ประกาศใช้แผนสิทธิมนุษยชนฯ ฉบับ 5 มุ่งคุ้มครองประชาชน-ไม่เลือกปฏิบัติ ให้เข้าถึงบริการสาธารณสุขเท่าเทียม ส่งเสริมเศรษฐกิจครอบคลุมคนทุกกลุ่ม
8 กุมภาพันธ์ 2566
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

ครม.เห็นชอบ-ประกาศใช้ "แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5" มุ่งคุ้มครองสิทธิของประชาชนโดยไม่เลือกปฏิบัติ คำนึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ภายใต้แผน 5 ด้านครอบคลุม การเมือง-ยุติธรรม-สาธารณสุข-การศึกษา-เศรษฐกิจ


ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 .. 2566 ซึ่งมี พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (..2566–2570) (ร่างแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฯ) และประกาศใช้แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (..2566–2570) ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ พร้อมเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ ที่ครอบคลุมการดำเนินงานของหน่วยงานภายในสังกัดทุกระดับ โดยนำมิติด้านสิทธิมนุษยชนมาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป


สำหรับร่างแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฯ ดังกล่าว ได้ประกาศใช้แทนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (..2562–2565) ที่ได้หมดวาระลง ซึ่ง ยธ. ได้จัดทำขึ้นโดยเป็นแผนที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (Bottom–Up Approach) ภายใต้กรอบการวิเคราะห์ในประเด็นพื้นฐาน (issue–based) 5 มิติ ได้แก่ 1. มิติโครงสร้าง 2. มิติกฎหมาย 3. มิติการจัดสรรทรัพยากร 4. มิติความตระหนักรู้ และ 5. มิติสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ส่งผลกระทบต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆ


ทั้งนี้ ร่างแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิของประชาชนโดยไม่เลือกปฏิบัติ คำนึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สร้างสังคมที่ตระหนักถึงการเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย แผนรายด้าน 5 ด้าน และแผนรายกลุ่ม 11 กลุ่ม โดยมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ


ในส่วนของรายละเอียดแผนรายด้าน 5 ด้าน 29 ข้อท้าทาย 31 ข้อเสนอแนะ 59 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย 1. การเมืองการปกครองพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพของประชาชน เสริมการมีส่วนร่วมการตัดสินใจ การเข้าถึงทรัพยากรและบริการของรัฐ 2. กระบวนการยุติธรรม ส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรม ปกป้อง คุ้มครองสิทธิอย่างเท่าเทียมสอดคล้องมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล 3. สาธารณสุขประชาชน สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็นได้อย่างเท่าเทียม 4. การศึกษา ส่งเสริมการศึกษาการเรียนรู้ที่มีคุณภาพตลอดชีวิตแก่ทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม 5. เศรษฐกิจและธุรกิจ ส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สร้างประโยชน์ให้คนทุกกลุ่ม


ขณะที่แผนรายกลุ่ม 11 กลุ่ม 44 ข้อท้าทาย 64 ข้อเสนอแนะ 96 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย 1. ผู้ใช้แรงงาน ปกป้อง คุ้มครอง สิทธิกลุ่มผู้ใช้แรงงาน และส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ใช้แรงงานเข้าถึงสิทธิอย่างเหมาะสม 2. ผู้เสียหาย และเหยื่อของกระบวนการยุติธรรม พัฒนามาตรการ คุ้มครอง ช่วยเหลือผู้เสียหาย พยาน และเหยื่อให้เข้าถึงสิทธิของกระบวนการยุติธรรม 3. เด็กและสตรี ปกป้อง คุ้มครองเด็กและสตรีจากการถูกละเมิดสิทธิ ส่งเสริมให้เข้าถึงบริการภาครัฐอย่างเท่าเทียม และได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม


4. นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมให้นักปกป้องสิทธิมนุษยชนสามารถใช้สิทธิได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย 5. ผู้สูงอายุ คุ้มครองให้ผู้สูงอายุเข้าถึงสิทธิที่พึงมีในทุกมิติ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและมีศักดิ์ศรี 6. ผู้เสพยาเสพติด ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจของผู้เสพยาเสพติดอย่างมีประสิทธิภาพ 7. ความหลากหลายทางเพศ ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ


8. บุคคลที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียนและกลุ่มชาติพันธุ์ ส่งเสริมมาตรการที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหากลุ่มผู้ไร้รัฐ กลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มผู้ลี้ภัยตามหลักสิทธิมนุษยชน 9. คนพิการ ส่งเสริม พิทักษ์และรับรองให้คนพิการได้รับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และมีศักดิ์ศรี 10. ผู้ต้องหา ผู้ต้องขัง และผู้พ้นโทษ คุ้มครองสิทธิ ผู้ต้องหา ผู้ต้องขัง ผู้พ้นโทษ อย่างยั่งยืน ลดการกระทำผิดซ้ำ 11. ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ติดเชื้อ HIV และผู้ป่วยจิตเวช คุ้มครองสิทธิ ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้ป่วยเอดส์ ผู้ติดเชื้อ HIV ผู้ป่วยจิตเวช และส่งเสริมการเข้าถึงบริการของรัฐอย่างเหมาะสม


นอกจากนี้ที่ประชุม ครม. ยังได้เห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐ (ระดับกรมหรือเทียบเท่า) บรรจุวิชาสิทธิมนุษยชน ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง ในหลักสูตรฝึกอบรมข้าราชการทุกระดับ และมอบหมายให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ รับผิดชอบการกำหนดขอบเขตและเนื้อหาหลักการสิทธิมนุษยชนพื้นฐานที่เป็นมาตรฐานขั้นต่ำแก่หน่วยงาน