กขป.เขต8 ขับเคลื่อนเข้าพบผู้ว่าหนองบัวลำภู
วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 นายณรงค์ พลละเอียด ประธานคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 8 (กขป.8) พร้อมรองประธานและคณะกรรมการ กขป.8 ได้เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู นายสุวิทย์ จันทร์หวร และ นายประวิตร ศรีบุญรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู ณ ห้องรับรอง ศาลากลางจังหวัดหนองบัวลำภู
พร้อมคณะกรรมการ กขป.8 ประจำพื้นที่ จังหวัดหนองบัวลำภู มี นางสาวนันทนา นาคำ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดหนองบัวลำภู,กรรมการ กขป.8 นายคงศักดิ์ สวัสดิภาพ กรรมการ กขป.8
เป็นการเดินทางมาพบปะกับผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นครั้งที่2 ในปีบริหารงาน โดยในครั้งนี้ ได้เข้าพบ พูดคุย แนะนำเกี่ยวกับคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 8 (กขป.8) และประเด็นการขับเคลื่อนงานในเขตพื้นที่ 8 พูดคุยแลกเปลี่ยนถึงประเด็นที่ทาง กขป.8 ได้เป็นดั่งตัวเชื่อมโยงหน่วยงานต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในพื้นที่ ทั้ง 7 จังหวัด โดยจังหวัดหนองบัวลำภูคือ หนึ่งในจังหวัดที่อยู่ในเขตพื้นที่ ที่ดำเนินการ ในแต่ละประเด็น อย่างเช่น ประเด็น โรค NCDs หรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู อาสาเป็นวิทยากรด้วยตนเอง เนื่องจากได้ประสบกับโรค NCDs คือ เบาหวาน ความดัน ด้วยตัวเองจึงต้องการถ่ายทอดจากประสบการณ์ตรงถึงผู้ที่ประสบกับโรค NCDsนี้ ถึงสิ่งที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู ได้ปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการใช้ชีวิต ปรับการกินให้เหมาะสม และทำ IF คือ Intermittent Fasting การทำ (IF) เป็นวิธีการลดน้ำหนักอีกวิธีหนึ่งโดยการควบคุมแคลอรี และจำกัดเวลาในการทานอาหาร โดยมีหลากหลายวิธีในการปฏิบัติ แต่วิธีที่ได้รับความนิยมก็คือจำกัดเวลาทานอาหาร 8 ชั่วโมง และอดอาหาร 16 ชั่วโมง เมื่อทำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหนึ่ง จึงไปตวจสุขภาพ ผลตรวจกับดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงจะนำเรื่องราวเล่านี้มาบรรยา เล่าเป็นวิทยาทาน เป็นอีกทางเลือกการดูและสุขภาพด้วยตันเอง พร้อมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ให้คนในจังหวัดหนองบัวลำภูมีสุขภาพดี ห่างไกลโรคภัย
บรรกาศการพูดคุย เป็นกันเอง และมีการเชื่อมโยง กรณีศึกษาที่น่าสนใจ จากจังหวัดอื่นๆในเขต 8 มาแบ่งบันให้เห็นเป็นรูปธรรม ที่สามารถนำมาปรับใช้และนำมาเป็นต้นแบบในการปฎิบัติงานต่อไปได้ พร้อมทั้งยังได้พูดคุยกันถึงประเด็นต่างๆ อาทิ การเลี้ยงแกะแพะ การเลี้ยงไก่งวง และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่นเรื่องของเมืองผ้า น่าอยู่ น่าเที่ยว ของจังหวัดหนองบัวลำภู เรื่องสุขภาวะของพระสงฆ์ เรื่องอาหารปลอดภัย และ สารเคมีทางการเกษตรตกค้าง ในสิ่งแวดล้อม ที่เป็นปัญญาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพี่น้องประชาชนทุกคน
หลังจากนั้น นายณรงค์ พลละเอียด ประธานคณะกรรมการ กขป.8 ได้เดินทางไปเข้าร่วมการประชุม คณะกรรมการสนับสนุนการจัดและการขับเคลื่อน มติสัชชาสุขภาพจังหวัดหนองบัวลำภู (คจ.สจ.หนองบัวลำภู) ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมเอราวัณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู นายศศิน พัฒนภิรมย์ เป็นประธานนการประชุม ในครั้งนี้ โดยในที่ประชุมได้กล่าวต้องรับคณะกรรมการสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่8 อย่างอบอุ่น และให้ นายณรงค์ พลละเอียด ประธานคณะกรรมการ กขป.8 กล่าวแนะนำถึงการดำเนินงานเชื่องโยง ของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 8 (กขป.8) ว่าจะเชื่อมโยงอย่างไร มีพันธกิจอย่างไร ของประเด็นต่างใน 7 จังหวัด เขตพื้นที่ 8 พร้อมรับฟังการเตรียมงาน การดำเนินงานในส่วนต่างๆของ สัชชาสุขภาพจังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งมีผลงานเชิงประจักษ์อย่างเป็นรูปธรรม ของประเด็นอาหารปลอดภัยที่ได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง โดยมี นางสาววรางคณา อินทโลหิต คณะเลขานุการสมัชชาสุขภาพ จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นผู้นำเสนอ และภาคส่วนต่างๆ ได้หนุนเสริมในประเด็นอาหารปลอดภัยเป็นอย่างดี อาทิ ตัวแทนจากเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู ตัวแทนจากท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นต้น
ในวาระอื่นๆ ของการประชุม นางนิสิต ศักยพันธ์ รองประธานคณะกรรมการ กขป.8
ได้ให้คำชื่นชม พร้อมกล่าวแนะนำทิศทาง เป้าหมายของการดำเนินงาน กขป.8 ในปีบริหารนี้ ให้ที่ประชุมทราบถึงการดำเนินงานที่ผ่านมา ยกตัวอย่าง เรื่องอาหารปลอดภัย ที่จังหวัดเลย(Loei Safety Food) ได้ถูกผลักดันเข้าไปเป็นนโยบายของจังหวัดเลย ทางผู้ว่าราชการจังหวัดเลยได้ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง นำไปดำเนินการต่อยอดในจังหวัดเพื่อให้พี่น้องประชาชน กินดี มีสุข ปลอดโรถภัย จากอาหารที่กินเข้าไป ถือเป็นตัวอย่างที่ดี ทางด้านรองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู นายศศิน พัฒนภิรมย์ จึงได้ให้คณะทำงานไปศึกษาและถอดบทเรียนจากจังหวัดเลย ถึงการดำเนินงานต่างๆ เพื่อนำสิ่งที่ดีๆ มาปรับใช้ ปรับปรุงให้เข้ากับพื้นที่ และ พลักดันให้เป็นนโยบายของจังหวัดหนองบัวลำภูต่อไป
นี้คือการเชื่อมโยงข้อมูลของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 8 (กขป.8) ที่ได้ดำเนินการ พร้อมทั้งเป็นส่วนช่วยหนุนเสริมข้อมูลของพื้นที่ จากจังหวัดหนึ่งไปสู่จังหวัดหนึ่ง เพื่อการเปลี่ยนแปลงจากเครือข่ายภาคประชาชน สู่การกำหนดนโยบายสาธารณะ ให้พี่น้องประชาชน มีสุข สุขภาพดี ของเขต 8 แอ่งสกลนครสือต่อไป