สภาพัฒน์-สช. ร่วมวางแนวทาง เคลื่อน 'แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13' มุ่งประสานผ่านกลไกชุมชน-ตำบล ผลักดันเศรษฐกิจ-สังคมจากฐาน
18 พฤศจิกายน 2565
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

ทีมผู้บริหาร 2 องค์กรสช.-สภาพัฒน์ผนึกกำลังวางแนวทางพายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พร้อม "แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13" สู่การขับเคลื่อนจริงในระดับชุมชน-ตำบล 


ทีมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ พร้อมด้วยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และคณะนักวิจัยจากสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) หารือร่วมกันเมื่อวันที่ 15 .. 2565 โดยมีประเด็นสำคัญในการร่วมมือหาแนวทางระหว่างกัน เพื่อพัฒนากลไกความร่วมมือ ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ของสภาพัฒน์


ดร.วันฉัตร สุวรรณกิต รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า สภาพัฒน์มุ่งเน้นหาความร่วมมือ และการสนับสนุนประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำกลยุทธ์การพัฒนาทุกมิติของ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ได้นำไปเกิดการขับเคลื่อนในระดับชุมชน และตำบลทั่วประเทศ


ทั้งนี้ การขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ จะดำเนินการผ่าน 2 กลไก คือ 1. การเชื่อมโยงแผนพัฒนาอื่นของของรัฐในระดับพื้นที่ (One plan) ได้แก่ แผนพัฒนาหมู่บ้าน ชุมชน ตำบล ท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด กลุ่มจังหวัด ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และแผนพัฒนาระดับชาติอื่นๆ 2. การขับเคลื่อนแบบบูรณาการในระดับตำบล โดยนำสาระสำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ที่สอดคล้องกับศักยภาพความต้องการ เพื่อขับเคลื่อนขยายผลในพื้นที่




ด้าน นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า สช.มีบทบาทในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมามีรูปธรรมการขับเคลื่อนทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล ซึ่งถือว่าเป็นฐานทุนและจุดแข็งต่อการสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13


สำหรับนโยบายที่เป็นยุทธศาสตร์พัฒนา อยู่ภายใต้แนวคิด Health in All Policy (HiAP) หรือทุกนโยบายเกี่ยวข้องกับสุขภาพ ที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์ความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ในพื้นที่ อาทิเช่น สภาองค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สมัชชาสุขภาพจังหวัด คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เป็นต้น


สช.จะเข้าไปวิเคราะห์ประเด็นการขับเคลื่อนแต่ละพื้นที่ ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 สภาพัฒน์ เพื่อได้ใช้กลไกการทำงานร่วมกัน เพื่อรวมถึงเพื่อให้เกิดแนวทางในการผลักดันการขับเคลื่อนร่วมกันต่อไปในอนาคตนพ.ประทีป กล่าว