คมส.ติดตามความก้าวหน้า มติ 'สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ' เห็นชอบมาตรการ 'ลดโซเดียม' แนะใช้สัญลักษณ์สีบอกความเค็ม
2 พฤศจิกายน 2565
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

คณะกรรมการขับเคลื่อน-ติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ร่วมพิจารณาเกณฑ์ลดโซเดียมในอาหาร เสนอใช้สัญลักษณ์สีเขียว-เหลือง-แดง บ่งบอกระดับความเค็ม พร้อมให้แนวทางขยายความร่วมมือหลายหน่วยงานเลิกใช้ "แร่ใยหิน"


นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 31 .. 2565 โดยมี .คลินิก นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองประธาน คมส. ร่วมทำหน้าที่ดำเนินการประชุม


สำหรับการประชุม คมส. ในครั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติหลายเรื่อง เช่น มติ 8.4 นโยบายการลดบริโภคเกลือและโซเดียมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ได้เห็นชอบแนวทางให้มีการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการลดโซเดียมในอาหาร รณรงค์ให้ความรู้เรื่องลดหวาน มัน เค็ม จัดทำแนวทางการจัดอาหารว่างเพื่อสุขภาพ รวมถึงประกาศวาระการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การลดบริโภคเกลือและโซเดียมระดับจังหวัด


ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้ร่วมกันให้ข้อเสนอแนะต่างๆ อาทิ การทำให้เครื่องตรวจวัดความเค็ม (Salt Meter) หาได้ง่าย ไม่แพง และเชื่อถือได้ รวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปสู่การจัดการกฎหมาย และสร้างความรู้ตั้งแต่ต้นทางเพื่อปรับพฤติกรรม เสนอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ควบคุมฉลากอาหาร เช่น มีสัญลักษณ์สีเขียว-เหลือง-แดง บ่งบอกระดับความเค็ม เป็นต้น






ในส่วนของการขับเคลื่อนมติ 12.1 ทบทวนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน ที่ประชุมได้ร่วมกันเห็นชอบแนวทางให้ สธ. และกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งเป็นองค์กรนำร่องที่ไม่ใช้วัสดุจากแร่ใยหิน เผยแพร่แนวทางและขยายความร่วมมือไปยังกระทรวงอื่นๆ พร้อมขอให้กรมอนามัยพิจารณา เพิ่มคำนิยามและแนวทางปฏิบัติให้ครอบคลุมถึงการจัดการแร่ใยหินไว้ในกฎกระทรวง เรื่องการจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน ..2563


ขณะที่การขับเคลื่อนมติ 13.1 ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางให้มีหน่วยงานหลัก หรือกลไกกลางทั้งระดับประเทศและจังหวัดด้านการจัดการอาหารในภาวะวิกฤต บรรจุประเด็นนี้ให้เป็นนโยบายของกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจัดทำตัวชี้วัดร่วมและติดตามประเมินผล โดยที่ประชุมยังมีข้อเสนอแนะให้หาเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนแต่ละข้อมติ และขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน


ด้านการขับเคลื่อนมติ 14.1 การสร้างเสริมสุขภาวะสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในวิกฤตโควิด-19 ที่ประชุมได้เห็นชอบแนวทางการปรับปรุงช่วงระยะเวลาของเส้นทางเดินมติ ปี 2564-2569 เป็นปี 2564-2570 เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 รวมถึงเสนอผลการถอดบทเรียนของมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เรื่องแนวทางปฏิบัติเพื่อการจัดการขยะติดเชื้อในชุมชน ต่อกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.)


ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังได้รับทราบถึงความคืบหน้าการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติหลายเรื่อง อาทิ มติ 2.8 การจัดการปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน โดยกรมอนามัย ได้จัดทำร่าง ...ควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก .. ... มติ 3.3 การควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็ก โดยกรมอนามัย ได้จัดทำร่างแผนขับเคลื่อนและบังคับใช้ ...ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ..2560 (ฉบับที่ 2) ..2566-2570






มติ 5.7 พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ ได้อยู่ระหว่างการทบทวนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ..2560 มติ 8.5 วิกฤติการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้อยาและการจัดการปัญหาแบบบูรณาการ โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้จัดทำร่างแผนปฏิบัติการแห่งชาติด้านการดื้อยาต้านจุลชีพ ..2566-2570 มติ 10.1 การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น โดยคณะทำงานสถาปนิกได้ออกแบบคู่มือการออกแบบการใช้พื้นที่สาธารณะในท้องถิ่น


มติ 12.2 วิถีเพศภาวะ เสริมพลังสุขภาพครอบครัว ได้มีการประชาพิจารณ์ร่าง ...รับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ การแสดงออกทางเพศสภาพ และคุณลักษณะทางเพศ ขณะที่สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่าย ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินการแก้ไขหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ..2551


มติ 12.4 การจัดการเชิงระบบสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง อย.ได้กำหนดตัวชี้วัดการพัฒนาจังหวัดสู่การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU Province) คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) เขต 10 พัฒนากลไกบูรณาการแผนงานและกลไกเฝ้าระวังการใช้ยาระดับพื้นที่ ขณะที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสภาเภสัชกรรม ได้ทำโครงการ ร้านยาคุณภาพของฉัน ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 21 .. 2565


มติ 14.3 การจัดการการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมในวิกฤตสุขภาพ ได้อยู่ระหว่างการประสานงานกับทางสำนักนายกรัฐมนตรี ในการจัดตั้งศูนย์อำนวยการการสื่อสารในภาวะวิกฤต ส่วนความคืบหน้ากลุ่มมติการลดผลกระทบจากสื่อต่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว ทางคณะกรรมาธิการการพัฒนาทางสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ได้จัดทำโครงการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และรู้เท่าทันสื่อในเด็กและเยาวชน


ด้าน ผศ.วีระศักดิ์ พุทธาศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้รายงานความคืบหน้าการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 15 ..2565 ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนา 3 ประเด็นเพื่อเป็นระเบียบวาระ ประกอบด้วย 1. การขับเคลื่อนแพลตฟอร์มเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลสถิติการออกกำลังกาย และการเล่นกีฬาของประชาชน 2. การขจัดความยากจนตามโมเดล BCG การยกระดับเศรษฐกิจครัวเรือน 3. หลักประกันรายได้และคุณภาพชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ