หยุดปัญหา 'ความรุนแรง' ในสังคมไทย จากเหตุปัจจัยด้าน 'จิตเวช-ยาเสพติด' สธ.มุ่งผลักดันระบบบริการสุขภาพจิต วางบทบาทสำคัญขับเคลื่อนผ่าน สสจ.
22 กุมภาพันธ์ 2566
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

กระทรวงสาธารณสุข สนับสนุน สสจ. ผลักดันพรบ.สุขภาพจิตและประมวลกฏหมายยาเสพติด พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาความรุนแรงในสังคม


กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนกลไกการพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด ลดต้นเหตุปัญหาความรุนแรง เมื่อวันที่ 21 .. 2566 โดยมุ่งขยายผลกลไกสำคัญคือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ดำเนินงาน ...สุขภาพจิต ฉบับแก้ไขใหม่ 2562 และประมวลกฎหมายยาเสพติด 2564 ร่วมบูรณาการงานทั้งในและนอกสาธารณสุขพื้นที่ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการการดูแลต่อเนื่องในชุมชน


นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัด สธ. เปิดเผยว่า เนื่องด้วยปัญหาพฤติกรรมรุนแรงในสังคมไทย ส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด (Severe Mental Illness–High Risk to Violence; SMI-V) การดูแลรักษาต่อเนื่องจนถึงในชุมชนจึงสามารถช่วยลดภาวะอันตรายจากผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดได้ สธ.ตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้ จึงพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตและยาเสพติดให้ครอบคลุมในสถานพยาบาลทุกระดับ โดยไม่จำกัดอยู่เฉพาะในโรงพยาบาลจิตเวชเท่านั้น





นอกจากนี้ ยังพัฒนาความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการไม่มากหรือกลุ่มสีเขียวได้รับการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องในชุมชน โดยอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล และสามารถส่งต่อผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังใกล้ชิดหรือกลุ่มสีเหลือง สู่โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลระดับจังหวัด ในขณะที่โรงพยาบาลจิตเวช และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ จะมีหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มสีแดง ซึ่งมีอาการด้านจิตเวชหรือปัญหาจากการเสพติดที่รุนแรงหรือมีความจำเป็นต้องบำบัดฟ้นฟูในระยะยาว


สำหรับความเชื่อมโยงในการทำงานนี้ จะมีคุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐานด้วยกลไกบูรณาการ คณะอนุกรรมการประสานงานเพื่อการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิต ระดับจังหวัด กับคณะทำงานบูรณาการ คัดกรองบำบัด รักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ และฟื้นฟูสภาพทางทางสังคม ระดับจังหวัด ภายใต้ประมวลกฎหมายยาเสพติด ..2564 ซึ่งนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เป็นผู้มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการขับเคลื่อนการทำงานดังกล่าวให้เหมาะสมและเป็นไปตามกฎหมาย


พร้อมกันนี้ ปลัด สธ. ยังได้มอบหมายให้กรมสุขภาพจิต จัดทำคู่มือการปฎิบัติงานแบบบูรณาการทั้งการดูแลสุขภาพจิตและยาเสพติด รวมทั้งความรู้ด้านกฎหมายต่างๆ ที่ทันสมัย เพื่อให้มีแนวทางทำงานในทุกระดับที่ชัดเจน นอกจากนี้   สธ. ยังพร้อมผลักดันการเพิ่มกรอบอัตรากำลังผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตและยาเสพติด เพื่อขวัญกำลังใจและจะส่งเสริมความก้าวหน้าการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ต่อไป




ด้าน พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรมสุขภาพจิต ร่วมกับกรมแพทย์ รับมอบนโยบายปลัด สธ. ในการจัดทำคู่มือดังกล่าวโดยเร็ว โดยมุ่งเน้นใน 5 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ ประเด็นการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) การลดอัตราการฆ่าตัวตาย การติดตามและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติด การสร้างเสริมความเข้มแข็งทางใจให้กับชุมชน รวมทั้งประเด็นอื่น ๆตามบริบทพื้นที่


ทั้งนี้ โรงพยาบาลชุมชนจัดตั้งกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดในโรงพยาบาลสำเร็จแล้ว 449 จาก 776 แห่ง คิดเป็น 58% ในขณะที่ สสจ. ที่มีการจัดตั้งกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดแยกเฉพาะจำนวน 26.6% ทั้งนี้จากสำรวจโดยกองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต เมื่อวันที่ 19 .. 2566 พบว่าบุคลากร สสจ. ด้านสุขภาพจิตและยาเสพติด เห็นว่าการจัดตั้งกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด จะส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงาน 66.7% อีกด้วย


"กรมสุขภาพจิต ขอขอบคุณ นพ.จตุชัย มณีรัตน์ สสจ.เชียงใหม่ และประธานชมรมนายแพทย์ สสจ. และทีมนายแพทย์ สสจ. ทุกจังหวัดที่ร่วมแรงร่วมใจระดมความคิดแลกเปลี่ยนการพัฒนาระบบการดูแลเฝ้าระวังผู้ป่วยยาเสพติดและจิตเวช ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อประชาชนและสังคมปลอดภัย ผู้ป่วยได้รับโอกาสการรักษาเหมาะสมเท่าเทียมและไม่ถูกตีตราจากสังคม อันนำไปสู่ประชาชนสุขภาพดี เศษฐกิจและสังคมดี ประเทศชาติเข้มแข็ง ยั่งยืน" พญ.อัมพร กล่าว