ยา 3 ขนานจาก ‘World Bank’ กับข้อเสนอของ ‘WHO’ เสริมความเข้มแข็ง ‘เมืองใหญ่’ รับมือโควิด 19
14 กุมภาพันธ์ 2565
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

กว่า 4,000 ล้านคนหรือเกินกว่าครึ่งของคนทั่วโลกอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ และกว่า 1,000 ล้านคนอาศัยอยู่ในชุมชนแออัด

เมื่อโควิดครองเมืองและหนึ่งในอาวุธสำคัญที่จะป้องกันโควิดคือการเว้นระยะห่าง ดังนั้นจุดตายของคนเมืองใหญ่คือ “ความหนาแน่น” และคนที่น่าเป็นห่วงที่สุดย่อมหนีไม่พ้น “คนจนในเมือง”


เมื่อมองลึกลงไปก็จะพบว่าในกลุ่มคนจนเมืองนั้น ผู้หญิงและเด็กเป็นกลุ่มที่เสี่ยงมากที่สุดโดยเฉพาะปัญหาความรุนแรงในครอบครัว การตกงาน ท้องก่อนวัยอันควร หลุดออกจากระบบศึกษา ดังนั้นมือแห่งการช่วยเหลือจึงควรต้องยื่นไปจับคนกลุ่มนี้ให้มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม 2 แผลใหญ่ที่สำคัญและเห็นได้ชัดของเมืองใหญ่ คือการเข้าไม่ถึงระบบการรักษาพยาบาลในเมืองใหญ่ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดอย่างหนัก และยอดคนตกงานจำนวนมาก เช่น เมื่อปีที่ผ่านประเทศไทยมียอดคนตกงานสูงถึง 8.7 แสนคน แซงหน้าวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์

เมื่อมีปัญหามนุษย์เราย่อมพยายามแก้ไข ธนาคารโลก (World Bank) ระบุว่า เราควรมียารักษา 3 ขนาน คือ ระยะสั้น เช่น ระบุพื้นที่เสี่ยง จัดหาวัคซีนให้คนในชุมชนแออัด จัดทำคลินิกเคลื่อนที่ ระยะกลาง เช่น กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลงทุนการจ้างงานสำหรับผู้มีรายได้น้อย พัฒนาที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัด ระยะ

ยาว เช่น นโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจที่เหมาะสมสำหรับทุกคน นโยบายด้านที่อยู่อาศัยที่ทุกคนเข้าถึงได้


ฟากฝั่ง องค์การอนามัยโลก (WHO) ก็มองว่าในวิกฤตนี้ เป็นโอกาสที่ “ผู้นำของเมือง” จะปรับปรุงนโยบายที่ป้องกันและส่งเสริมสุขภาพของประชาชน การมีนโยบายที่เชื่อมโยงทุกภาคส่วน นโยบายด้านอาหารและการเดินทาง ในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสในการสร้าง “มาตรฐานของเมือง” ที่จะลงทุนด้านการส่งเสริมสุขภาพ มุ่งแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคม ปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น


โควิด 19 ทำให้มนุษย์เราเรียนรู้เรื่องสำคัญคือการร่วมด้วยช่วยกันเพื่อระดมสมองและทรัพยากร เช่น เครือข่ายสุขภาพเมืองใหญ่ของสหรัฐ เพื่อแลกเปลี่ยนยุทธศาสตร์และระบุปัญหาที่สำคัญร่วมกันเพื่อหาวิธีปกป้องและดูแลสุขภาพของประชากร เครือข่ายจิตอาสาจำนวนมากในประเทศไทยที่ช่วยดูแลผู้ติดเชื้อ อาหารการกิน ไปจนถึงพัฒนาระบบข้อมูลผู้ป่วยโควิด 19 ร่วมกับภาครัฐ อย่างเครือข่าย Thai.care


ไม่เพียงเท่านั้นคนกรุงเทพมหานครและองค์กรภาคียังมีมติสมัชชาสุขภาพของกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการแก้ไขในระดับนโยบาย 2 เรื่องสำคัญคือ การพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อสุขภาวะชุมชน และ การพัฒนาระบบสุขภาพบริการปฐมภูมิในกรุงเทพมหานครเพื่อรองรับภาวะวิกฤติในขณะเดียวกัน “ผู้นำเมือง” อย่างเช่น “พ่อเมือง ของ กทม.” ก็มีความสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์เมืองใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นพวกเราอาจจะต้องจับตาดูว่าจะมีพ่อเมืองคนไหนสนใจรับเอามติสมัชชาสุขภาพของคน กทม. ที่คน กทม. คิดและเห็นว่าสำคัญไปใช้มากน้อยแค่ไหนเผยแพร่ครั้งแรกที่นิตยสารสานพลัง ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2565 โดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)


อ้างอิง


https://www.who.int/docs/default-source/searo/covid-19-and-the-urban-poor.pdf?sfvrsn=9ad95fe_2

https://www.youtube.com/watch?v=SIF54D8nMiE

https://www.who.int/docs/default-source/searo/covid-19-and-the-urban-poor.pdf?sfvrsn=9ad95fe_2

https://www.who.int/teams/social-determinants-of-health/urban-health/covid-19

https://www.bigcitieshealth.org/about-us/

https://www.nationalhealth.or.th/th/taxonomy/term/920

https://www.tcijthai.com/news/2021/11/scoop/12076