มหันตภัยร้ายที่แฝงมากับความงดงามของ ทองโบราณศรีสัชนาลัย
สกู๊ปข่าว-มหันตภัยร้ายที่แฝงมากับความงดงามของ ทองโบราณศรีสัชนาลัย
อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เป็นพื้นที่ที่มีการทำทองโบราณโดยใช้ ภูมิปัญญาไทยที่ทรงคุณค่า ทองโบราณ หรือ ทองศรีสัชนาลัยเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและดังไกลถึงต่างประเทศ การทำทองรูปพรรณที่นี้เป็นการเลียนแบบอย่างเครื่องทองสมัยโบราณอย่างสวยงาม เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า แสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวตั้งแต่กรรมวิธีการผลิตด้วยมือตามแบบภูมิปัญญาดั้งเดิมลวดลายบนเครื่องทองสุโขทัยนั้นยังมีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น เพราะมีรูปแบบลวดลายโบราณ ซึ่งมีแนวคิดในการออกแบบมาจากสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ ความศรัทธา งานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือจากธรรมชาติ
ด้วยกระบวนการผลิตเครื่องทองสมัยโบราณของชาวศรีสัชนาลัยที่ใช้กรรมวิธีการผลิตด้วยมือจึงเป็นต้นเหตุที่สำคัญต่อสุขภาพของคนที่ประกอบอาชีพดัง
กล่าว
รวมทั้งคนในชุมชนที่อาจจะได้ได้รับสารพิษที่ปนเปื้อนการขั้นตอนกระบวนการผลิตตั้งแต่การหลอมทอง
การนำทองที่หลอมแล้ว
ไปตีให้เป็นแผ่นบางลงไปอีก
หรือหากเป็นแท่งเหลี่ยมเล็ก
ก็ตีให้มีขนาดเล็กลงไปอีก
เพื่อความสะดวกในการนำไปขึ้นรูป
แกะลวดลาย ฉลุ หรือรีดเป็นเส้น
โดยขั้นตอนเหล่านี้โอกาสที่ผู้ที่ทำงานจะสัมผัส
สูดดมควันของสารพิษได้โดยง่าย
และก่อให้เกิดโรคจากแอสเบสตอส(ใยหิน)หรือโรคมะเร็งที่
เกิดจากแอสเบสตอส
อันตรายของแอสเบสตอสอยู่ที่เส้นใย
เส้นใยของแร่ใยหินมีขนาดเล็กมาก
มี อัตราส่วนความยาวต่อความกว้างเท่ากับ
3:1
เมื่อหายใจรับเส้นใยเข้าสู่ปอด
เส้นใยจะสะสมและคงอยู่ในเนื้อเยื่อ
ปอดตลอดไป
โดยเส้นใยจากแร่ใยหินจะทำลายเนื้อเยื่อปอดทำให้เป็นแผล
มีระยะเวลาในการก่อโรคประมาณ
15
- 35 ปี
หรืออาจเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่กี่ปี
หากสัมผัสแร่ใยหินในปริมาณมากและเป็นประจำ
และข้อมูลสถิติจากกรมควบคุมโรคพบว่าในพื้นที่ดังกล่าวมีชาวบ้านที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงมีปริมาณที่น่ากังวลเป็นอย่างมาก
โดยมีสาเหตุหลักมาจากการสัมผัสสิ่งคุกคามหรือสภาวะแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม
โดยที่อาการของความเจ็บป่วยนั้นๆ
อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงานหรืออาจเกิดขึ้นหลังจากทำงานเป็นเวลานานๆ
จังหวัดสุโขทัย มีการขับเคลื่อนมาตรการลดโรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายและปัญหาสำคัญในพื้นที่ ผ่านกลไกพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2562 ผ่านคณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมจังหวัด และผ่านคณะทำงานหน่วยงานเครือข่ายระดับจังหวัดแบบบูรณาการ
โดยนายเตชทัต
หอมบุปผา สาธารณสุขอำเภอศรีสัชนาลัย
กล่าวว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้น
ทางสำนักงานสาธารณสุขอำเภอศรีสัชนาลัย
จึงได้ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เช่นเทศบาลตำบลศรีสัชนาลัย
รวมถึง ภาคีเครือข่ายได้ร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขโดยร่วมกันลงพื้นที่สร้างองค์ความรู้การความตระหนักต่อปัญหาดังกล่าวกับสถานประกอบการ
ผู้ประกอบอาชีพร้านทำเงิน-ทำทองโบราณในพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัย
จังหวัดสุโขทัย เพื่อให้เกิดการปฏิบัติตาม.พรบ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม
ปี 2562ที่จะต้องเข้าไปควบคุมและให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและลูกจ้างอย่างใกล้ชิต
ซึ่งที่ผ่านมาผู้ประกอบการและปฏิบัติงาน
ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง
โดยผู้ประกอบกลุ่มแรกที่เข้ามาร่วมในการแก้ไขปัญหาคือสถานประกอบการ
บ้านทองสมสมัย ซึ่งเป็นร้านทองร้านแรกที่เป็นผู้ให้กำเนิดรูปแบบทองลายโบราณและเล็งเห็นถึงคุณภาพชีวิตของพนักงานและคนในชุมชนโดยได้ร่วมกันวางมาตรการต่างๆที่จะลดปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่เกี่ยวข้อง
โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการในกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐานสูงขึ้น การตรวจสุขภาพประจำปีของพนักงาน การเฝ้าสังเกตสุขภาพของพนักงานและผู้เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอจนทำให้สถานประกอบการ บ้านทองสมสมัยได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ สถานประกอบการที่มีรูปแบบการจัดการเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมโรคจากสารแอสเบสตอสหรือโรคปอดใยหิน ในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพร้านทำเงิน-ทำทองโบราณในพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จนสามารถเป็นต้นแบบดีเด่นระดับประเทศ และถือเป็นการตอบสนองต่อนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข
นายเตชทัต หอมบุปผา สาธารณสุข อำเภอศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
ด้านนางพินิจนันท์ ศรีทัศน์ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย กล่าวว่าทางเทศบาลตำบลศรีสัชนาลัยมีความใส่ใจต่อปัญหาของชุมชนจึงได้ร่วมลงพื้นที่ทำงานร่วมกันและสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาในระดับหนึ่ง และแม้ว่าแนวทางในการแก้ไขปัญหาโรคและการบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพในพื้นที่ อ.ศรีสัชนาลัยจะได้รับการใส่ใจแก้ไข แต่ที่สุดปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้สิ้นสุดลงโดยสิ้นเชิง หากแต่ยังจะต้องขับเคลื่อนร่วมกันในการแก้ไขปัญหาต่อไป เนื่องจากยังมีร้านทองอีกหลายแห่งที่ขั้นตอนกระบวนการผลิตยังไม่ได้รับการแก้ไข รวมถึงการที่คนงานผลิตยังใช้วิธีการหลอม ขึ้นรูป แกะลวดลาย ฉลุ หรือรีดเป็นเส้นไม่อยู่ในพื้นที่ที่จำกัดหรือควบคุม นั่นเท่ากับเป็นการกระจายสารพิษออกไปสู่ชุมชน ทั้งทางอากาศ แหล่งน้ำหรือพื้นที่สาธารณะ ส่งผลต่อสุขภาพของคนในชุมชนเป็นวงกว้างมากขึ้นทั้งนี้ภาคีเครือข่ายที่ร่วมกันขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาจำเป็นต้องเร่งเดินหน้าสร้างความตระหนักรู้ให้ผู้ประกอบการและชาวบ้านได้รู้ถึงพิษภัยอันตรายจากการประกอบอาชีพที่พวกเขาทำมาอย่างยาวนานกว่า 20 ปีเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพในระยะยาวอย่างเร่งด่วนต่อไป
ทีมสื่อ กขป.เขต 2 จ.เพชรบูรณ์-รายงาน
นางพินิจนันท์ ศรีทัศน์ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย