อบจ.เพชรบูรณ์ เดินหน้าจัดตั้งสถานีสุขภาพดิจิทัลระดับหมู่บ้าน หวังดูแลสุขภาพประชาชนตั้งแต่วัยก่อนเข้าผู้สูงอายุ

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

สกู๊ปข่าว-อบจ.เพชรบูรณ์ เดินหน้าจัดตั้งสถานีสุขภาพดิจิทัลระดับหมู่บ้าน หวังดูแลสุขภาพประชาชนตั้งแต่วัยก่อนเข้าผู้สูงอายุ



อบจ.เพชรบูรณ์ เดินหน้าจัดตั้งสถานีสุขภาพดิจิทัลระดับหมู่บ้าน หวังดูแลสุขภาพประชาชนตั้งแต่วัยก่อนเข้าผู้สูงอายุ

นายอัครเดช ทองใจสด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันมีผู้สูงอายุในประเทศไทยถึง 10 ล้านคนหรือคิดเป็น 16% ของประชากรทั้งหมด และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2568 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนที่จะเกิดจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญ คือ ความเจ็บป่วยและความบกพร่องในการทำงานของร่างกายในทุกๆด้าน รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับสภาพจิตใจ และมีปัจจัยเหนี่ยวนำที่ก่อให้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังร่วมกันคือ พฤติกรรมสุขภาพ ทั้งในเรื่องของพฤติกรรมการบริโภคผัก การลดการบริโภค หวาน มัน เค็ม การเคลื่อนไหวออกแรงที่เพียงพอ การนอนหลับอย่างมีคุณภาพ และการดูแลสุขภาพช่องปาก ซึ่งเป็นข้อมูลจากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของวัยทำงาน


ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ จึงดำเนินโครงการจัดตั้งสถานีสุขภาพดิจิทัลระดับหมู่บ้าน (Digital Health Station Vllage) ขึ้นเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพความรอบรู้และปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพในวัยทำงานเพื่อสร้างกระแสประชาสัมพันธ์นโยบาย/มาตรการพฤติกรรมสุขภาพวัยทำงานในรูปแบบชีวิตวิถีใหม่(NewNormal)เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุที่มีสุขภาพดีโดยเริ่มต้นในพื้นที่อำเภอชนแดน และอำเภอวังโป่ง โดยมุ่งหวังดูแลสุขภาพประชาชนตั้งแต่วัยก่อนเข้าผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุภาวะร่างกายมีความเสื่อมถอยตามอายุ มีภูมิต้านทานโรคต่ำลง มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่าย การที่จะดูแลสุขภาพเมื่อเสื่อมแล้วเป็นการยากต่อการฟื้นฟูสุขภาพให้ดีดังเดิม เพื่อป้องกันและรับมือแก้ไขปัญหาดังกล่าว ให้ประชากรในพื้นที่เข้าถึงระบบการคัดกรองได้เพิ่มขึ้น และสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเตรียมควาพร้อมสู่ผู้สูงวัย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้ประชาชนมีสมุดสุขภาพประจำตัว (Personal Health Recode) มีความพร้อมในการ เข้าถึง เข้าใจ ตัดสินใจ สามารถจัดการสุขภาพของตนเอง และก้าวเข้าสู่ผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพมีสุขภาวะที่ดีจนกระทั่งสามารถบอกต่อผู้อื่นที่อยู่ในชุมชนได้ รองรับสังคมผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับสถานการณ์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างยั่งยืน


มนสิชา คล้ายแก้ว เพชรบูรณ์-รายงาน





 27 เมษายน 2566