นักเศรษฐศาสตร์ มธ. ชี้ ไทยควรมี ‘ระบบบำนาญที่พึงปรารถนา’ ปฏิรูปโครงสร้างภาษี-เพิ่มรัฐสวัสดิการ เหตุค่าจ้างในประเทศต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

รายจ่ายด้านสวัสดิการผู้สูงอายุของประเทศไทย กำลังเผชิญกับข้อจำกัดงบประมาณ เนื่องจากผลกระทบของโควิด ปัญหาเงินเฟ้อทั่วโลก และสงครามรุกรานประเทศยูเครน ตลอดจนปัญหาเชิงโครงสร้างภายในของไทยที่ปรับตัวไม่ทันโลก อันส่งผลต่อความเสี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยระยะยาว ทำให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บรายได้เข้าคลังตามเป้าหมาย ซ้ำยังมีภาระจ่ายคืนหนี้เงินกู้มหาศาลในอนาคต 


ประเทศไทยจึงควรหาทางออกสำหรับงบประมาณรายจ่ายที่เพียงพอและยั่งยืนสำหรับระบบความคุ้มครองความยากจนของผู้สูงอายุในอนาคต 

 

ที่ผ่านมา แม้จะมีความพยายามโดยภาคประชาสังคมและภาคการเมือง เพื่อผลักดันทางกฎหมายและการเมืองในการขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัติบำนาญผู้สูงอายุ แต่ทุกฉบับล้วนถูกตีตกด้วยเหตุผลหลัก คือเป็นภาระงบประมาณ” 

 

ดร.ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหา เพื่อการสร้างรัฐสวัสดิการหรือ สวัสดิการสังคมถ้วนหน้า ซึ่งครอบคลุมถึงระบบบำนาญแห่งชาติ” ให้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย

 



แก้ความเหลื่อมล้ำด้วยรัฐสวัสดิการ

 

ดร.ทีปกร กล่าวว่า แนวคิดรัฐสวัสดิการหรือ สวัสดิการสังคมถ้วนหน้า เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการมีชีวิตที่มั่นคง เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องจัดสวัสดิการ ซึ่งเป็นเป้าหมายทั้งทางเศรษฐศาสตร์ ทางการเมือง และฉันทามติของสังคมไทยที่เป็นดั่งเครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ซึ่งการลดความเหลื่อมล้ำนั้นจะช่วยเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ 

 

เราไม่สามารถนำตัวแปรความเหลื่อมล้ำออกจากสมการของการพัฒนาระบบสวัสดิการเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย เพราะประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำทั้งด้านรายได้และด้านทรัพย์สิน เป็นปัญหาติดอันดับต้น โลก เรามีช่องว่างระหว่างคนรวยที่สุด 10% กับคนส่วนใหญ่ในประเทศขยายกว้างเพิ่มมากขึ้นเรื่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มคนจนระดับล่าง 10% แทบไม่มีโอกาสลืมตาอ้าปากในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา” ดร.ทีปกร กล่าว

 

ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ นี้เองเป็นปัญหาเรื้อรังที่นักเศรษฐศาสตร์ได้มีข้อเสนอในการแก้ไข้มาอย่างยาวนาน เช่น ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล (2556) ได้เสนอว่า การสร้างความเสมอภาคได้มากขึ้นวิธีหนึ่งก็คือ การกระจายการถือครองทรัพย์สินใหม่ ในขณะที่ .ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร (2560) ระบุว่า ควรที่จะพัฒนาประสิทธิภาพและความเป็นธรรมทางภาษี ซึ่งภาษีที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ภาษีมรดกและภาษีทรัพย์สินต่าง

 

คนจำนวนมากยังต้องทำงานทั้งชีวิตโดยที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าครองชีพ ยิ่งทำงานก็ยิ่งจนลงเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

 

ดร.ทีปกร อธิบายว่า เหตุเพราะประเทศไทยพัฒนาเศรษฐกิจโดยการกดค่าจ้างในระดับต่ำกว่าที่ควรจะเป็น โดยที่ค่าจ้างขั้นต่ำและค่าจ้างทั่วไปเพิ่มขึ้นช้ากว่าผลิตภาพแรงงาน ดังนั้น มูลค่า (แรงงาน) ส่วนเกิน หรือ surplus value ที่เกิดจากผลิตภาพแรงงานที่เพิ่มขึ้นนี้ กลับกลายเป็นนายทุนที่ได้รับประโยชน์จากส่วนนี้ไป


ประเทศไทยจึงควรเร่งพิจารณาและผลักดันให้มีการหาทางแหล่งรายได้สำหรับระบบบำนาญแห่งชาติรวมทั้งการจัดลำดับความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณใหม่ เพื่อมาสนับสนุนค่าใช้จ่ายบำนาญผู้สูงอายุที่จะเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการใช้จ่ายในทางที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนผู้เสียภาษี เช่น รัฐสวัสดิการ


แนวทางสู่ระบบบำนาญที่พึงปรารถนา

 

ดร.ทีปกร กล่าวว่า นโยบายในเรื่องรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าต้องมาจากแหล่งเงินของรัฐที่มีขนาดใหญ่และยั่งยืนขึ้นจากการปฏิรูปภาษีโดยเฉพาะภาษีที่เกี่ยวกับรายได้และความมั่งคั่ง ต้องเพิ่มฐานจำนวนผู้เสียและขนาดของการจัดเก็บมากขึ้น ผสมผสานด้วยระบบการคลังอื่น แบบมีส่วนร่วม 

 

ดังนั้นระบบบำนาญที่พึงปรารถนา ที่กำหนดเป้าหมายทำให้ผู้สูงอายุทุกคนมีรายได้ยามชราภาพเพียงพอต่อการยังชีพ สามารถทำได้ผ่านแนวทางดังนี้ คือ

1. การเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT Increase)

2. การปฏิรูปภาษีทั้งระบบเพื่อระบบสวัสดิการสังคมถ้วนหน้า (Tax Reform for Universal Welfare System)   

และ 3. การจัดลำดับความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณใหม่ (Budget Reprioritization) 


แน่นอนว่าระบบบำนาญแห่งชาติมีความท้าทายสำหรับประเทศในแง่ของทรัพยากรที่มีจำกัดสำหรับการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งถึงแม้งานวิจัยต่าง ก่อนหน้าได้แสดงให้เห็นแล้วว่า สามารถเป็นไปได้ในทางเศรษฐศาสตร์ แต่ก็ชัดเจนว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายในทางการเมืองดร.ทีปกร กล่าว 


 12 พฤษภาคม 2566