ความเป็นอยู่ที่ดี ไม่ได้ทำให้ ‘โลก’ ร้อนขึ้น หนำซ้ำยังช่วยประหยัดพลังงาน ได้มากกว่าเดิมอีก
9 กุมภาพันธ์ 2565
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

จากรายงานเรื่อง What worries the world? หรือ โลกเรากำลังกังวลเรื่องอะไรอยู่ จัดทำโดย Ipsos บริษัทวิจัยการตลาดชั้นนำจากฝรั่งเศษ ระบุว่า ประชากรโลกยังคงวิตกกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ตามมาด้วยการตกงานและความยากจน 


แต่ถึงกระนั้นสิ่งที่ไม่เคยหลุดโผและติด 10 อันดับสูงสุดของโลก หนำซ้ำยังเป็นกระแสมา 5 ปี นั่นคือเรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศหรือสิ่งแวดล้อมโดยกลุ่มประเทศที่กังวลเรื่องนี้เป็นอย่างมากจะมาจากทางฝั่งทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ เช่น เยอรมนี เบลเยี่ยม แคนาดา และออสเตรเลีย 


หนึ่งในทางออกของเรื่องนี้ที่เริ่มมีการกล่าวถึง และดูเหมือนเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นก ตัว นั่นคือ แก้ไขความยากจนให้ความเป็นอยู่ที่ดี แล้วสิ่งแวดล้อมจะดีขึ้น

หลายคนอาจเคยตั้งคำถามว่าการแก้ไขความยากจน เช่น การลงทุนสร้างที่บ้านที่เหมาะสม โครงสร้างคมนาคมพื้นฐานที่สมบูรณ์จะทำให้ใช้พลังงานมากขึ้นแล้วโลกจะร้อนขึ้นหรือไม่ แต่รายงานล่าสุดที่เกี่ยวกับ Decent living standards (DLS) หรือการสร้างให้มีมาตรฐานการอยู่อาศัยที่ดี ระบุว่า หากประชากรโลกมีความเป็นอยู่ที่ดี มีสภาพบ้านเรือนที่เหมาะสม มีเครื่องเรือนที่มีคุณภาพ มีระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบคมนาคมที่ดีขึ้น ได้รับประทานอาหารที่ดี เข้าถึงโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลอย่างเหมาสม จะทำให้การใช้พลังงานต่อหัวลดลงและเห็นได้ชัดในประเทศแถบอเมริกาและยุโรป 


ปัจจุบันพบว่ากลุ่มประเทศแถบแอฟริกาใต้ สะฮารา และเอเชีย ยังมีคุณภาพความเป็นอยู่ต่ำกว่ามาตรฐานการอยู่อาศัยที่ดี (DLS) และยังเป็นกลุ่มประเทศที่พบปัญหาความยากจน


นอกจากนี้ยังมีการคำนวณว่า ถ้าโลกของเราลงทุนด้านการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีไปอีกเกือบ 20 ปีข้างหน้า (.. 2583) เรายังใช้พลังงานน้อยกว่าเกือบ 3 เท่า เมื่อเทียบกับการลงทุนก่อสร้างตึกเพื่อธุรกิจ โรงงาน หรือลงทุนด้านธรุกิจเพียงไม่กี่ปี


สอดคล้องกับข้อมูลจาก โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ UNDP ที่ระบุว่า พลังงานสกปรกคือบ่อเกิดของความยากจน และถ้าเราลงทุนในพลังงานสะอาด ทำให้พลังงานสะอาดราคาถูก เข้าถึงง่าย จะทำให้เกิดการจ้างงานให้กับคนทั่วโลกได้ถึง 24 ล้านงาน ภายในอีกเกือบ 10 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะการจ้างงานในพื้นที่ชนบท 


นั่นหมายความว่าหลายล้านคนจะได้ทำงานที่ไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม และดีต่อคุณภาพชีวิต


สำหรับประเทศไทยเราเอง ได้ใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพกระตุ้นให้สังคมร่วมแก้ปัญหาสุขภาพไปพร้อมกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น เรื่องการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่น PM 2.5 มีผลกระทบต่อสุขภาพ และ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 14  ที่ชวนกันพลิกวิกฤตจากปัญหาขยะจากการแก้ไขปัญหาโควิด 19 ให้เป็นการโอกาสแก้ไขภาพใหญ่ที่ระบบกำจัดของเสีย และกระตุ้นการคัดแยกขยะ การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อันจะเป็นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและทำให้สิ่งแวดล้อมดีตามไปในอนาคตอีกด้วย


อ้างอิง

https://www.ipsos.com/sites/default/files/ct/publication/documents/2021-08/What%20Worries%20the%20World-August_2021.pdf  และhttps://www.weforum.org/agenda/2021/09/what-worries-the-world-ipsos/


https://www.weforum.org/agenda/2021/09/guest-post-energy-needed-to-eradicate-poverty-compatible-with-climate-goals/ 

https://www.weforum.org/agenda/2021/09/guest-post-energy-needed-to-eradicate-poverty-compatible-with-climate-goals/ 


https://stories.undp.org/powering-the-future?utm_source=web&utm_medium=homepage&utm_campaign=poweringthefuture

https://www.theguardian.com/global-development/2017/jan/23/how-will-we-survive-syrian-refugees-trapped-in-poverty-in-thailand