ปัญหาการฆ่าตายในพื้นที่ อ.ศรีสัชนาลัยสัมฤทธิ์ผลจากการร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเข้าใจ เข้าถึงทำให้ลดความสูญเสีย

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

สกู๊ปข่าว-ปัญหาการฆ่าตายในพื้นที่ อ.ศรีสัชนาลัยสัมฤทธิ์ผลจากการร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเข้าใจ เข้าถึงทำให้ลดความสูญเสีย

จากข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ ทีวีและสื่อโซเชียลได้เสนอข่าวเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายทุกวัน ซึ่งการฆ่าตัวตายพบว่ามักจะสัมพันธ์กับปัญหาทางด้านต่าง ๆ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ มีภาระหนี้สิน โรคทางอารมณ์ ปัญหาความขัดแย้งทางครอบครัว โรคติดสารเสพติด โรคบุคลิกภาพแปรปรวน โรคจิตเภท และโรควิตกกังวล แต่หลาย ๆ ครั้ง ที่พบว่า ความคิดฆ่าตัวตาย เกิดขึ้นได้ในคนทั่วไป ที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคทางสุขภาพจิตมาก่อน แต่เป็นผลที่เกิดจากการตัดสินใจวู่วาม หรือช่วงเวลาที่การยับยั้งช่างใจไม่ดี เช่น ขณะเมาสุรา เครียดจัดๆ หรือโกรธจัดๆ หากเลือกวิธีที่รุนแรงก็จะเสียชีวิตได้ในที่สุด


อำเภอศรีสัชนาลัย หนึ่งใน9 อำเภอของจังหวัดสุโขทัย จากสถิติพบว่าเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาการฆ่าตัวตายสูงโดยพบว่ามีผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จมากถึง20ต่อแสนประชากรถือเป็นปัญหาที่สำคัญ ดังนั้น คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ซึ่งมีการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับพื้นที่ที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชน เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยมีพื้นที่เป็นฐานและประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีความเป็นเจ้าของและภาวะการนำร่วมกัน โดยบูรณาการและประสานความร่วมมือในการนำไปสู่การสร้างเสริมให้บุคคล ครอบครัว และชุมชน มีสุขภาวะทางกาย จิต และสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและเกิดความยั่งยืนจึงได้นำปัญหาดังกล่าวมาร่วมขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาภายในพื้นที่โดยใช้แนวทางขับเคลื่อนผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) ในการร่วมกันขับเคลื่อนแก้ไขปัญหา




นายเตชทัต หอมบุปผา สาธารณสุขอำเภอรีสัชนาลัยกล่าวว่า อ.ศรีสัชนาลัยมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในอดีตที่ผ่านมาค่อนข้างสูง ตัวเลขที่พบคือ 20 ต่อแสนประชากร สาเหตุหลักในการฆ่าตัวตาย คือ ขัดแย้งกับคนใกล้ชิด ปัญหาความรัก กล่าวว่วอำเภอศรีสัชนาลัยมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในอดีตที่ผ่านมาค่อนข้างสูง ตัวเลขที่พบคือ 20 ต่อแสนประชากร สาเหตุหลักในการฆ่าตัวตาย คือ ขัดแย้งกับคนใกล้ชิด ปัญหาความรัก หึงหวง และเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังทางกาย สำหรับในสาเหตุของการ ขัดแย้งกับคนใกล้ชิดมักมีสาเหตุอื่นร่วมด้วยเช่น ปัญหาเศรษฐกิจ การเจ็บป่วยด้วยโรคทางกาย เช่น มะเร็ง ไตวาย กลุ่มอาการปวดต่างๆ ในส่วนของผู้ที่พยายามทำร้ายตัวเองมีผู้พยายามทำร้ายตัวเอง 20 ราย ดังนั้น คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) จึงร่วมกันในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยใช้แนวคิดการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ เข้มแข็ง มีคุณภาพ ทั่วถึง ยั่งยืนและบรรลุเป้าหมาย ทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนให้ใกล้ชิดกับประชาชนมากยิ่งขึ้น เน้นการเสริมสร้างสุขภาพ และความรู้ด้านสุขภาพ การดูแลสุขภาพองค์รวม ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม มุ่งให้เกิดผลลัพธ์กับประชาชนทั้งด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต ในความสุขกาย สุขใจ สุขสามัคคี โดยประสานกาทำงานดูแลประชาชน โดย3 หมอ ประกอบด้วย


หมอคนที่1 หมอประจำบ้าน คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหรือ อสม. ทำหน้าที่ เยี่ยมบ้าน  ให้คำแนะนำ คัดกรอง ติดตามและดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น หมอคนที่2 หมอสาธารณสุข คือ บุคลากรในสถานบริการปฐมภูมิ ทั้ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือ รพ.สต. คลินิกหมอครอบครัว ศูนย์บริการสาธารณสุข ครอบคลุมบุคลากรทุกสาชาวิชาชีพทั้งพยาบาล เภสัชกร นักสาธารณสุขชุมชน และวิชาชีพอื่นๆ ทำหน้าที่ให้การดูแลส่งเสริมสุขภาพ ประสานงานระหว่างหมอคนที่ 1 และหมอคนที่ 3 คัดกรองเพื่อระบุสาเหตุ ยืนยันความผิดปกติและส่งต่อผู้ป่วย แลหมอคนที่ 3 หมอครอบครัว คือ แพทย์ในโรงพยาบาล เป็นผู้มอบการรักษา ดูแล ให้คำปรึกษา ประสานและส่งต่อการรักษาพิเศษ โดยในการทำงานมีเป้าประสงค์ร่วมกันในการป้องกันการฆ่าตัวตายสำเร็จให้น้อยลง การเข้าไปสร้างวามรู้ความเข้าใจให้กับผู้ป่วย คนในครอบครัวและสังคม ซึ่งผลจากการที่องคาพยพทุกส่วนได้ร่วมกันทำงาน ทำให้เกิดผลตอบรับที่น่าพอใจเมื่อตัวเลขของการฆ่าตัวตายในพื้นที่ลดลงมาอยู่ 9.84 ต่อแสนประชากร ซึ่งในกระบวนการทำงานได้สร้างความรู้สึกให้ผู้ป่วยได้เห็นคุณค่านตัวเองและกลับไปใช้ชีวิตเหมือนปกติ และบางคนไม่ต้องเป็นภาระให้กับครอบครัวเพราะสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้อีกครั้ง อีกทั้งในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายังทำให้เกิดทีมงานที่มีความเข้มแข็ง เข้าใจในปัญหาและร่วมกันฝ่าฟันอุปสรรคต่างจนนำไปสู่การได้รับรางวัลในระดับภูมิภาค




ด้านนางพินิจนันท์ ศรีทัศน์ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย ได้กล่าวถึงการขับเคลื่อนของท้องถิ่นต่อปัญหาดังกล่าวว่าจากการที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้วิเคราะห์ปัญหาในพื้นที่เทศบาลฯ มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน จำนวนมาก และมีสถิติการฆ่าตัวตายสำเร็จในปี 2564 จำนวนหลายราย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยทำงาน มีอายุระหว่าง 15-59 ปี จึงมีแนวทางเพื่อให้ประชาชนในกลุ่มวัยทำงาน หันมาดูแลสุขภาพของตนเองให้ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและการดูแลสุขภาพจิตของตนเองให้ห่างไกลจากโรคทางจิตใจ เพื่อป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในพื้นที่และส่งเสริมให้การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข และตระหนักถึงคุณค่าของตนเองในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของตนเองต่อไป



ปัญหาเรื่องการฆ่าตัวตาย ไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัว เนื่องจากความถี่ของปัญหามีมากขึ้นกว่าในอดีต รวมทั้งระดับความเครียด ความกดดันที่สูงขึ้นของผู้คนในสังคม ในขณะที่ความแข็งแรงของสุขภาพจิตที่ลดลง หลายคนอาจเคยมีประสบการณ์ที่คนรู้จักหรือคนใกล้ชิดเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายมาแล้ว รวมทั้งมีประสบการณ์จากการสูญเสียซึ่งมีผลต่ออารมณ์ จิตใจและครอบครัวของตัวเอง ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ความรู้เกี่ยวกับวิธีสังเกตอาการผิดปกติ และการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจและถ้าถูกนำไปปฏิบัติ จะช่วยลดความสูญเสียของผู้คนในสังคมได้

สิ่อ กขป.เขต 2 จ.เพชรบูรณ์-รายงาน



 19 พฤษภาคม 2566