จัดประชุมนักวิชาการ 11 ประเทศ ไทยชู 'งานวิจัย' ยกระดับสุขภาพ ประเมินศักยภาพชุมชนจัดการโรค ช่วยรับมือการระบาดในอนาคต
1 ธันวาคม 2565
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

สวรส.แลกเปลี่ยนเรียนรู้นักวิจัยสมาชิก WHO กว่า 400 คน จาก 11 ประเทศ สร้างเครือข่ายนักวิจัยทางการแพทย์ร่วมกันในอาเซียน พร้อมชูงานวิจัยระบบสาธารณสุขเมืองไทย ประเมินศักยภาพชุมชน เตรียมพร้อมรับมือการระบาดของโรคในอนาคต


สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และสำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลว ร่วมกับ International Epidemiological Association (IEA) และ World Health Organization Regional Office for Southeast Asia (WHO-SEA) พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ “The 14th  SEA Regional Scientific Meeting of the International Epidemiological Association and International Conference on Public Health and Sustainable Development 2022”


สำหรับประชุมดังกล่าว เป็นการเปิดเวทีร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงวิชาการด้านการวิจัยระบบสุขภาพกับนักวิชาการนานาชาติ รวมทั้งร่วมสร้างเครือข่ายนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ นักระบาดวิทยา ฯลฯ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 400 คน จากประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก (WHO) ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 11 ประเทศ ระหว่างวันที่ 23-25 .. 2565 ที่จ.เชียงราย




นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการ สวรส. เปิดเผยตอนหนึ่งในการบรรยายหัวข้อ “National strategic for improvement healthcare delivery system in Thailand” ระบุถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทยที่ขับเคลื่อนภายใต้การพัฒนางานวิจัย มีเป้าหมายในเรื่องของการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียม การให้บริการสุขภาพที่มีคุณภาพและความปลอดภัย การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ ตลอดจนการสร้างความยั่งยืนในระบบสุขภาพ


"สวรส.มีบทบาทในการสนับสนุนงานวิจัย เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่สามารถพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย แนวทางปฏิบัติ หรือทางเลือกที่เหมาะสมต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายสุขภาพของประเทศ และสามารถนำไปสู่การประยุกต์ใช้ได้จริงในระบบสุขภาพ" นพ.นพพร กล่าว




ด้าน ทพ.จเร วิชาไทย ผู้จัดการงานวิจัย สวรส. กล่าวว่า ที่ผ่านมามีงานวิจัยประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการประเมินศักยภาพชุมชนและระบบสุขภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมและจัดการการระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่ชายแดน .เชียงราย ภาพรวมของงานวิจัยหลายโครงการในประเด็นนี้ พบว่าจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้พื้นที่ชายแดน กลุ่มประชากรเปราะบางมีผลกระทบ


อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกันก็มีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีเช่นกัน คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ของทุกกลุ่มประชากรในพื้นที่อยู่ในระดับดี ส่วนในกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาที่ต้องมีการเรียนการสอนด้วยระบบออนไลน์ ยังมีอุปสรรคในเรื่องของเทคโนโลยีเพื่อการเข้าถึงการศึกษา


ขณะที่กลุ่มประชาชนทั่วไปที่เป็นกลุ่มลูกจ้างแล้วถูกเลิกจ้าง ไม่ได้รับเงินชดเชยหลังถูกเลิกจ้าง หรือกรณียังทำงานอยู่ ก็ถูกลดเงินเดือน มีหนี้สินเพิ่มขึ้น ไม่ได้รับการเยียวยาในการผ่อนชำระหนี้จากภาครัฐ เนื่องจากไม่มีบัตรประชาชน ในกลุ่มผู้สูงอายุที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้รับผลกระทบคือ ขายผลผลิตได้น้อยลง ไม่มีคนมาซื้อและไม่มีสถานที่ขายผลผลิต




นอกจากนี้ ด้านศักยภาพของบุคลากรและระบบสุขภาพในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวงมหาดไทย (มท.) ในภาพรวม บุคลากรไม่เพียงพอและต้องทำงานมากขึ้น มีความยุ่งยากในการเบิกจ่ายงบประมาณ และไม่ได้รับค่าตอบแทนพิเศษในการปฏิบัติหน้าที่


ส่วนในด้านสถานศึกษาในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา มีการใช้มาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ในระดับผ่านเกณฑ์และสามารถเปิดเรียนได้ แต่ต้องมีการปรับปรุงตามมาตรฐานที่กำหนด ส่วนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์และไม่สามาถเปิดเรียนได้ เนื่องจากไม่สามารถจัดสถานที่และจัดการเรื่องการเว้นระยะห่างทางสังคมได้ตามมาตรฐาน


"ส่วนหนึ่งจากความคิดเห็นในเวทีคือเสียงสะท้อนของคนทำงานในพื้นที่ที่มีความเห็นว่า ข้อมูลจากงานวิจัยดังกล่าว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ และเป็นแนวทางในการพัฒนาและบริหารจัดการเพื่อการรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบันและอนาคตได้เป็นอย่างดี" ทพ.จเร กล่าว