระยะเวลา 15 ปี สช. จึงได้มีการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมาเป็นประจำทุกปี ซึ่งเป็นกระบวนการที่นำพาให้คนทุกภาคส่วนมาสังเคราะห์นโยบาย และมีฉันทมติร่วมกัน อันเป็นการริเริ่มการสร้างนโยบายจากประชาชน และคิดว่าประเทศไทยเป็นที่แรกในโลกที่ทำเรื่องนี้


อย่างไรก็ตาม เมื่อมองถึงความหมายของคำว่าภาคีสร้างสังคมสุขภาวะจะพบว่ามีความหมายที่ยิ่งใหญ่ เป็นสิ่งสูงสุดของมนุษยชาติที่หมายถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล และมีความเป็นธรรมอย่างถูกต้อง ซึ่งคำว่าภาคีสังคมสุขภาวะนี้เอง จะเป็นกุญแจสร้างประเทศ และสร้างโลก เพื่อให้ทุกพื้นที่เรียกได้ว่าเป็นแผ่นดินศานติสุขคือการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นธรรมในทุกมิติ


.นพ.ประเวศ กล่าวอีกว่า ความจริงแล้วปัญหาใหญ่ของทั่วทั้งโลกในปัจจุบันนี้ พบว่ามีความขัดแย้ง ขาดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและสมดุล เกิดความเหลื่อมล้ำในประเทศต่างๆ แม้แต่ในประเทศมหาอำนาจของโลก ซึ่งการขาดการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล ทำให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อสังคมในทุกมิติ ทั้งสิ่งแวดล้อม การเมือง และมนุษย์




ประเด็นคือ หลายประเทศมีแนวทางพัฒนาประเทศด้วยความมั่งคั่ง ไม่ได้เอาความสมดุลของการอยู่ร่วมกันมาเป็นที่ตั้ง อย่างเช่นสหรัฐอเมริกา มีความขัดแย้งเกิดขึ้นเพราะเกิดความเหลื่อมล้ำ การพัฒนาเป็นประโยชน์ต่อประชาชนแค่ 1% ทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เกิดการแบ่งขั้วอย่างรุนแรง เสี่ยงต่อการเกิดสงครามกลางเมือง” .นพ.ประเวศ กล่าว


.นพ.ประเวศ กล่าวว่า อีกหนึ่งกับดักที่ทำให้ประเทศไทยทำอะไรไม่สำเร็จ อาจจะมาจากวิธีคิด เนื่องจากปัจจุบันเราขาดการคิดเชิงระบบและโครงสร้าง ซึ่งมหาวิทยาลัยทั่วประเทศควรสร้างพลังปัญญาที่สำคัญให้กับนักศึกษา เพราะที่ผ่านมาเราเน้นด้านเทคนิค แต่ขาดการคิดเชิงระบบและการจัดการ ที่จะเป็นหัวใจของการวางระบบในการแก้ไขปัญหาของสังคม โดยเฉพาะมิติทางสุขภาวะ ที่จะรู้ถึงโครงสร้างของปัญหา เครื่องมือ และวัตถุประสงค์ของสิ่งที่จะพัฒนาเพื่อองค์รวม


.นพ.ประเวศ ยังกล่าวด้วยว่า การมาร่วมกันสร้างองค์รวมของระบบสุขภาพ จะเกิดคุณสมบัติใหม่อันมหัศจรรย์ จึงอยากฝาก สช. และฝากสังคมให้มาร่วมกันเป็นภาคีเครือข่ายสร้างสังคมสุขภาวะ ที่จะช่วยให้สุขภาพกาย สุขภาพใจ สุขภาพสังคม และสุขภาพทางปัญญา ของพวกเราทุกคนดียิ่งขึ้น อันจะทำให้องค์รวมของสุขภาพดีตามไปด้วย และทำให้แผ่นดินไทยกลายเป็นแผ่นดินศานติสุข


ที่ผ่านมาเราลงทุนสร้างระบบเพื่อนำไปสู่สังคมสุขภาวะกันมามากแล้ว ถึงเวลาที่พวกเราควรเข้ามาเก็บเกี่ยว ต่อยอด ด้วยการมาเป็นภาคีร่วมสร้างสังคมสุขภาวะให้เกิดขึ้นได้จริง และมีความยั่งยืน.นพ.ประเวศ กล่าวในตอนท้าย